LASTEST NEWS

18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ! กำหนดสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัดสพฐ. ปี พ.ศ.2567 ประกาศรับสมัครภายใน 1 พ.ค. 2567 - รับสมัคร 8-14 พ.ค.2567 18 เม.ย. 2567กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ (ทุนเอราวัณ) 84 อัตรา สมัคร 1 พฤษภาคม 2567 - 14 มิถุนายน 2567 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ !! กทม.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 592 อัตรา (สำรอง 125 อัตรา) - รายงานตัว 29-30 เม.ย.2567 18 เม.ย. 2567สพป.ยโสธร เขต 1 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567  18 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 5 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 5 18 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. เข้ม สั่งสอบครูคัดลอกผลงานฯ เตรียมจับมือ จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบ 18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ

โครงการนิเทศภายในโรงเรียนเหนือคลองประชาบำรุง จังหวัดกระบี่ สำนัก

usericon

โครงการนิเทศภายในโรงเรียนเหนือคลองประชาบำรุง จังหวัดกระบี่ สำนัก
ชื่อการประเมิน    โครงการนิเทศภายในโรงเรียนเหนือคลองประชาบำรุง จังหวัดกระบี่
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13
ผู้ประเมิน    นายไชยพงษ์ ชุมศรี
ปีที่ประเมิน    2556

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
    การประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนเหนือคลองประชาบำรุง จังหวัดกระบี่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบทของโครงการ ประเมินปัจจัยของโครงการ ประเมินกระบวนการของโครงการ และประเมินผลผลิตของโครงการ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้มีจำนวนทั้งสิ้น 330 คน แบ่งเป็น ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน ครูผู้สอน จำนวน 95 คน และนักเรียน จำนวน 231 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน จำนวน 1 ฉบับ คือ แบบประเมินโครงการนิเทศภายในโรงเรียนเหนือคลองประชาบำรุง จังหวัดกระบี่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13 เป็นแบบประเมินแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 37 ตัวชี้วัด มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ .9636 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ โดยโปรแกรมสำเร็จรูป ผลการประเมินสรุปไดดังนี้
1.    ผลการประเมินประเด็นบริบทของโครงการมีทั้งหมด 5 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศภายในโรงเรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก การให้ความสำคัญ และประโยชน์ของการนิเทศภายในโรงเรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด กิจกรรมนิเทศภายในของโรงเรียนสอดคล้องกับนโยบาย มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ชุมชนมีส่วนร่วมสนับสนุนการจัดกิจกรรมการนิเทศภายในโรงเรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และกิจกรรมการนิเทศภายในสอดคล้องกับวัฒนธรรมของโรงเรียนและท้องถิ่น มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
2.    ผลการประเมินประเด็นปัจจัยของโครงการมีทั้งหมด 5 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด และโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งการจัดสรรงบประมาณในการนิเทศภายในเป็นไปตามแผนงานและโครงการของโรงเรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือในการดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก คณะกรรมการดำเนินงานมีความรู้ความสามารถในการจัดกิจกรรมการนิเทศภายในโรงเรียน และมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก และระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการนิเทศภายในโรงเรียน และมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
3.    ผลการประเมินประเด็นกระบวนการของโครงการมีทั้งหมด 12 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางการนิเทศภายในโรงเรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ครู มีโอกาสร่วมกำหนดแผนงานการดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด โรงเรียนแต่งตั้งผู้บริหาร ครู นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษารับผิดชอบโครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด กำหนดแนวทางปฏิบัติหน้าที่และการมอบงานที่ชัดเจน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด การดำเนินกิจกรรมการนิเทศภายในโรงเรียนตามแผนที่กำหนดไว้ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ครู นักเรียน และชุมชน มีส่วนร่วมรับผิดชอบดำเนินโครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด การปฏิบัติกิจกรรมดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด กิจกรรมการนิเทศภายในโรงเรียนมีความเหมาะสมกับสภาพและบริบทของโรงเรียนมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด การเผยแพร่ประชาชาสัมพันธ์โครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ครู นักเรียน และชุมชม มีส่วนร่วมในการประเมินโครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด การจัดทำสรุปรายงาน ข้อเสนอแนะ การปฏิบัติงานตามโครงการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และการนำผลการดำเนินงานไปใช้เป็นข้อมูล ในการพัฒนาภายหน้าอย่างต่อเนื่อง มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

4.    ผลการประเมินประเด็นผลผลิตของโครงการมีทั้งหมด 9 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งครูมีการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ครูมีการพัฒนาผู้เรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ครูมีการบริหารจัดการชั้นเรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ครูมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ครูมีภาวะผู้นำ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ครูมีการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ครูมีการทำงานมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ครูมีการบริการที่ดี มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ครูมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ครูมีการทำงานเป็นทีมอย่างเป็นระบบ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ครูยึดมั่นในจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของโรงเรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด นักเรียนมีความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้ทักษะชีวิต และการใช้เทคโนโลยี มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และโรงเรียนเป็นที่ยอมรับของชุมชน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
5.    ผลการประเมินโครงการโดยภาพรวมทุกประเด็นการประเมินและทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน โดยมีผลการดำเนินการโครงการในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแต่ละประเด็นการประเมิน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ประเด็นการประเมิน โดยที่ประเด็นกระบวนการของโครงการมีคะแนนการประเมินมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ประเด็นบริบทของโครงการ ประเด็นผลผลิตของโครงการ และประเด็นปัจจัยของโครงการ ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาตัวชี้วัดของแต่ละประเด็นการประเมินทั้ง 4 ประเด็นประเมินและตัวชี้วัดจำนวน 37 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 37 ตัวชี้วัด โดยมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก จำนวน 11 ตัวชี้วัด ได้แก่ การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศภายในโรงเรียน การจัดสรรงบประมาณในการนิเทศภายในเป็นไปตามแผนงานและโครงการของโรงเรียน ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรม วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือในการดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียน คณะกรรมการดำเนินงานมีความรู้ความสามารถในการจัดกิจกรรมการนิเทศภายในโรงเรียน การนำผลการดำเนินงานไปใช้เป็นข้อมูล ในการพัฒนาภายหน้าอย่างต่อเนื่อง ครูมีการพัฒนาผู้เรียน ครูมีการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชน ครูมีการบริการที่ดี ครูยึดมั่นในจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู และโรงเรียนเป็นที่ยอมรับของชุมชน นอกจากนั้นจำนวน 26 ตัวชี้วัด มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด


91996228 08 ส.ค. 2557 เวลา 11:11 น. 0 1,120
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^