LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

ครม.เห็นชอบแนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่

  • 27 ก.ย. 2565 เวลา 10:02 น.
  • 1,989
ครม.เห็นชอบแนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ครม.เห็นชอบแนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่

(20 กันยายน 2565) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ “แนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่” พร้อมคู่มือ เพื่อให้ส่วนราชการใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการต่อไป และมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐพิจารณานำแนวทางฯ พร้อมคู่มือ ไปปรับใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการตามความเหมาะสม ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามแผนปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ด้านการบริหารราชการแผ่นดินในส่วนที่เกี่ยวข้อง

สาระสำคัญ

สำนักงาน ก.พ. รายงานว่า ในช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ส่งผลกระทบต่อรูปแบบการดำรงชีวิตและการปฏิบัติงานในภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ภาครัฐจึงมีความจำเป็นต้องปรับตัวและปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงานและการให้บริการประชาชน ตลอดจนการบริหารจัดการภายในหน่วยงานให้มีความเหมาะสมและยืดหยุ่น คล่องตัวให้สอดคล้องกับฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) และตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างทันท่วงที ซึ่งสอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน “กิจกรรมปฏิรูปที่ 2 จัดโครงสร้างองค์กร และระบบงานภาครัฐให้มีความยืดหยุ่น คล่องตัว และเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์” โดยมีสำนักงาน ก.พ. เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบจัดทำรูปแบบการปฏิบัติราชการที่รองรับฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินการให้กับส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐต่อไป

สำนักงาน ก.พ. ได้ดำเนินการจัดทำแนวทางฯ พร้อมคู่มือ โดยศึกษารูปแบบและแนวปฏิบัติจากภาครัฐในต่างประเทศ และรวบรวมความคิดเห็นประชาชนและข้าราชการพลเรือนสามัญต่อการปฏิบัติงานภาครัฐในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมทั้งการถอดบทเรียนการบริหารงานบุคคลของส่วนราชการในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เพื่อให้แนวทางฯ มีเนื้อหาสาระที่ครอบคลุม สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหน่วยงานสามารถนำไปปรับใช้ได้กับทั้งสถานการณ์ในภาวะปกติและไม่ปกติ เช่น การแพร่ระบาดของโรคภัยไข้เจ็บหรือภัยพิบัติทางธรรมชาติ รวมทั้งส่งเสริมการยกระดับความสามารถหน่วยงานของรัฐและขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่ของรัฐ สู่การปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Government Digital Transformation)

ทั้งนี้ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ในการประชุมครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2565 พิจารณาแล้วเห็นชอบและให้ปรับปรุงเพิ่มเติมในบางส่วนให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นแล้วเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ซึ่งสำนักงาน ก.พ. ได้ปรับเพิ่มเติมแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

แนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่

นิยาม
การปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่ หมายถึง การปฏิบัติราชการรูปแบบใหม่ของภาครัฐที่มีความยืดหยุ่น คล่องตัว มีประสิทธิภาพ โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลในการปรับรูปแบบวิธีการทำงานและรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อความเป็นเลิศในการปฏิบัติราชการและการให้บริการประชาชน รวมทั้งเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ปฏิบัติงาน นอกจากนี้ ยังหมายรวมถึงการปฏิบัติราชการภายใต้สถานการณ์ภาวะไม่ปกติที่ส่งผลให้หน่วยงานของรัฐต้องปรับรูปแบบการปฏิบัติราชการให้เกิดความคล่องตัวและสามารถปรับตัวได้ทันต่อเหตุการณ์อีกด้วย

หลักการ
     • ให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐปรับตัวได้อย่างสอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างคล่องตัวและทันการณ์ โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ของงานภาครัฐ ตลอดจนประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการรับบริการเป็นสำคัญ
     • ต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการปรับรูปแบบการบริหารส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐในภาพรวมในทุกมิติ เช่น ระบบและขั้นตอนการทำงานและการให้บริการประชาชน การบริหารทรัพยากรบุคคล และการปรับปรุงด้านเทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน
     • เปิดโอกาสให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ สามารถส่งเสริมให้เกิดการปรับวิธีคิดและกรอบความคิด (Mindset) ของผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ เพื่อให้พร้อมปรับตัวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตลอดจนให้มีความพร้อมที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอดเวลาเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป
     • เปิดโอกาสให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐสามารถพิจารณากำหนดรูปแบบวิธีการปฏิบัติราชการให้สอดคล้องกับภารกิจและลักษณะงาน เพื่อให้สามารถปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังคำนึงถึงคุณภาพชีวิตในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานและวิถีการดำเนินชีวิตเพื่อการสร้างสมดุลที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน

วัตถุประสงค์
     • เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ของงานภาครัฐ มีการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ ให้สะดวก รวดเร็ว โดยลดข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ในการให้บริการประชาชน ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้สะดวก รวดเร็ว ลดความแออัด ตลอดจนออกแบบและปรับปรุงการบริการภาครัฐรูปแบบใหม่ที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
     • เพื่อให้การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐเกิดความยึดหยุ่นและคล่องตัวสอดคล้องกับสถานการณ์การทำงานวิถีใหม่หรือกรณีสถานการณ์ไม่ปกติ ฉุกเฉิน หรือเหตุวิกฤติอื่น ๆโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสนับสนุนการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นการสร้างคุณภาพชีวิตและการทำงานตลอดจนส่งเสริมแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ

แนวทางดำเนินการ
     • การปรับรูปแบบและขั้นตอนวิธีการทำงานและรูปแบบการให้บริการประชาชน :ยกระดับมาตรฐานการทำงานภายในให้สอดคล้องกับสถานการณ์และความคาดหวังของผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ลดขั้นตอนและกระบวนงานที่ไม่จำเป็น ปรับปรุงรูปแบบการให้บริการประชาชนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลทดแทนการใช้กำลังคนปกติให้บริการประชาชนได้ตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถติดต่อราชการได้ทุกวัน
     • การพิจารณาลักษณะงานและภารกิจ: ปรับรูปแบบการทำงานที่เหมาะสมสามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนผู้รับบริการและสอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงาน และต้องไม่ให้กระทบต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยอาจพิจารณาจากภารกิจของหน่วยงาน เช่น ภารกิจการให้บริการหรืออำนวยความสะดวกประชาชน หรือพิจารณาจากชื่อตำแหน่งงาน เช่น ตำแหน่งงานที่ต้องติดต่อกับประชาชน และตำแหน่งงานที่ต้องปฏิบัติงานในพื้นที่เฉพาะ
     • การนำเทคโนโลยีมาใช้สนับสนุนการปฏิบัติงาน : ปรับเปลี่ยนงานภาครัฐที่สำคัญให้เป็นรูปแบบดิจิทัลแบบเบ็ดเสร็จ (End-to-End Digital Services) เพื่อให้ประชาชนและผู้รับบริการสามารถดำเนินการผ่านแพลตฟอร์มกลางของงานบริการภาครัฐ เช่น ระบบการให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จทางอิเล็กทรอนิกส์ (Biz Portal) ระบบพอร์ทัลกลางเพื่อประชาชน (Citizen Portal) พัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการให้บริการและการปฏิบัติงาน รวมถึงอาจนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้สนับสนุนการปฏิบัติงานภายในหน่วยงานให้สามารถดำเนินการได้โดยไม่ติดขัด และสามารถติดตามขั้นตอนการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ระบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการสื่อสารและการประชุมอิเล็กทรอนิกส์ และระบบความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล
     • การบริหารจัดการภายในหน่วยงาน : ปรับรูปแบบและวิธีการในการปฏิบัติงานที่แตกต่างจากเดิม เพื่อให้การบริหารจัดการภายในหน่วยงานสอดคล้องกับฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ทั้งด้านการบริหารแผนงาน การบริหารงบประมาณเพื่อจัดเตรียมความพร้อมทั้งด้านอุปกรณ์และระบบโครงสร้างพื้นฐาน และด้านการบริหารงานบุคคลให้มีการมอบหมายงาน ตรวจสอบ กำกับติดตามงานและบริหารผลการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถมอบหมายและติดตามงานได้โดยไม่จำกัดรูปแบบและสถานที่ในการปฏิบัติงาน พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมความผูกพันในองค์กร และมีการรักษาวินัยและเสริมสร้างจริยธรรมที่เหมาะสมตลอดจนรักษาภาพลักษณ์ที่ดีของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีความเสียสละและมีอุดมการณ์ ตลอดจนมุ่งสร้างความเชื่อมั่นที่ประชาชนมีต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ว่าจะปฏิบัติงานในที่ตั้งหรือนอกที่ตั้งก็ตาม

รูปแบบการปฏิบัติงาน
     • รูปแบบที่ 1 การปฏิบัติงานในที่ตั้ง โดยการเหลื่อมเวลาทำงาน เช่น กำหนดช่วงเวลาการเข้างาน-เลิกงาน 4 ช่วงเวลาตามที่หน่วยงานกำหนด แบ่งเป็น 07.30-15.30 น. 08.00-16.00 น. 08.30-16.30 น. และ 09.30-17.30 น.
     • รูปแบบที่ 2  การปฏิบัติงานในที่ตั้ง โดยการนับชั่วโมงทำงาน เช่น กำหนดให้สามารถ เลือกเวลาเข้างานได้ตามความเหมาะสมกับรูปแบบการดำรงชีวิต โดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงาน อาจแบ่งเป็นวันจันทร์-อังคาร 09.30-15.30 น. (12 ชั่วโมง)  วันพุธ-พฤหัสบดี 08.30-18.30 (20 ชั่วโมง) และวันศุกร์ 08.30-16.30 น. (8 ชั่วโมง) ทั้งนี้ เมื่อนับเวลาปฏิบัติงานรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
     • รูปแบบที่ 3 การปฏิบัติงานนอกที่ตั้ง โดยกำหนดให้สอดคล้องกับ (ร่าง) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติงานนอกที่ตั้งของส่วนราชการ พ.ศ. ….(คณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาแล้วเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2565 โดยยังคงหลักการของร่างระเบียบฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2565)


ทั้งนี้ การกำหนดรูปแบบการปฏิบัติงาน อ้างอิงจากประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2502 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้กำหนดเวลาและวันหยุดราชการไว้ ดังนี้
     • เวลาทำงานเริ่มตั้งแต่ 08.30–16.30 น. หยุดกลางวัน 12.00–13.00 น. (รวมระยะเวลาทำงาน 8 ชั่วโมง)
     • วันหยุดราชการประจำสัปดาห์ คือ วันเสาร์และอาทิตย์ (หยุดราชการเต็ม 2 วัน)
     • หากส่วนราชการใดจะกำหนดวันและเวลาทำงานเพื่อความสะดวกสามารถทำได้ แต่เมื่อคำนวณเวลาทำงานรวมกันใน 1 สัปดาห์แล้ว ไม่น้อยกว่าจำนวนรวมเวลาราชการข้างต้น

การดำเนินการ ของหน่วยงาน
     • ให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐพิจารณาเหตุผลความจำเป็นในการดำเนินการภารกิจและลักษณะงานของหน่วยงานในภาพรวม รูปแบบ ขั้นตอนวิธีการทำงานและรูปแบบการให้บริการประชาชน และเทคโนโลยีที่ใช้สนับสนุนการปฏิบัติงาน
     • ผู้บริหารหน่วยงานพิจารณามอบนโยบายหรือมีข้อสั่งการในการปฏิบัติงานตามรูปแบบการปฏิบัติงานที่กำหนด โดยเมื่อพิจารณาแล้วควรแจ้งให้ผู้ปฏิบัติงานทราบและถือปฏิบัติ ซึ่งอาจกระทำได้หลายวิธี เช่น การออกคำสั่งหรือประกาศ การจัดทำบันทึกข้อความแจ้งเวียนภายในหน่วยงาน การแจ้งให้ผู้ปฏิบัติงานทราบผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อสร้างความเข้าใจกับบุคลากรภายในหน่วยงาน และพึงต้องติดตามและประเมินผลการดำเนินการเพื่อทบทวนการดำเนินการว่าส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพและคุณภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงานอย่างไร และพิจารณาปรับปรุงรายละเอียดต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสมต่อไป

นอกจากนี้ สำนักงาน ก.พ. ได้จัดทำคู่มือแนวทางการปฏิบัติราชการดังกล่าว โดยมีคำอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยมีการยกตัวอย่างรูปแบบและวิธีการ รวมทั้งการกำหนดบทบาทของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และการถอดบทเรียนจากส่วนราชการ เพื่อให้หน่วยงานสามารถพิจารณานำไปปรับใช้ได้ตามความจำเป็นเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ต่อไป.

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: ศธ.360 องศา 
 
  • 27 ก.ย. 2565 เวลา 10:02 น.
  • 1,989

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^