การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติ
เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้พื้นบ้านด้วยจาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้ศึกษา นางสายสมร มะโระ
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาลวัดคงคาสวัสดิ์ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปี พ.ศ.2556
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (
1) พัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฎิบัติของเดวีส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้พื้นบ้านด้วยจาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
(2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้พื้นบ้านด้วยจาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
(3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานประดิษฐ์) เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้พื้นบ้านด้วยจาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 33 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ
(1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้พื้นบ้านด้วยจากชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 6 แผนคือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 รวมความคิดสู่การประดิษฐ์ของใช้พื้นบ้าน แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 2 การประดิษฐ์หมาจากแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 3 การประดิษฐ์ตับจาก แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 4 การประดิษฐ์เสื่อจากแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 5 การประดิษฐ์หมวกจาก แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 6 การประดิษฐ์แผงตากจาก ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา 5 คน และนำไปทดลองใช้กับกลุ่มทดลองภาคสนาม (Individual Try –Out ) ำนวน 30 คน ปรับปรุงจนมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดไว้จากการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา มีความเหมาะสมมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.65
(2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนจำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีความยากง่ายระหว่าง 0.47 –0.76 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.32 – 0.84 และความเชื่อมั่น KR20 = 0.94 3)แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้พื้นบ้านด้วยจากชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เมื่อนำผลมาวิเคราะห์เพื่อหาคุณภาพเครื่องมือ พบว่าแบบสอบถามความพึงพอใจมีค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบัค เท่ากับ 0.88 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
(1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(งานประดิษฐ์)เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้พื้นบ้านด้วยจากชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 88.23/ 88.38
(2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานประดิษฐ์) เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้พื้นบ้านด้วยจาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เท่ากับ 0.7826 หมายความว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 78.26
(3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี งานประดิษฐ์) เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้พื้นบ้านด้วยจาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด แสดงว่าแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี งานประดิษฐ์) เรื่อง การประดิษฐ์ของใช้พื้นบ้านด้วยจาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สามารถนำไปในการจัดการเรียนการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 ได้เป็นอย่างดี