LASTEST NEWS

25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 7 25 เม.ย. 2567สพป.นนทบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นนทบุรี เขต 1

รูปแบบการเรียนการสอนเรื่องปิโตรเลียม โดยใช้ ICT ม.4

usericon

ชื่อเรื่อง รูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมีพื้นฐาน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาและ
     พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ ICT เป็นฐาน เรื่องปิโตรเลียมและพอลิเมอร์
     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย     นางชลธิชา คำศิลา
     ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
     วุฒิการศึกษาสูงสุด ครุศาสตรมหาบัณฑิต
โรงเรียน โรงเรียนหนองกุงศรีวิทยาคาร อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ 46220
โทร. 043-881026 โทรสาร. 043-881026 E-mail savanger11@hotmail.com
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24
ปีที่พิมพ์ พ.ศ. 2560

บทคัดย่อ

    รูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมีพื้นฐาน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ ICT เป็นฐาน เรื่องปิโตรเลียมและพอลิเมอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ครั้งนี้
มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมีพื้นฐาน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ ICT เป็นฐาน เรื่องปิโตรเลียมและพอลิเมอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมีพื้นฐาน
เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ ICT เป็นฐาน เรื่องปิโตรเลียมและพอลิเมอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมีพื้นฐาน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องปิโตรเลียมและพอลิเมอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4) เพื่อประเมินผลรูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมีพื้นฐาน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ ICT เป็นฐาน เรื่องปิโตรเลียมและพอลิเมอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในประเด็นต่อไปนี้ 4.1 เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน 4.2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน
4.3 ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองกุงศรีวิทยาคาร
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 35 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/6 โรงเรียนหนองกุงศรีวิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 35 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยดำเนินการวิจัยในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลรูปแบบการเรียนการสอน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า ครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนต้องการให้มีการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมีพื้นฐาน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ ICT เป็นฐาน เรื่องปิโตรเลียมและพอลิเมอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยมีกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถสรุปองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีส่วนร่วมในกิจกรรม มีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ และสามารถแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้ 2) รูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมีพื้นฐาน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้ ICT เป็นฐาน เรื่องปิโตรเลียมและพอลิเมอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. หลักการ 2. จุดมุ่งหมาย 3. เนื้อหา 4. กระบวนการเรียนรู้ 5. การวัดและประเมินผล ในส่วนกระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 เชื่อมโยงความสัมพันธ์ ค้นพบปัญหา (Discover the problem using the relationships) ขั้นที่ 2 สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ ทำความเข้าใจกับปัญหาและสืบค้นข้อมูลจากสื่อ ICT (Create a learning experience Understanding the problem and search the information by using ICT) ขั้นที่ 3 ฝึกปฏิบัติการประยุกต์ใช้ความรู้ และดำเนินการแก้ปัญหา (Practical application of knowledge and implementation of solutions) ขั้นที่ 4 ร่วมมือกันนำความรู้สู่บริบทใหม่ (Partnership bringing knowledge to new context) ขั้นที่ 5 สะท้อนผลการเรียนรู้ ตรวจสอบและประเมินผลการแก้ปัญหา (Reflect on learning Monitoring and evaluation of solutions) ตรวจสอบและประเมินผลความสามารถในการแก้ปัญหาและการวัดและประเมินผล ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกัน และเมื่อนำไปหาประสิทธิภาพ (E1/E2) กับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 35 คน ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนเท่ากับ 81.89/81.42 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
คือ 80/80 ยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2 3) ผลการทดลองพบว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น สามารถจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบได้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ เช่น การจัดการเรียนการสอนในขั้นตอนที่ 1 เชื่อมโยงความสัมพันธ์ ค้นพบปัญหาครูกระตุ้นให้นักเรียนได้เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาที่จะเรียนกับความรู้เดิม ขั้นที่ 2 สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ ทำความเข้าใจกับปัญหาและสืบค้นข้อมูลจากสื่อ ICT เป็นขั้นตอนการเรียนรู้เนื้อหาใหม่จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนร่วมกันกับเพื่อนวางแผน รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์วิธีการแก้ปัญหาเพื่อสรุปเป็นความรู้และประสบการณ์ใหม่โดยเป็นขั้นที่ผู้สอนให้ผู้เรียนค้นหาความรู้จากแหล่งความรู้ที่หลากหลายจากสื่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ เพื่อเป็นการให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ด้วยตนเอง เพื่อนำมาสู่การแก้ปัญหา ขั้นที่ 3 ฝึกปฏิบัติการประยุกต์ใช้ความรู้ และดำเนินการแก้ปัญหา ให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติการใช้ความรู้ โดยใช้ความรู้เดิมที่ได้รับจากการเรียนมาใช้ในการแก้ปัญหา ขั้นที่ 4 ร่วมมือกันนำความรู้สู่บริบทใหม่ ครูจะให้นักเรียนทำแบบฝึก/ใบงานโดยนักเรียนจะต้องใช้ความรู้เดิมที่ได้เรียนมาเป็นฐานในการแก้ปัญหาด้วยวิธีใหม่ขั้นที่ 5 สะท้อนผลการเรียนรู้ ตรวจสอบและประเมินผลการแก้ปัญหา นักเรียนจะต้องสร้างชิ้นงานจากการเรียนรู้และนำเสนอผลงาน 4) ผลการประเมินรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีผลดังนี้ 4.1 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4.2 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4.3 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น อยู่ในระดับมาก นักเรียนได้แก้ปัญหาจากสถานการณ์ที่หลากหลาย ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติการคิดด้วยตนเองและเรียนรู้ร่วมกันกับผู้อื่นจนสามารถวางแผน ดำเนินการทำชิ้นงานจนประสบความสำเร็จ
usoft2013 28 ก.พ. 2561 เวลา 08:57 น. 0 729
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^