LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

ผลการพัฒนาความพร้อมทางด้านสังคม ของเด็กปฐมวัย

usericon

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาความพร้อมทางด้านสังคม ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 โรงเรียนอนุบาลเชียงของ ระหว่างที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย และเพื่อเปรียบเทียบผลของการพัฒนาความพร้อมทางด้านสังคมของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 โรงเรียนอนุบาลเชียงของ ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 1)คู่มือการจัดกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย เพื่อพัฒนาความพร้อมทางด้านสังคม ของเด็กปฐมวัย ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น ประกอบด้วยกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย จำนวน 30 กิจกรรม 2) แผนการจัดกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทยเพื่อพัฒนาความพร้อมทางด้านสังคม ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น ประกอบด้วยหน่วยการเรียน 10 หน่วย ๆ ละ 3 แผน รวมทั้งหมด 30 แผน และ3) แบบสังเกตพฤติกรรมความพร้อมทางด้านสังคม ของเด็กปฐมวัย ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น ประกอบด้วย การปฏิบัติตามข้อตกลง การรอคอยตามลำดับก่อน-หลัง และการเป็นผู้นำผู้ตาม และการเล่นร่วมกับผู้อื่น ใช้ประเมินก่อนจัดกิจกรรม(O )ระหว่างการจัดกิจกรรมเมื่อสิ้นสุดแต่ละสัปดาห์ และหลังจัดกิจกรรม (O ) หลังจากเด็กปฏิบัติกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทยเพื่อพัฒนาความพร้อมทางด้านสังคม โดยใช้แบบสังเกตชุดเดียวกัน ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาของการใช้กิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทยเพื่อพัฒนาความพร้อมทางด้านสังคมของเด็กปฐมวัย คือ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ตั้งแต่วันที่ 27 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2558 ถึงวันที่ 30 เดือนกันยายน พ.ศ.2558 เป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน คือ วันจันทร์ วันอังคาร และวันพุธ วันละ 40 นาที ในช่วงกิจกรรมกลางแจ้ง ตั้งแต่เวลา 11.00-11.40 น. เมื่อทำการประเมินผลจากการสังเกตพฤติกรรมแล้วจากนั้นนำคะแนนที่ได้ไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมทางด้านสังคมทุกช่วงสัปดาห์และก่อนหลังการจัดกิจกรรมเป็นรายด้านและภาพรวม

ผลการศึกษาพบว่า

     1. พบว่าคะแนนพัฒนาการความพร้อมทางด้านสังคมระหว่างที่ได้รับการจัดกิจกรรมสัปดาห์ ที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ย 6.10 คิดเป็นร้อยละ 50.83 สัปดาห์ที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 7.29 คิดเป็นร้อยละ 60.75 สัปดาห์ที่ 3 มีค่าเฉลี่ยมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 7.61 คิดเป็นร้อยละ 63.44 สัปดาห์ที่ 4 มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 8.00 คิดเป็นร้อยละ 66.67 สัปดาห์ที่ 5 มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 9.00 คิดเป็นร้อยละ 75.00 สัปดาห์ที่ 6 มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 9.48 คิดเป็นร้อยละ 79.03 สัปดาห์ที่ 7 มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 9.84 คิดเป็นร้อยละ 81.99 สัปดาห์ที่ 8 มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 10.77 คิดเป็นร้อยละ 89.78 สัปดาห์ที่ 9 มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 11.32 คิดเป็นร้อยละ 94.35 และสัปดาห์ที่ 10 มีค่าเฉลี่ยคงที่เป็น 11.48 คิดเป็นร้อยละ 95.70 รวมทั้ง 10 สัปดาห์ มีค่าเฉลี่ย 90.90 คิดเป็นร้อยละ 75.75 ซึ่งผลการพัฒนาเพิ่มขึ้นตามลำดับเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
2. ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมความพร้อมทางด้านสังคมของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาล ปีที่ 2/2 โรงเรียนอนุบาลเชียงของโดยภาพรวมหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย มีคะแนนพฤติกรรมความพร้อมทางด้านสังคมโดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย 11.71 คิดเป็นร้อยละ 97.58 สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย มีค่าเฉลี่ย 5.90 คิดเป็นร้อยละ 49.17

สรุปผลค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมความพร้อมทางด้านสังคมก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทยแตกต่างกัน โดยหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทย เด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2/2 โรงเรียนอนุบาลเชียงของ มีคะแนนพฤติกรรมความพร้อมทางด้านสังคมโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 11.71 สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมเกมการละเล่นพื้นบ้านของเด็กไทยซึ่งมีค่าเฉลี่ย 5.90 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
nokyin2547 12 เม.ย. 2560 เวลา 15:22 น. 0 629
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^