LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ชุมพร เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชุมพร เขต 1 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567อ.ก.ค.ศ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 62 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพม.นครราชสีมา รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 27 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 32 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 25 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

โครงการคนดีของสังคมโรงเรียนวัดขนอนบ้านกรด สพป.อยุธยา เขต 2

usericon

การประเมินโครงการเยาวชนคนดีของสังคมโรงเรียนวัดขนอนบ้านกรด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2
Evaluation a Good Youth Project of Society in Watkhanonbankrod School Under Office of Ayutthaya Primary Education Area 2

บัญชา ปลื้มอารมย์
ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดขนอนบ้านกรด
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2

บทคัดย่อ
    การประเมินโครงการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินบริบทเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ ความเหมาะสม ความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์กับเป้าหมายของโครงการ การประเมินปัจจัยเบื้องต้น เพื่อพิจารณาความเหมาะสม ความพอเพียงของทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินโครงการ การประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการการดำเนินงานตามโครงการ และเพื่อพิจารณาความพึงพอใจต่อผลผลิตที่เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู จำนวน 14 คน นักเรียน จำนวน 30 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง จำนวน 96 คน ได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ แบบประเมินโครงการ จำนวน 4 ฉบับ รวม 80 ข้อ เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับของลิเคอร์ท (Likert) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
        ผลการประเมินโครงการพบว่า 1) ด้านบริบท มีความเหมาะสมและความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์กับเป้าหมายของโครงการอยู่ในระดับมาก 2) ด้านปัจจัยเบื้องต้น มีความเหมาะสม ความพอเพียงของทรัพยากรที่จะใช้ในการดำเนินตามโครงการ อยู่ในระดับมาก 3) ด้านกระบวนการ เป็นการประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการ การดำเนินงานตามโครงการ ซึ่งมีความเหมาะสมในการดำเนินงานตามโครงการ อยู่ในระดับมาก และ 4) ด้านผลผลิต ความพึงพอใจต่อผลผลิตที่เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ของโครงการ หรือเป้าหมายของโครงการ อยู่ในระดับมาก โดยด้านห่างไกลยาเสพติด ด้านระเบียบวินัยอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านคุณธรรมจริยธรรม
ด้านความเป็นไทยและด้านประชาธิปไตยอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ


คำสำคัญ
    เยาวชนคนดี, เยาวชนคนดีของสังคม, A Good Youth of Society.
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
    สังคมไทยในปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการสื่อสารก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายด้านทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็ว และให้ความสำคัญกับการพัฒนาประเทศโดยมุ่งเน้นทางด้านเศรษฐกิจ ให้ความสำคัญกับวัตถุสิ่งของ ส่งผลให้คนไทยส่วนใหญ่ได้รับความสะดวกสบายจนมีค่านิยมทางด้านวัตถุสูงขึ้น วิถีการดำเนินชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงจากความเรียบง่าย เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไปสู่ความสับสนวุ่นวาย มีการแข่งขันอยู่ตลอดเวลา ผู้คนมุ่งเน้นแต่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม ขาดการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จึงกล่าวได้ว่าเจริญแต่เพียงวัตถุ แต่ขาดความเจริญทางด้านจิตใจ
(ขวัญนภา อุณหกานต์, 2553 หน้า 1) โดยการประเมินสถานการณ์ของประเทศ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 - 2559) พบว่า สังคมไทยเผชิญสภาวะวิกฤตความเสื่อมถอยด้านคุณธรรมจริยธรรม และมีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย เป็นการเปลี่ยนแปลงผ่านกระแสโลกาภิวัตน์และโลกไซเบอร์ ทำให้คนไทยมุ่งแสวงหาความสุข สร้างอัตลักษณ์ส่วนตัวผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ เกิดเป็นวัฒนธรรมย่อยร่วมสมัยที่หลากหลาย ในรูปแบบของการรวมกลุ่มบุคคลที่สนใจเรื่องเดียวกัน โดยที่วัฒนธรรมที่บ่งบอกความเป็นไทยไม่สามารถแสดงบทบาทที่ชัดเจน คนในสังคมมีความถี่ในการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหามากขึ้น ทั้งปัญหาครอบครัว การแย่งชิงทรัพยากรระหว่างชุมชน และความคิดเห็นที่แตกต่างทางการเมือง ขณะที่กระบวนการยุติธรรม และจริยธรรมของคนในสังคมลดน้อยลง ถือเป็นปัญหาสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้นจึงควรฝึกให้นักเรียนซึ่งเป็นเยาวชน รู้จักตนเอง รู้จักแก้ปัญหา มีจริยธรรม คุณธรรม ความเป็นไทย และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เป็นไปตามความมุ่งหมายและหลักการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พุทธศักราช 2545 และแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 พุทธศักราช 2553 (พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542, 2556) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 หมวด 1 มาตรา 6 กำหนดไว้ว่า การศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มาตรา 7 กำหนดว่าในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ เคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภูมิใจในความเป็นไทยรู้รักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากลตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนและจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาในแต่ละช่วง ต้องสร้างองค์ความรู้ กระบวนการคิดวิเคราะห์ เพื่อให้ผู้ศึกษาเล่าเรียนมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ มีทักษะการดำรงชีวิตที่เกิดจากการฝึกหัดสามารถใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาตนเองและประกอบอาชีพ อีกด้านหนึ่ง คือ เป็นการบ่มเพาะ กล่อมเกลา ปลูกฝัง และปลุกจิตสำนึก เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เกิดความตระหนักในบทบาทหน้าที่ขึ้นในจิตใจเพื่อให้ผู้เรียนสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข สถานศึกษาทุกระดับ ทุกสังกัดและหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุน และร่วมจัดการศึกษาจึงมีส่วนสำคัญในการจัดการเรียนการสอน และจัดกิจกรรมที่ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาผู้เรียนอย่างเหมาะสม โดยการประสานความร่วมมือทุกภาคส่วนจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นภารกิจทั้ง 3 ด้าน (3D) ได้แก่ ด้านประชาธิปไตย (Democracy) ด้านคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นไทย (Decency) และด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด (Drug-Free) (แผนยุทธศาสตร์ตามแนวนโยบาย 3D, กระทรวงศึกษาธิการ, 2552 หน้า 3) ซึ่งปัจจุบันปัญหายาเสพติด ถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญอีกปัญหาหนึ่ง ที่ส่งผลกระทบต่อสังคมไทยจนทำให้รัฐบาลตระหนักถึงปัญหานี้จึงได้มีการให้จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและ แก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ. 2558 ขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์หลัก ดังนี้ ความร่วมมือระหว่างประเทศ การควบคุมยาและผู้ค้ายาเสพติด การแก้ไขปัญหาผู้เสพ ป้องกันโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และการบริหารจัดการแบบบูรณาการ (ส่วนกิจการพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย, 2558)
จากที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะประเมินโครงการเยาวชนคนดีของสังคมโรงเรียนวัดขนอนบ้านกรด โดยใช้การประเมินตามรูปแบบการประเมินแบบโมเดลซิป (CIPP Model) มาเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย เพื่อทราบความก้าวหน้าและผลการดำเนินงาน นำไปปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์เหมาะสม และพัฒนาในส่วนที่เหมาะสมให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
    เพื่อประเมินโครงการเยาวชนคนดีของสังคมโรงเรียนวัดขนอนบ้านกรด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ผู้ประเมินประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมิน
แบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
    1. เพื่อประเมินบริบท การดำเนินโครงการเยาวชนคนดีของสังคม โรงเรียนวัดขนอนบ้านกรด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2
    2. เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้น การดำเนินโครงการเยาวชนคนดีของสังคม โรงเรียนวัดขนอนบ้านกรด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2
    3. เพื่อประเมินประสิทธิภาพด้านกระบวนการ การดำเนินงานของโครงการเยาวชนคนดีของสังคม โรงเรียนวัดขนอนบ้านกรด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2
    4. เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการเยาวชนคนดีของสังคม โรงเรียนวัดขนอนบ้านกรด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2

ขอบเขตของการประเมินโครงการ
ขอบเขตด้านเนื้อหา ประเมินโครงการโดยใช้รูปแบบ CIPP MODEL
    1. ประเมินบริบท (Context) โดยมุ่งประเมินความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องกับนโยบาย ความเหมาะสม ความต้องการจำเป็นของโรงเรียนวัดขนอนบ้านกรด
    2. ประเมินปัจจัยเบื้องต้น (Input) โดยมุ่งประเมินทรัพยากรในการประเมินโครงการ ได้แก่ บุคลากร คณะครูโรงเรียนวัดขนอนบ้านกรด ชุมชน ผู้ปกครอง งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และสถานที่
    3. ประเมินกระบวนการ (Process) โดยมุ่งประเมินระหว่างดำเนินโครงการ ได้แก่ การวางแผนการดำเนินโครงการ การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินโครงการ ประเมินแต่ละกิจกรรมในโครงการ
    4. ประเมินผลผลิตโครงการ (Product) โดยมุ่งประเมินผลที่เกิดกับนักเรียน เกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ วินัย ข้อบังคับ แบบแผน และขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
    1. สารสนเทศในการตัดสินใจ การปรับปรุง แก้ไข และการพัฒนาการดำเนินโครงการเยาวชนคนดีของสังคมโรงเรียนวัดขนอนบ้านกรด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ตลอดจนเป็นแนวทางในการวางแผนการดำเนินการพัฒนาโครงการต่าง ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง
    2. แนวทางสำหรับผู้บริหาร เกี่ยวกับการดำเนินงานและการบริหารอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจนการพัฒนาโครงการให้เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา
    3. การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถานศึกษา ผู้ปกครอง วัด และชุมชน
    4. ทราบผลการดำเนินงานโครงการเยาวชนคนดีของสังคมโรงเรียนวัดขนอนบ้านกรด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2
วิธีดำเนินงานโครงการ
    1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
    ประชากรที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ ผู้บริหาร ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน และฝ่ายบริหาร
4 ฝ่าย ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา ของโรงเรียนวัดขนอนบ้านกรดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2 จำนวน 220 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน ทั้งหมด
5 กลุ่ม จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากผู้บริหารและคณะกรรมการสถานศึกษา และการสุ่มประชากรด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จากครู นักเรียนและผู้ปกครอง โดยใช้เทียบกับตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ เครจซี่และมอร์แกน (Krejcie & Morgan. 1970 , pp. 607-610) ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 140 คน
    2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
        เครื่องมือที่ใช้สำหรับการประเมินเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ผู้ประเมิน
นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นดำเนินตามขั้นตอนดังนี้ 1) ให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน พิจารณาความเหมาะสมครอบคลุมสอดคล้องกับจุดประสงค์ของการสอบถาม 2) นำแบบสอบถามมาปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอของผู้ทรงคุณวุฒิ
3) นำผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมดมาตรวจสอบอีกครั้งโดยเลือกข้อที่มีค่า IOC ตั้งแต่ .50 ขึ้นไปและหาค่าอำนาจจำแนกรายข้อค่าความเชื่อมั่น โดยนำไปทดลองใช้ กับ ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนวัดบ้านสร้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ที่ไม่ใช่เป็นกลุ่มตัวอย่าง 40 คน นำแบบประเมินที่มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อแล้ว
ก็ดำเนินการค่าความเชื่อมั่น (Relibility) ตามวิธีการของครอนบาค โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Alpha Coefficient) หรือกำลังสองของส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนผู้รับการทดสอบทั้งหมด ได้ค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม เท่ากับ .94
    3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
    ผู้ประเมินได้ดำเนินการแจกแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่าง และเก็บรวบรวมข้อมูลกลับมา
กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียน ดำเนินการประชุมครูประจำชั้นชี้แจงให้มีความเข้าใจตรงกันในเรื่องของการตอบแบบสอบถามมอบแบบสอบถามให้กับครูประจำชั้นนำไปใช้กับนักเรียนที่อยู่ในความดูแล ตามจำนวนกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งการใช้แบบสอบถามกับนักเรียนนี้จะมีการทดสอบซ้ำ 2 ครั้ง กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหาร ครู และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ประเมินได้อธิบายถึงวัตถุประสงค์ของการประเมินโดยใช้แบบสอบถาม และความต้องการของผู้ประเมินในที่ประชุมประจำเดือนของโรงเรียนแจกแบบสอบถามและขอรับคืนในวันเดียวกัน และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ปกครอง ผู้ประเมินอธิบายวัตถุประสงค์ของการประเมินโดยใช้แบบสอบถามกับผู้ปกครองนักเรียนในวันที่มีการประชุมผู้ปกครองนักเรียนประจำปีการศึกษา 2560 โดยแจกแบบสอบถามแล้วขอรับคืนในวันเดียวกันในการรวบรวมข้อมูลได้รับแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์กลับมาจำนวน 142 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 98.61    
    4. การวิเคราะห์ข้อมูล
    ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS การแปลความหมายข้อมูลโดยการนำค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาแปลความหมายตามเกณฑ์ที่กำหนด
สรุปผลการประเมินโครงการ
    ผลการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปได้ดังนี้
    1. ผลการประเมินด้านบริบทของการประเมินโครงการเยาวชนคนดีของสังคมโรงเรียนวัดขนอนบ้านกรด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ในภาพรวมตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก โดยข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โครงการเยาวชนคนดีของสังคมโรงเรียนวัดขนอนบ้านกรด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 มีการกำหนดวัตถุประสงค์ได้อย่างครอบคลุมตามภารกิจ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเท่ากับ และข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ กิจกรรมของโครงการเยาวชนคนดีของสังคมโรงเรียนวัดขนอนบ้านกรด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเท่ากับ
        2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น เกี่ยวกับความเหมาะสม ความพอเพียงของทรัพยากรที่จะใช้ในการดำเนินโครงการ เช่น งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ เวลา บุคลากร เทคโนโลยี เป็นต้น วิเคราะห์จากแบบประเมินตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู โรงเรียนวัดขนอนบ้านกรด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ในภาพรวมตามความคิดเห็นของผู้บริหาร คณะครู อยู่ในระดับมาก โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด จำนวน 2 ข้อ คือ สื่อเทคโนโลยี มีปริมาณที่เพียงพอต่อการดำเนินกิจกรรม และมีแหล่งสนับสนุนด้านงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ ข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน
3 ข้อ คือ วัสดุ-อุปกรณ์ ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมตามโครงการ มีปริมาณที่เพียงพอและเหมาะสม บุคลากรในโรงเรียนมีความสามัคคีในการดำเนินงาน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรภายในโรงเรียนและชุมชน มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ ตามลำดับ
    3. ผลการประเมินด้านกระบวนการเกี่ยวกับความเหมาะสมของขั้นตอนการดำเนินงานตามโครงการ วิเคราะห์จากแบบประเมินตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู โรงเรียนวัดขนอนบ้านกรด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ในภาพรวมตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู อยู่ในระดับมาก โดยข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีการนำผลการประเมินมาพัฒนาการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน มีค่าเท่ากับ ข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด จำนวน 2 ข้อ คือ แผนการดำเนินงานตามโครงการมีกิจกรรมครบทุกกิจกรรม และมีการประสานงานและความร่วมมือกันระหว่างโรงเรียนกับหน่วยงานภายนอกอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ
    4. ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับผลสำเร็จที่เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์ของโครงการ หรือเป้าหมายของโครงการ วิเคราะห์จากแบบประเมินตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง โรงเรียนวัดขนอนบ้านกรด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ในภาพรวมตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครอง อยู่ในระดับมาก โดยข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความพึงพอใจเกี่ยวกับพฤติกรรมด้านยาเสพติดของนักเรียน/เพื่อนนักเรียน ภายหลังเข้าร่วมกิจกรรม, ผลลัพธ์ความเปลี่ยนแปลงทางบวกเกี่ยวกับพฤติกรรมของนักเรียน/เพื่อนนักเรียน ภายหลังเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในภาพรวม, ความคาดหวังที่มีต่อพฤติกรรมทางบวกของนักเรียน/เพื่อนนักเรียนที่เปลี่ยนไปภายหลังเข้าร่วมกิจกรรม, ประโยชน์
ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ตามโครงการ, ผลการดำเนินงานสนองนโยบายโรงเรียน/มาตรฐานการศึกษาของโรงเรียน และข้อคำถามเกี่ยวกับ โครงการดังกล่าวควรมีการดำเนินการในปีต่อ ๆ ไป ส่วนข้อคำถามที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ
ปานกลาง มีค่าเท่ากับ
อภิปรายผล
    จากผลการประเมินโครงการเยาวชนคนดีของสังคมโรงเรียนวัดขนอนบ้านกรด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ผู้ประเมินอภิปรายผลตามวัตถุประสงค์การศึกษาผลการประเมินโครงการเยาวชนคนดีของสังคมโรงเรียนวัดขนอนบ้านกรด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน มีความสอดคล้องและความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้เนื่องจากในการดำเนินงานตามโครงการได้มีการประชุม ชี้แจง บุคลากร ภายในสถานศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อกำหนดกรอบกลยุทธ์ ในการพัฒนาสถานศึกษา โดยการยกระดับคุณภาพการศึกษา ซึ่งในการดำเนินงานตามกระบวนการ 4 ขั้นตอนของวงจรเดมมิ่ง คือ ขั้นตอนการวางแผน ขั้นปฏิบัติตามแผน ขั้นการตรวจสอบ ขั้นสรุปและแก้ไขข้อบกพร่อง เมื่อประเมินโครงการตามรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ซึ่งประกอบด้วยการประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ซึ่งส่งผลให้โครงการมีความเหมาะสม
ที่จะดำเนินงานต่อไป ทั้งนี้อาจเป็นเพราะหลักการสำคัญของโครงการสร้างกระแสการพัฒนาคนและสังคมในระดับจุลภาค (คนดีศรีแผ่นดิน) ส่งเสริมให้คนเป็นคนดี เพื่อสร้างคนดีที่มีคุณลักษณะสอดคล้องกับเป้าหมายและวิสัยทัศน์ของสังคมไทยในอนาคต ตามที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 12
ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ จิรภา คำทา และสมบัติ วรินทรนุวัตร (2559) ที่ได้ศึกษาคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น เป็นการศึกษาระดับคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น โดยรวมและเป็นรายด้าน พบว่า นักศึกษามีระดับคุณธรรมจริยธรรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก เช่นเดียวกับ บพิธ ศิริ (2550) ได้ทำการศึกษาเรื่อง “การประเมินผลการดำเนินการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก แบบรวมเรียนช่วงชั้น ของศูนย์โรงเรียนสันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่” โดยใช้รูปแบบ การประเมินตามแบบซิปป์โมเดล (CIPP Model) ของ Stufflebeam มีกรอบแนวการศึกษา 4 ด้าน คือ ด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการบริหาร และด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่าง ในการศึกษาได้แก่ ผู้บริหาร ครู ประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการศึกษา พบว่า ด้านสภาวะแวดล้อม ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจในนโยบายเป้าหมายและ วัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา โรงเรียนขนาดเล็กแบบรวมเรียนช่วงชั้น ซึ่งเหมาะสมกับสภาพ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ครูมีการปรับปรุงแผนการเรียนรู้อยู่เสมอและ นำผลการประเมินมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาการเรียนการสอนให้ดีขึ้น ส่วนอาคารเรียนและอาคาร ประกอบ เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน ด้านกระบวนการบริหารโรงเรียน
มีแผนงานชัดเจนสอดคล้องกับสภาวะของโรงเรียน และด้านผลผลิตนักเรียนมีความรู้ความสามารถมีสุขภาพกายและจิตดี มีคุณธรรม จริยธรรม และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับ ไพศาล มั่นอก (2557) ได้ศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนระดับมัธยมศึกษาขนาดเล็ก: กรณีศึกษาของนักเรียนโรงเรียนวิเศษชัยชาญวิทยาคม พบว่า สภาพคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนวิเศษชัยชาญวิทยาคม ก่อนดำเนินการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม นักเรียนในโรงเรียนมีคุณธรรมจริยธรรม 4 ด้าน โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน คือ การมีความเพียร การมีความขยันอดทน การมีสติปัญญา และการมีความซื่อสัตย์สุจริต ผลการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนวิเศษชัยชาญวิทยาคมในรอบที่ 1 ในการวางแผนคณะผู้วิจัยใช้กลยุทธ์ 5 ประการ คือ 1) การเข้าค่ายคุณธรรม 2) การสอนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม 3) วันพุธพบพระละกิเลส 4) ส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในชีวิตประจำวัน 5) พัฒนาการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผลการปฏิบัติในรอบแรกตามกลยุทธ์ 5 ประการ พบว่า นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรมโดยภาพรวมค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุดในวงรอบที่ 2 ของการปฏิบัติการ ผลการปฏิบัติการพบว่า นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรมโดยภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
ผลการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนวิเศษชัยชาญวิทยาคม หลังจาการปฏิบัติการทั้ง 2 วงรอบของการปฏิบัติการ พบว่า หลักการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมด้วยกลยุทธ์ทั้ง
5 ประการ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ด้น ได้แก่ 1) การมีความซื่อสัตย์สุจริต 2) การมีความขยันอดทน 3) การมีสติปัญญา 4) การมีความเพียร จะเห็นได้ว่าการส่งเสริมให้เยาวชนเป็นคนดีมีคุณธรรมจริยธรรมมีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่ามาก
ซึ่งบ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน จะต้องร่วมมือกันในการเสริมสร้างเยาวชนคนดีของสังคมให้ยั่งยืนต่อไป
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
    การประเมินโครงการเยาวชนคนดีของสังคมโรงเรียนวัดขนอนบ้านกรด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ควรมีการส่งเสริมในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
        1. ด้านบริบท ผู้บริหารควรมีการส่งเสริมให้มีโครงการเยาวชนคนดีของสังคม ซึ่งสามารถสร้างคุณลักษณะที่ดีด้านความพฤติกรรม มีเอกลักษณ์ความเป็นไทย ความมีระเบียบวินัยตลอดจนค่านิยมที่พึงประสงค์ให้แก่ผู้เรียน โดยจัดให้มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสอดคล้องกับการดำเนินโครงการตลอดจน
ทันต่อการเปลี่ยนของสังคมยุคปัจจุบัน
        2. ด้านปัจจัยเบื้องต้น ผู้บริหารควรให้การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่มีความเหมาะสมและเพียงพอ โดยประสานความร่วมมือกับองค์การส่วนท้องถิ่น อาทิ เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ในการสร้างภาคีเครือข่ายดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง
        3. ด้านกระบวนการดำเนินงาน ผู้บริหารควรมีการส่งเสริมให้คณะทำงานมีการวิเคราะห์และประเมินผลระหว่างการดำเนินงาน และนำผลการประเมินมาพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง มีการประชุมวางแผนการดำเนินงาน ได้แก่ การวางแผนกลยุทธ์ การจัดทำแผนงานโครงการและรายงานผลการดำเนินงานโครงการทุก
ภาคเรียนอย่างต่อเนื่อง
        4. ด้านผลผลิต ผู้บริหาร และครูควรส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ และเลือกใช้สื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างรู้คุณค่า รวมทั้งปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนการสอน
ที่สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม อาทิเช่น ห้องเรียนธรรมชาติ ลานธรรมะ สอดแทรกในกลุ่มสาระการเรียนรู้ ให้มีความใกล้เคียงกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อพัฒนาและสร้างเสริมให้ผู้เรียนสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างปลอดภัยและมีความสุข
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินครั้งต่อไป
        1. ควรมีการศึกษารูปแบบการพัฒนาโครงการเยาวชนคนดีของสังคมโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2        
    2. ควรมีการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการเยาวชนคนดีของสังคมโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2        
    3. ควรมีการศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการเยาวชนคนดีของสังคมโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2

เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ทศวรรษที่สองของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
    ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
ขวัญนภา อุณหกานต์. (2553). การประเมินโครงการคุณธรรมนำความรู้สู่ความดีของโรงเรียนต้นแบบ
    คุณธรรมนำความรู้สู่ความดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์
    หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา
    มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
จิรภา คำทา และสมบัติ วรินทรนุวัตร. (2559). ศึกษาคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษาคณะ
    บริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น. สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ.
    มหาวิทยาลัยศิลปกร.
บพิธ ศิริ. (2550). การประเมินผลการดำเนินการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก แบบรวมเรียนช่วงชั้น ของ
    ศูนย์โรงเรียนสันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์การศึกษา
มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ไพศาล มั่นอก. (2557). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน
    ระดับมัธยมศึกษาขนาดเล็ก: กรณีศึกษาของนักเรียนโรงเรียนวิเศษชัยชาญวิทยาคม.
    ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(การจัดการการศึกษา). วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2558). แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
     พ.ศ. 2558.วันที่ค้นข้อมูล 4 สิงหาคม 2560, เข้าถึงได้จาก http://bit.ly/2F5Y6qW

Krejcie, R. V. & Morgan, E. W. (1970). Educational and psychological measurement.
New York: McGraw – Hill.
Stufflebeam. D. L. (1989). A National Study Education Evaluation and Decision Making.
    Bloomington: n.p.
__________. (1983). The CIPP model for program evaluation. n.p.


kbunxman 20 เม.ย. 2561 เวลา 22:41 น. 0 689
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^