LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567อ.ก.ค.ศ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 62 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพม.นครราชสีมา รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 27 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 32 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 25 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 19 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

อ.อรรพล เสนอศธ. เลื่อนเปิดเทอม2 ออกไป 1 เดือน เหตุ นร. ครู และผปค. ต่างก็เหนื่อยล้ากันมาก

  • 07 ก.ย. 2564 เวลา 16:39 น.
  • 12,467
อ.อรรพล เสนอศธ. เลื่อนเปิดเทอม2 ออกไป 1 เดือน เหตุ นร. ครู และผปค. ต่างก็เหนื่อยล้ากันมาก

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

QUOTE: “ขอเสนอให้เลื่อนเปิดเทอมภาคเรียนที่สองออกไป 1 เดือน เพราะนักเรียน ครู และผู้ปกครอง ต่างก็เหนื่อยล้ากันมาก การจัดการศึกษาไม่ควรสร้างความทุกข์รวมหมู่ให้กับผู้คนหลายสิบล้านคน เช่นที่เป็นอยู่ทุกวันนี้”
.
เด็กจำนวนมากเรียนออนไลน์ไม่ไหวแล้ว ครูเองก็เหนื่อยล้า ผู้ปกครองก็แบกรับภาระไม่ไหว นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้นมานานตลอดช่วงที่ COVID-19 ระบาด ทำให้หลายคนพยายามส่งเสียงเรียกร้องให้ภาครัฐเร่งแก้ปัญหานี้เสียที ก่อนที่จะมีเด็กหลุดจากระบบการศึกษาไปมากกว่าที่เป็นอยู่
.
ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เสนอสิ่งที่กระทรวงศึกษาธิการและผู้บริหารระดับโรงเรียนและเขตพื้นที่ต้องทำ ดังนี้
.
1. จัดหาวัคซีนที่มีคุณภาพให้มีจำนวนเพียงพอกับเด็กและเยาวชนในพื้นที่เสี่ยง พร้อมระดมฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึง ครอบคลุม และเร็วที่สุด
.
2. ต้องปลดล็อกให้โรงเรียนได้ทบทวนและออกแบบการใช้หลักสูตรระดับโรงเรียนใหม่ รวมถึงการประเมินผล การมอบหมายงาน และการปรับรูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับการเรียนออนไลน์
.
3. จัดตารางเรียนใหม่ เหลือวันละ 3-4 วิชา โดยในระดับประถม ต้องลดเวลาที่เด็กอยู่หน้าจอให้เหลือแค่วิชาหลัก นอกนั้นให้บูรณาการเป็นงานที่เด็กทำได้เองที่บ้าน ส่วนระดับมัธยมต้องปรับการเรียนผสมผสาน ให้เรียนด้วยตัวเองผสมกับการมีปฏิสัมพันธ์สดและมีแพลตฟอร์มไว้แลกเปลี่ยนเหลื่อมเวลาได้
.
4. ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ก่อนปิดเทอม ควรลดและงดการสอบที่ไม่จำเป็น ปรับสัดส่วนคะแนนไปที่งานที่มอบหมายไว้แล้ว ไม่สั่งงานเพิ่ม
.
5. เทอมปลาย ควรออกแบบหลักสูตรและกระบวนการใช้หลักสูตรใหม่หมด โดยอาจารย์เน้นย้ำว่า ขอเสนอให้เลื่อนเปิดเทอมภาคปลายออกไป 1 เดือนในทุกระดับชั้น ยกเว้นชั้น ม.6 ในกรณีที่ ทปอ.ยังไม่เลื่อนระบบ TCAS และตารางสอบ
.
“จริงๆ อยากให้นับ ม.6 ด้วย แต่ ม.6 มันเกี่ยวเนื่องกับตารางการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ถ้า ทปอ.ยังดื้อเหมือนปีที่แล้ว หรือยังคุยกับกระทรวงไม่รู้เรื่อง ทปอ.จะกระต่ายขาเดียวยืนยันว่าจะสอบเวลาเดิม ยื่นเวลาเดิม พอมหาวิทยาลัยไม่ยอมปรับเวลาเปิดเทอม มันก็คงทำให้เด็ก ม.6 ต้องไปต่อทั้งอย่างนี้”
.
อ.อรรพล กล่าวกับ The MATTER ว่า ในช่วงเวลา 1 เดือนที่เลื่อนเปิดเทอม จะเป็นเวลาให้ครูได้มานั่งคุยกันว่า ใน 4 เดือนที่เหลือของเทอมปลาย จะจัดการเรียนการสอนกันอย่างไร เช่น ใน 1 วันอาจจะเรียนแค่ 4 วิชา เรียนนานขึ้นเป็นวิชาละ 100 นาที ประกอบกับคลิปสอนที่ให้เด็กดู แล้วค่อยเข้ามาตอบคำถามครู เป็นต้น
.
สาเหตุที่ต้องเลื่อนเปิดเทอมนั้น อ.อรรพลให้เหตุผลว่า ทั้งเด็ก ครู ผู้ปกครอง ต่างก็เหนื่อยล้ากับการเรียนออนไลน์อย่างมาก ครูหลายคนแทบไม่ได้หยุดกันจริงจังเลย ดังนั้น ช่วงเลื่อนเปิดเทอมนี้ ควรให้ครูได้ประชุมกันทั้งในกลุ่มสาระวิชา ระดับชั้น และโรงเรียน เพื่อทบทวนทิศทางการเรียนการสอนต่อไป
.
“แม้จะเป็นช่วงวิกฤติที่ไม่มีใครอยากให้เกิด และคาดเดาสถานการณ์ได้ยาก แต่การจัดการศึกษาไม่ควรสร้างความทุกข์รวมหมู่ให้กับผู้คนหลายสิบล้านคนเช่นที่เป็นอยู่ทุกวันนี้”
.
6. ควรให้โรงเรียนตัดสินใจเรื่องระบบสนับสนุน เงินช่วยรายหัว ซิม แพ็คเกจอินเตอร์เน็ต อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เอง ซึ่งประเด็นนี้ อาจารย์ชี้ว่าปัญหาที่ทำให้เกิดความล่าช้ามาจากระบบราชการที่มีการกำกับติดตามเข้มงวด และวัฒนธรรมที่ผู้คนถูกทำให้กลัวมานานต่อระเบียบขั้นตอน
.
“เขาไม่รู้สึกถึงความเร่งด่วนสำคัญของปัญหาว่าต้องรีบแก้ บวกกับการประเมินสถานการณ์ของ ศบค.ที่ไปทีละเดือน ทำให้เขาไม่ได้วางแผนระยะสั้น กลาง ยาวที่จะทำให้รับมือได้อย่างทันที และยังมีข้อต่อของการสื่อสารที่มีหลายชั้นมากทำให้คนที่คุมนโยบายตรงกลางไม่เห็นภาพปัญหาทั้งหมด ถ้าไม่มีอะไรรายงานขึ้นไป ประกอบกับวัฒนธรรมที่ว่า อะไรๆ ก็ดีไปหมด ของระบบราชการ มันก็มีส่วนขวางข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงด้วย”
.
7. ส่วนกลางต้องเชิญครูและคนทำงานมาร่วมทบทวนแนวปฏิบัติก่อนสั่งการ หรือมีประกาศใดๆ เพื่อให้รอบคอบ รัดกุมที่สุด ป้องกันการเกิดปัญหาว่าสั่งไป ทำไป แก้ไป วนเวียนไม่รู้จบ
.
อ.อรรถพลยังกล่าวถึงแคมเปญ #ไม่เรียนออนไลน์แล้วอิสัส ที่นักเรียนออกมาเรียกร้องปัญหาจากการเรียนออนไลน์ โดยระบุว่า กลุ่มนักเรียนควรเน้นย้ำให้สังคมรู้ว่า สังคมต้องมาอยู่เคียงข้างเด็ก ซึ่งจริงๆ ข้อเรียกร้องของเด็กกับสังคมก็เป็นเรื่องเดียวกัน นั่นคือการหาวัคซีนที่มีคุณภาพและเพียงพอกับประชากร พร้อมระดมฉีดให้ทั่วถึง เพื่อนำความปกติกลับมาสู่สังคมให้เร็วที่สุด

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: เฟซบุ๊กแฟนเพจ The MATTER วันที่ 7 กันยายน 2564
  • 07 ก.ย. 2564 เวลา 16:39 น.
  • 12,467

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^