LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 26 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ชลบุรี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชลบุรี เขต 3 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สงขลา เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.สงขลา เขต 1 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.พิจิตร เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.พิจิตร เขต 2 29 มี.ค. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.เพชรบุรี รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 7 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

มติ ครม. วันที่ 24ก.ย.2556 ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

  • 25 ก.ย. 2556 เวลา 01:27 น.
  • 16,723
มติ ครม.  วันที่ 24ก.ย.2556 ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 315/2556 มติ ครม. 24 กันยายน 2556
ครม.เห็นชอบการได้รับเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
 
 ศึกษาธิการ - นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2556 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ
 
อนุมัติการได้รับเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
 
 ครม.มีมติอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 (ฝ่ายสังคมและกฎหมาย) ในคราวประชุม ครั้งที่ 5/2556 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน 2556 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา) ประธานกรรมการ เสนอดังนี้

1. รับทราบผลการประชุมหารือเรื่อง การได้รับเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา) กระทรวงการคลัง สำนักงาน ก.พ. สำนักงบประมาณ และฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
 2. อนุมัติหลักการร่างกฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาปรับแก้ไขถ้อยคำ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการเห็นชอบด้วยแล้ว และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
 3. มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการรับความเห็นของสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปได้
 สาระสำคัญของร่างกฎ ก.พ.อ.
 
 1. กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งวิชาการ ซึ่งได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงของอันดับเงินเดือนของตำแหน่งที่ดำรงอยู่ ให้ได้รับเงินเดือนสูงกว่าขั้นสูง ของอันดับเงินเดือนเดิม โดยให้ไปอาศัยรับเงินเดือนในตำแหน่งถัดไปอีกหนึ่งตำแหน่ง
 2. กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตำแหน่งวิชาการ ซึ่งจะได้รับเงินเดือนสูงขึ้น และต้องพ้นจากราชการเพราะเหตุเกษียณอายุ ให้ได้รับเงินเดือนในตำแหน่งที่สูงขึ้นในวันที่ 30 กันยายนของปีสุดท้ายก่อนพ้นจากราชการ




อนุมัติการดำเนินงานโครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล
 
ครม.มีมติอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 (ฝ่ายสังคมและกฎหมาย) ในคราวประชุม ครั้งที่ 4/2556 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม 2556 ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา) ประธานกรรมการ เสนอดังนี้
 
1. อนุมัติให้ดำเนินงานโครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล ในช่วงที่ 2 ต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557-2561)
2. งบประมาณดำเนินโครงการศูนย์การเรียนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
3. กรอบบุคลากรตามผลการอนุมัติข้อ 1. และ 2. ให้กระทรวงศึกษาธิการรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. และฝ่ายเลขานุการร่วมคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐไปพิจารณาดำเนินการ
4. ให้กระทรวงศึกษาธิการรับข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
สรุปสาระสำคัญ
 
1. วัตถุประสงค์
 
- เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กเจ็บป่วยเรื้อรังได้รับโอกาสพัฒนาได้อย่างทั่วถึงครอบคลุมทั่วประเทศ โดยควรมีศูนย์การเรียนอย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง
- เพื่อยกระดับมาตรฐานการดำเนินงานโดยจัดบุคลากรเพิ่มให้แก่ศูนย์การเรียนที่ยังไม่ได้รับจัดสรร และจัดสรรเพิ่มในศูนย์การเรียนที่เปิดขยายระหว่างปี 2557-2561 สามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีมาตรฐานในระดับเดียวกันทั่วประเทศ 
- เพื่อจัดการสอนให้เด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง สามารถกลับไปเรียนต่อในโรงเรียนและมีสิทธิสอบเลื่อนชั้นหรือไม่ต้องออกกลางคัน
- เพื่อช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกาย จิตใจ การเรียนรู้ พัฒนาการด้านต่าง ๆ ให้แก่เด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล โดยมีกิจกรรมนันทนาการที่ให้ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ผ่อนคลายจิตใจ และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เป็นการเปิดโลกทัศน์ของเด็กให้กว้างขึ้น 
- เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้แก่ครูศูนย์การเรียนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลกับเครือข่าย 
- เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่ผลงาน และยกย่องเชิดชูเกียรติศูนย์การเรียนที่เป็น Best practice
 
2. เป้าหมาย กลุ่มเด็กที่อยู่ในระบบโรงเรียน และกลุ่มเด็กที่ออกจากโรงเรียนแล้ว ที่มีอายุอยู่ในเกณฑ์การศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งกลุ่มเด็กที่ไม่เคยเข้าโรงเรียนซึ่งเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต้องเข้ารับการรักษาอยู่ในโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีโอกาสเข้ารับการศึกษาได้อย่างกว้างขวางทั่วถึงมากยิ่งขึ้น และศูนย์การเรียนสำหรับเด็กเจ็บป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล 77 จังหวัด (ระหว่างปี พ.ศ. 2552-2561)
 
3. ระยะเวลาดำเนินการ  
 
- พ.ศ. 2557 จำนวน 56 ศูนย์การเรียน (49 ศูนย์เดิม+7 ศูนย์ใหม่)
- พ.ศ. 2558 จำนวน 63 ศูนย์การเรียน (56 ศูนย์เดิม+7 ศูนย์ใหม่) 
- พ.ศ. 2559 จำนวน 70 ศูนย์การเรียน (63 ศูนย์เดิม+7 ศูนย์ใหม่) 
- พ.ศ. 2560 จำนวน 78 ศูนย์การเรียน (70 ศูนย์เดิม+ 8 ศูนย์ใหม่) 
- พ.ศ. 2561 จำนวน 86 ศูนย์การเรียน (78 ศูนย์เดิม+ 8 ศูนย์ใหม่)
 
4. กิจกรรมดำเนินงาน  เป็นค่าจ้างครูศูนย์การเรียน (อัตราจ้าง) การประชุมสัมมนาบุคลากรศูนย์การเรียนและผู้ที่เกี่ยวข้อง  การพัฒนาครูประจำศูนย์การเรียน  การสนับสนุนการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์และครุภัณฑ์ การนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน และการประชุมเพื่อนำผลงาน/รูปแบบที่เป็น Best Practice แลกเปลี่ยน เรียนรู้ เผยแพร่ และยกย่องเชิดชูเกียรติ


เห็นชอบในหลักการปรับค่าใช้จ่ายต่อหัวในการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 
รมว.ศธ.กล่าวว่า ครม.ได้เห็นชอบในหลักการตามที่ ศธ.เสนอให้ปรับค่าใช้จ่ายต่อหัวในการจัดการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ปรับเพิ่มจาก 2,300 บาทต่อหัวต่อปี เป็น 3,500 บาทต่อหัวต่อปี และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เดิม 2,300 บาทต่อหัวต่อปี เพิ่มเป็น 3,800 บาทต่อหัวต่อปี
 
อย่างไรก็ตาม สำนักงบประมาณมีความเห็นว่าอัตราที่เสนอดังกล่าวจะเป็นภาระงบประมาณจำนวน 1,550 ล้านบาทต่อปี ซึ่งอัตราการขอเพิ่มเงินอุดหนุนดังกล่าวอ้างอิงจากการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากการศึกษานอกระบบ ดังนั้น จึงได้เสนอให้ ศธ.ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาค่าใช้จ่ายรายหัวการศึกษานอกระบบของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เพื่อให้สอดคล้องกับค่าใช้จ่ายที่สะท้อนกับคุณภาพการศึกษา ซึ่งสำนักงบประมาณเห็นว่า อัตราค่าใช้จ่ายต่อหัวของผู้เรียน กศน. ควรจะต่ำกว่าอัตราที่เสนอมา ซึ่ง ครม.ได้อบหมายให้ ศธ.หารือกับสำนักงบประมาณ โดยมีนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และเสนอให้ ครม.เพื่อทราบต่อไป
 
 
  • 25 ก.ย. 2556 เวลา 01:27 น.
  • 16,723

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : มติ ครม. วันที่ 24ก.ย.2556 ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^