LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 26 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ชลบุรี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชลบุรี เขต 3 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สงขลา เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.สงขลา เขต 1 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.พิจิตร เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.พิจิตร เขต 2 29 มี.ค. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.เพชรบุรี รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 7 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

เปิดใจพ่อแม่ "การบ้าน" คือตัวการทำเด็กเครียดจริงหรือ?

  • 01 ก.พ. 2556 เวลา 07:38 น.
  • 3,649
เปิดใจพ่อแม่ "การบ้าน" คือตัวการทำเด็กเครียดจริงหรือ?

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

    ปฏิเสธไม่ได้ว่า "การบ้าน" คือจิ๊กซอว์สำคัญตัวหนึ่งในระบบการศึกษาไทยที่ยังคงความศักดิ์สิทธิ์ไม่น้อยในสายตาพ่อแม่ผู้ปกครอง แม้ปัจจุบัน การบ้านบางวิชาจะเปลี่ยนรูปแบบไปจนแทบไม่เหลือเค้าเดิม เช่น วิชาคณิตศาสตร์ จากรุ่นพ่อแม่ที่เคยต้องลอกโจทย์ แสดงวิธีทำลงในสมุด ปัจจุบันอาจเหลือเพียงใบงานที่แทบไม่ต้องเขียนวิธีทำมากมายอีกต่อไป 
       
       กระนั้น การอ้างปัญหาเด็กเครียดเพราะการบ้านเยอะก็ยังคงมีอยู่ ดังจะเห็นได้จากกรณีที่นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีแนวคิดจะปฏิรูปหลักสูตรการศึกษา โดยจะลดปริมาณงาน - การบ้านของเด็กนักเรียนลง หวังช่วยลดความเครียดในเด็กและช่วยให้เด็กมีเวลาทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมากขึ้น
       
       สิ่งที่ต้องถามต่อมาก็คือ การมอบตำแหน่งจำเลยทำเด็กเครียดให้กับการบ้านนั้น ตอบโจทย์มากน้อยแค่ไหน และจะสามารถแก้ไขปัญหาได้จริงหรือไม่ ทีมงาน Life & Family ได้มีโอกาสสอบถามจากพ่อแม่ผู้ปกครองจำนวนหนึ่ง ที่ออกมาเผยว่า แท้จริงแล้วในระบบการศึกษาไทย ยังมีจิ๊กซอว์อีกหลายตัวที่สามารถสร้างความเครียดในเด็กได้เป็นอย่างดี หนึ่งในนั้นคือ "การทำรายงานกลุ่ม"
       
       คุณเมย์ (ขอสงวนชื่อและนามสกุล) คุณแม่ลูกสองที่ปัจจุบัน เด็ก ๆ กำลังศึกษาในระดับมัธยมต้นของโรงเรียนเอกชนชื่อดังย่านสะพานพุทธเผยกับทีมงาน Life & Family ว่า การบ้านของลูกนั้นหนักจริง แต่ปัจจุบันหนักใจกับการทำรายงานกลุ่มมากกว่า
       
       "ความเห็นส่วนตัวต่อการบ้านของเด็กสมัยนี้ รู้สึกว่ามันไม่เหมือนการบ้าน เหมือนงานเก็บอะไรสักอย่าง เด็ก ๆ แค่เสิร์ชข้อมูล ก๊อปปี้ - แปะ - ปรินต์ แต่เด็กไม่ได้อะไรเลย นอกจากนั้นปัญหาที่พบคือ ครูสั่งงานกลุ่มแทบทุกวิชา แต่เด็กไม่มีเวลาให้กับการทำงานกลุ่ม เนื่องจากปัจจุบันเรียนหนักมาก หลังเลิกเรียนบางคนก็ต้องไปเรียนพิเศษ ในจุดนี้อยากให้ทางโรงเรียนจัดสถานที่ และเวลาให้เด็กได้ใช้คุยงานกันบ้าง เหมือนในมหาวิทยาลัยที่จะมีห้องให้นักศึกษาได้คุยงานกัน ส่วนการบ้านอย่างวิชาคณิตศาสตร์จะมีทุกวันก็ไม่เป็นไร แต่บางวิชาเช่น สังคม ประวัติศาสตร์ จะหนักใจหน่อย เพราะคุณครูบอกว่าใช้คอมพิวเตอร์ได้ ที่บ้านก็ต้องต่อแถวรอ ผลัดกันใช้คอมพ์ กว่าจะเสร็จก็นานเหมือนกัน"
       
       ด้านคุณใหม่ คุณแม่ลูกสามที่เด็ก ๆ กำลังศึกษาอยู่ในชั้นประถมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่งย่านบางเขน ก็ออกมาให้ความเห็นในทิศทางเดียวกันว่า การบ้านและรายงานสำหรับเด็กในยุคนี้ถือว่าค่อนข้างหนัก
       
       "พูดถึงการเรียนของเด็กสมัยนี้ ผู้ปกครองก็ต้องตามอยู่ตลอดเวลา ต้องมีศักยภาพด้วยนะ (ถอนใจเหนื่อย) แต่ละบ้านก็ต้องเตรียมให้พร้อม กรรไกร กาว กระดาษ คอมพิวเตอร์ พรินเตอร์ เผื่อต้องทำรายงาน ทำพรีเซนต์ต่าง ๆ เวลาลูกมีรายงานต้องทำส่ง ก็จะช่วยกันหาข้อมูลออกมา พรินต์ออกมานั่งดูกัน มาคัดเลือกกันว่าจะใช้ข้อมูลตัวไหน แล้วก็ช่วยดูเวลาเขาเรียบเรียงออกมาเป็นรายงาน ถ้ามีงานกลุ่มก็ต้องอยู่เย็นขึ้นอีกหน่อย แบ่งหน้าที่กันให้เสร็จ แล้วก็กลับไปทำที่บ้าน"
       
       "แต่ก็เข้าใจว่าไม่ใช่พ่อแม่ทุกคนจะพร้อมตลอด คนที่ไม่พร้อมก็มี ผลของความไม่พร้อมก็คือลูกไม่มีงานส่งไง ติด ร.ไป คือในการสนับสนุนลูกในระบบการศึกษาแบบนี้ เราต้องเตรียมเอาไว้หมด ทั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ เงิน เวลา การรับส่ง" 
       
       หันไปฟังความเห็นจากฝั่งครู นายวรพงษ์ แสงประเสริฐ อาจารย์สอนวิชาภาษาอังกฤษ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ที่ออกมายืนยันว่า การบ้านเป็นสิ่งจำเป็นที่ให้เด็กกลับไปทบทวนเนื้อหาที่เรียนไป ทำให้ได้คิดและค้นคว้าด้วยตัวเอง หลังจากที่เรียนในห้องไปแล้ว ถ้าจะไม่ให้มีการบ้านเลยไม่เห็นด้วย ยอมรับว่าขณะนี้ทุกวิชามีการบ้านให้เด็กมากเกินไป ซึ่งอาจจะใช้วิธีการลดการบ้านลงเหลือสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และบูรณาการหลักสูตรให้มีโครงงานและรายงานน้อยลง

 
 เครียดเพราะการบ้าน หรือเครียดเพราะไม่พร้อม?
       
       หากมองปัญหาเด็กเครียดในระบบการศึกษาไทยให้ลึกลงไปอีก ส่วนหนึ่งคงต้องยอมรับว่า เด็กไทยทุกวันนี้มีเด็กที่มาเรียนทั้ง ๆ ที่ไม่พร้อมจะเรียนอยู่มากมาย เริ่มจากการตื่นนอน หลายคนต้องตื่นตั้งแต่ตี 5 เพื่อหนีปัญหารถติด ก่อนจะมาง่วงพับหลับคาห้องเรียน บางคนครอบครัวมีปัญหา กระทั่งอุปกรณ์การเรียนที่จำเป็นก็ไม่สามารถพกใส่กระเป๋ามาได้ หรือเงินค่าขนมที่อาจกลายเป็นค่าอุปกรณ์ในการทำรายงาน ค่าซีร็อกซ์ชีท ค่าซื้อดินสอปากกา ยังแทบไม่มี ข้าวเช้าก็ไม่มีใครเป็นธุระจัดหาให้ แล้วเขาเหล่านี้จะพร้อมสำหรับการเรียนในห้องเรียนได้อย่างไร
       
       อาจารย์เมธิกา ธนไพศาลกิจ อดีตอาจารย์ฝ่ายปกครองของโรงเรียนสวนอนันต์ย่านฝั่งธนให้ความเห็นเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า "ปัญหาเด็กเครียดในระบบการศึกษาอาจไม่ได้เกิดจากการบ้านเสียทั้งหมด แต่ปัญหาเรื่องความพร้อมในการเรียนก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจ ซึ่งครูขอแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มแรกคือครอบครัวที่พ่อแม่ไม่พร้อมเลยทั้งในด้านฐานะ - เวลาที่จะให้การสนับสนุนลูก เด็กที่มีปัญหาในการเรียนมักเติบโตในครอบครัวประเภทนี้ พ่อแม่ของเด็กกลุ่มนี้มักเป็นคนหาเช้ากินค่ำ เด็กกลุ่มนี้มีความพร้อมในการเรียนน้อยที่สุด แถมยังมีปัญหาด้านจิตใจด้วย เพราะหากพ่อแม่มีปัญหาก็มักจะระบายลงที่เด็ก เด็กบางคนในกลุ่มนี้ กระทั่งปากกา ยางลบ ดินสอยังไม่มีมาโรงเรียน ต้องมาขอยืมเพื่อน เมื่อต้องเรียนหนังสือบนความไม่พร้อม ย่อมเป็นบ่อเกิดของความเครียดได้ง่าย"
       
       "ส่วนกลุ่มที่สอง ครอบครัวมีความพร้อมเรื่องฐานะ แต่ไม่มีเวลา เป็นเด็กกลุ่มใหญ่อีกเช่นกัน พ่อแม่ของเด็กกลุ่มนี้มักเป็นพนักงานบริษัท ข้าราชการ ที่มีเวลาเลิกงานค่อนข้างเย็น บางครั้งก็ดึก ทำให้ต้องปล่อยลูกทำการบ้านเอง หรือไม่ก็ให้ทางโรงเรียนจัดการ เช่น ส่งเข้าเรียนพิเศษกับทางโรงเรียนหลังเลิกเรียนต่อ ซึ่งหากเด็กยังเล็ก และไม่มีใครช่วยดูแลเรื่องการบ้าน ความรับผิดชอบต่าง ๆ ให้ ก็เป็นไปได้ว่าจะหลงลืม ไม่ได้ทำงานส่งครูครบทุกชิ้น และเกิดความเครียดได้"
       
       "กลุ่มที่สามมีความพร้อมเรื่องเวลา แต่ไม่มีฐานะ พ่อแม่กลุ่มนี้มีเวลาจริง แต่ฐานะยากจน ทำให้ไม่สามารถสนับสนุนลูกในเรื่องการศึกษาได้อย่างเต็มที่ เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าการทำรายงานในปัจจุบัน ต้องใช้ทรัพยากรต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น ต้องมีคอมพิวเตอร์หาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต หรือบางทีก็ต้องใช้ฟิวเจอร์บอร์ด กาว กรรไกร กระดาษสี เหล่านี้ล้วนต้องใช้เงินทั้งสิ้น ดังนั้น หากพ่อแม่ไม่สามารถสนับสนุนในจุดนี้ได้ ก็อาจทำให้เด็กรู้สึกว่าตนเองมีไม่เหมือนเพื่อน ๆ และเกิดเป็นความเครียดได้เช่นกัน"
       
       ส่วนกลุ่มสุดท้ายคือกลุ่มที่ครอบครัวมีความพร้อมทั้งฐานะและเวลา เด็กกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่โชคดีที่สุดที่มีพ่อแม่คอยสนับสนุน ช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา รวมถึงสอนเทคนิคในการจัดการกับภาระงานต่าง ๆ ที่ทางโรงเรียนมอบหมายได้
       
       ดังนั้นจะเห็นได้ว่า สิ่งที่เด็ก ๆ ต้องฟันฝ่าเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการเรียนนั้นมีอยู่มากมาย และปัญหาเหล่านี้ไม่สามารถแก้ได้ด้วยการ "โยนเงิน" ใส่เข้ามาในระบบการศึกษาเหมือนที่ผ่าน ๆ มา หากแต่ต้องอาศัยความจริงใจในการสร้างสภาพแวดล้อมที่พร้อมสำหรับการเรียนรู้อย่างแท้จริงให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม สภาพแวดล้อมที่เด็กมีผู้สนับสนุนในการศึกษาเล่าเรียน สภาพแวดล้อมที่ครูมีความเข้าใจในธรรมชาติของเด็ก และที่สำคัญที่สุดคือการมีพ่อแม่ที่สนใจ - ใส่ใจ - สอบถามความเป็นไปของลูก เพราะอย่าลืมว่าความก้าวหน้า หรืออนาคตในหน้าที่การงานของพ่อแม่นั้น พ่อแม่สามารถไขว่คว้าได้จนกว่าชีวิตจะหาไม่ แต่เวลาที่จะได้ใส่ใจ ดูแลลูก ๆ นั้นอาจกำลังลดน้อยลงทุกขณะ! 
 
 
 
 
  • 01 ก.พ. 2556 เวลา 07:38 น.
  • 3,649

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : เปิดใจพ่อแม่ "การบ้าน" คือตัวการทำเด็กเครียดจริงหรือ?

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^