LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดสอบพนักงานราชการ 350 อัตรา วุฒิปริญญาตรี อัตราเงินเดือน 20,540 - 22,750 บาท ตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย. - 8 พ.ค. 2567 24 เม.ย. 2567สพป.เลย เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เลย เขต 2 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2 24 เม.ย. 2567สพป.สกลนคร เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สกลนคร เขต 2 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 5 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 27 อัตรา - รายงานตัว 1 พฤษภาคม 2567 24 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 2 24 เม.ย. 2567สพม.น่าน ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.น่าน 24 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 4 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 4

รายงานประเมินโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ

usericon

ชื่อเรื่อง     การประเมินโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน
(Classroom Assessment) สู่การประเมินระดับนานาชาติ
ผู้รับผิดชอบ    นางสาวปนัดดา หัสปราบ
ตำแหน่ง    ศึกษานิเทศก์
สังกัด        สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา
ระยะเวลาการประเมินโครงการ    สิงหาคม ๒๕๕๙ – มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐

บทคัดย่อ
การประเมินโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน (Classroom Assessment) สู่การประเมินระดับนานาชาติ มีวัตถุประสงค์การประเมิน คือ ๑) เพื่อประเมินปฏิกิริยาการตอบสนองของผู้เข้าประชุมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน (Classroom Assessment) สู่การประเมินระดับนานาชาติ ๒) เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เข้าประชุม ๓) เพื่อประเมินพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปหลังการประชุม และ ๔) เพื่อประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่อหน่วยงาน การประเมินใช้รูปแบบการประเมินผลโครงการตามแนวคิดแบบจำลองของเคิร์กแพทริค (Kirkpatrick's Four Levels of Evaluation Model) ทั้ง ๔ ด้าน ซึ่งประกอบด้วย ด้านปฏิกิริยา (Reaction), ด้านการเรียนรู้ (Learning), ด้านพฤติกรรม (Behavior) และด้านผลลัพธ์ที่เกิดต่อองค์กร (Results) การดำเนินการประเมินแบ่งออกเป็น ๒ ระยะ คือ ระยะที่ ๑ เป็นการประเมินในระหว่างดำเนินโครงการ ซึ่งมีการประเมินปฏิกิริยาและประเมินการเรียนรู้ของผู้เข้าประชุม โดยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมิน คือ ผู้เข้าประชุมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน (Classroom Assessment) สู่การประเมินระดับนานาชาติ วันที่ ๒๖ – ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๙ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลาเขต ๑ จำนวน ๑๔๒ คน และระยะที่ ๒ เป็นการประเมินหลังจากโครงการสิ้นสุดไปแล้ว เป็นการประเมินด้านพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงหลังการประชุม และประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับโรงเรียน
    ผลการประเมินโครงการ
๑. ความพึงพอใจของผู้เข้าประชุมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียน (Classroom Assessment) สู่การประเมินระดับนานาชาติ โดยภาพรวมผู้เข้าประชุม มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๕๒ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความเหมาะสมของเนื้อหาวิชา มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ๓.๘๖ ด้านวิทยากรมีความ พึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๕๔ และด้านบรรยากาศในการประชุม มีความ พึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๗๕
๒. การประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เข้าประชุมระหว่างคะแนนก่อนและหลังการประชุม พบว่า คะแนนก่อนประชุมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๑๑.๒๑ และคะแนนหลังประชุมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๒๐.๐๖ สรุป ได้ว่าคะแนนหลังการประชุมมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนประชุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ส่วนคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ของผู้เข้าประชุม พบว่า ผู้เข้าประชุมมีคะแนนพัฒนาการหลังการประชุม สูงกว่าก่อนประชุม จากคะแนนพัฒนาการแสดงให้เห็นว่า ผู้เข้าประชุมเกิดการเรียนรู้และเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น โดยมีคะแนนพัฒนาการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ ๖๓.๑๕
๓. การติดตามเพื่อประเมินพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้เข้าประชุม พบว่า ผู้ประชุมมีพฤติกรรมการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนที่เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นในภาพรวมของพฤติกรรมหลังการประชุม ผู้เข้าประชุมมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการวัดและประเมินผล มีพัฒนาการความก้าวหน้า คิดเป็น ร้อยละ ๔๘.๒๕ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ ต้องเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓๐
๔. ผลที่เกิดขึ้นกับองค์กร การนำความรู้ที่ได้จากการประชุมไปใช้ในโรงเรียน ห้องเรียน พบว่า ในภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๒๔ ส่วนด้านการนำความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการไปปรับใช้หรือพัฒนาการปฏิบัติงาน พบว่า ผู้เข้าประชุมได้นำความรู้ไปสู่การปฏิบัติ
คิดเป็นร้อยละ ๙๗.๑๘ และผลจากการเข้าร่วมโครงการช่วยให้ผู้เข้าประชุมปฏิบัติงานดีขึ้น คิดเป็น
ร้อยละ ๑๐๐
panat_h 07 ก.พ. 2561 เวลา 16:03 น. 0 751
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^