LASTEST NEWS

28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครราชสีมา เขต 6 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 6 28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.พิจิตร เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 7 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 27 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3 28 มี.ค. 2567สพม.บึงกาฬ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.หนองคาย เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 21 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

โพล"องค์กรครู"กว่า 90 % หนุน"รมว.ศธ."ทบทวนแต่ง"เครื่องแบบลูกเสือ"

  • 09 มิ.ย. 2565 เวลา 16:22 น.
  • 1,349
โพล"องค์กรครู"กว่า 90 % หนุน"รมว.ศธ."ทบทวนแต่ง"เครื่องแบบลูกเสือ"

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

โพล"องค์กรครู"กว่า 90 % หนุน"รมว.ศธ."ทบทวนแต่ง"เครื่องแบบลูกเสือ"

"องค์กรครู"ชูผลโพลกว่า 90% หนุ่น"รมว.ศธ."ทบทวนแต่ง"เครื่องแบบลูกเสือ"ให้คงไว้เพียงสัญลักษณ์ ผ้าผูกคอ และ หมวก เหตุราคาแพง ปัจจุบันเหลือแค่พิธีกรรมเด็กเข้าไม่ถึงคำว่าวินัย

เปิดภาคเรียนที่ 1/2565 ไม่ถึงเดือนเกิดกระแสสังคมในมุมลบจากผู้ปกครองว่า “เครื่องแบบลูกเสือ” กลายเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่แพงในสภาวะค่าครองชีพสูงขอให้กระทรวงศึกษาธิการ ยุค น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ สั่งทบทวนในเรื่องนี้ด้วย ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้จากครูผ่าน “องค์กรครู” อย่างน่าสนใจยิ่ง
 

โดยเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2565 นายไกรทอง กล้าแข็ง ประธานชมรมครูสังกัดกรุงเทพมหานครออนไลน์ ในฐานะตัวแทน “องค์กรครู” ให้สัมภาษณ์ “คมชัดลึก” ถึงกระแสสังคมไทยต่อการเรียนวิชาลูกเสือ และการแต่งเครื่องแบบลูกเสือ ว่าติดตามความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้มาตลอด พบว่ามีการเคลื่อนไหวในแนวต่อต้านการแต่งเครื่องแบบลูกเสือมาต่อเนื่องยาวนานประมาณ 4-5 ปี มีความชัดเจขนมากขึ้น

“การแต่งเครื่องแบบลูกเสือในยุคปัจจุบัน จากที่สัมผัสกับเด็กนักเรียน ครู ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร และนักเรียนและครูในโรงเรียนต่างจังหวัด ส่วนมากพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า การแต่งเครื่องแบบลูกเสือต้องใช้เงินจำนวนมาก อีกทั้งทุกวันพฤหัสบดีที่เรียนวิชาลูกเสือต้องตื่นเช้ามากทั้งครูและนักเรียน เมื่อสะสมนานปีเกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเรียนรู้วิชาลูกเสือ”

 

เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ที่ผ่านมา ชมรมครูสังกัดกรุงเทพมหานครออนไลน์ในฐานะ “องค์กรครู” ได้ดำเนินการสำรวจในกลุ่มเฟซบุ๊กชมรมครูสังกัดกรุงเทพมหานครออนไลน์ และแชร์เข้าไปในกลุ่มเฟซบุ๊กชมรมครูภูธรแห่งประเทศไทย โดยมีประเด็นคำถามว่า “ตามข้อสะท้อนที่มีมาหลายครั้งในสื่อโซเชียล และล่าสุด มีกระแสเรียกร้องให้เปลี่ยนเครื่องแบบลูกเสือ ขอแค่มีผ้าผูกคอกับหมวก ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร?” ซึ่งแสดงผลของระดับความคิดเห็น ดังนี้

 

เห็นด้วยมากที่สุด จำนวน 409 ราย คิดเป็น 90.69 เปอร์เซ็นต์

เห็นด้วยมาก จำนวน 14 ราย คิดเป็น 3.10 เปอร์เซ็นต์

เห็นด้วยปานกลาง จำนวน 4 ราย คิดเป็น 0.89 เปอร์เซ็นต์

เห็นด้วยน้อย จำนวน 14 ราย คิดเป็น 3.10 เปอร์เซ็นต์

เห็นด้วยน้อยที่สุด จำนวน 10 ราย คิดเป็น 2.22 เปอร์เซ็นต์

“องค์กรครู” แจกแจงอีกว่า จากข้อมูลผลสำรวจข้างต้น สามารถนำมาประกอบการกำหนดนโยบายด้านการจัดการศึกษาให้ประสบผลสำเร็จได้ จึงเรียนมาเพื่อนำเสนอข้อมูลความคิดเห็น เพื่อประกอบการตัดสินใจกำหนดนโยบายด้านการศึกษาของชาติต่อไป และตนจะนำเรียนข้อมูลความคิดเห็นที่มีต่อ "เครื่องแบบลูกเสือ" ดังกล่าวต่อน.ส.ตรีนุช เทียนทองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในวันพรุ่งนี้ เพื่อขอให้ทบทวนการ “แต่งเครื่องแบบลูกเสือ” เวลาเรียนวิชาลูกเสือ ให้มีความความสะดวกรวดเร็วคล่องตัวเพียงผูกผ้าพันคอ หรือ หมวก เท่านั้น

“เครื่องแบบลูกเสือค่อนข้างราคาแพงในยุคหลังโควิด-19 ผู้ปกครองเดือดร้อนมาก อีกทั้งการเรียนวิชาลูกเสือที่เริ่มสอนกันตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา ส่วนมากเป็นเพียงพิธีกรรม เด็กยังไม่เข้าถึงการปลูกฝังเรื่องวินัย อีกทั้งเวลาเข้าค่ายลูกเสือครูส่วนมากปฏิเสธ บางโรงเรียนถึงขั้นต้องจับสลากว่าครูคนไหนต้องไปเข้าค่ายลูกเสือ กลายเป็นการบังคับ ทั้งที่ควรจะเป็นการสมัครใจหรือสร้างสรรค์ เรื่องนี้ฝากถึงศธ.ปรับปรุงรูปแบบให้นักเรียนและครูสนใจเพราะรร.กทม.ยึดตามศธ.ในทุกๆ เรื่อง”

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก วันที่ 7 มิถุนายน 2565 เวลา 19.14 น.

 
  • 09 มิ.ย. 2565 เวลา 16:22 น.
  • 1,349

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^