LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เพชรบุรี เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สมุทรสงคราม - ผลย้ายครู 2567 สพป.สมุทรสงคราม 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครราชสีมา เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.ขอนแก่น - ผลย้ายครู 2567 สพม.ขอนแก่น 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ 18 เม.ย. 2567(( ประกาศแล้ว )) รายชื่อผู้สอบผ่าน ภาค ก และ ข การสอบบรรจุรับราชการครูฯ ตำแหน่งบุคลากร 38 ค.(2) สังกัดสพฐ. ปีพ.ศ.2567 เช็กผลสอบ 38 ค. สพฐ. ได้ที่นี่

ยงานการประเมินโครงการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนและการส่งเสริมนิสั

usericon

ยงานการประเมินโครงการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนและการส่งเสริมนิสั
ชื่อผลงาน : รายงานการประเมินโครงการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนและการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนโรงเรียนบ้านลาหงา ปีการศึกษา 2556     
ผู้รายงาน : นางฮาสาน๊ะ ยีปันจอ รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านลาหงา
หน่วยงาน : โรงเรียนบ้านลาหงา อำเภอละงู จังหวัดสตูล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล
ปีที่รายงาน : ปีการศึกษา 2556
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนและการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนบ้านลาหงา ปีการศึกษา 2556 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 1)คุณภาพการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียน และการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนบ้านลาหงา ปีการศึกษา 2556 2)ทักษะการอ่าน การเขียน และการมีนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนบ้านลาหงา ปีการศึกษา 2556 3)ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 โรงเรียนบ้านลาหงา ปีการศึกษา 2556 และ4)ความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการดำเนินงานโครงการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนและการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนบ้านลาหงา ปีการศึกษา 2556 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ และแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาและระดับชาติขั้นพื้นฐาน จำนวน 1 ฉบับ รวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับระหว่าง .95 - .99
ผลการประเมินพบว่า
1.    ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนและ
การส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนบ้านลาหงา ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดพบว่าทุกประเด็นตัวชี้วัดทั้งสองกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมากและมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนและการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนบ้านลาหงา ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของครู โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดพบว่าทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนและการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนบ้านลาหงา ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง และนักเรียน โดยรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดพบว่าทุกประเด็นตัวชี้วัดทั้งสามกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับคุณภาพการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนและการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนบ้านลาหงา ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง และนักเรียน โดยรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดพบว่าทุกประเด็นตัวชี้วัดทั้งสามกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการประเมินด้านผลผลิตเกี่ยวกับทักษะการอ่านการเขียนและการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนบ้านลาหงา ปีการศึกษา 2556 ตามความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง และนักเรียน โดยรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดพบว่าทุกประเด็นตัวชี้วัดทั้งสามกลุ่มที่ประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 โรงเรียนบ้านลาหงา ปีการศึกษา 2556 เปรียบเทียบกับเป้าหมาย โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนด โดยคะแนนเฉลี่ยรวมทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ เท่ากับ ( = 68.95 ) สูงกว่าเป้าหมายของโรงเรียน ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณารายกลุ่มสาระ พบว่า กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 75.09 ) รองลงมาคือกลุ่มสาระภาษาไทย ( = 70.95 ) และกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 62.60 ) ผ่านเกณฑ์การประเมิน และผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านลาหงา ปีการศึกษา 2555 เปรียบเทียบกับปีการศึกษา 2556 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.39% ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการประเมินผลผลิตเกี่ยวกับความพึงพอใจของครู ผู้ปกครอง นักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนและการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียน โรงเรียนบ้านลาหงา ปีการศึกษา 2556 โดยรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน และทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
    ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.    ควรมีการนิเทศ ติดตาม กำกับดูแล ช่วยเหลือและการประเมินผล เกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการทั้งเป็นกลุ่มบริหารหัวหน้ากลุ่มสาระและเป็นรายบุคคล แบบกัลยาณมิตรโดยเน้นการมีส่วนร่วม
2.    การส่งเสริม โรงเรียนต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ขยายผลไปสู่ผู้ปกครอง เป็นครอบครัวรักการอ่าน เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านอย่างยั่งยืน
3.    ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษามีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จของ
โครงการและควรยกย่องเชิดชูเกียรติ ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ชื่อเสียงผลงานของบุคคล กลุ่มบุคคล หน่วยงานที่ให้การช่วยเหลือสนับสนุนโครงการ ด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม
4.    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน ควรกำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจน ให้โรงเรียนต่าง ๆ ได้ดำเนินการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนและการส่งเสริมนิสัยรักการอ่านของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง และให้ความสำคัญกับการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งในระดับโรงเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ ตลอดจนสร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม
    ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินหรือวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการวิจัยพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะการอ่านการเขียนและการส่งเสริมรักการอ่านของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์เครือข่ายการมีส่วนร่วม ระดับสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
2. ควรมีการประเมินโครงการต่าง ๆ ทุกโครงการที่โรงเรียนดำเนินการ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ และสารสนเทศที่ต้องการคำตอบ
thanayee 11 พ.ค. 2557 เวลา 01:04 น. 0 1,211
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^