LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพม.ขอนแก่น รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 19 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 16 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 12 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567อ.ก.ค.ศ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 901 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.กำแพงเพชร รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 9 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

เผยพบเด็กนับแสนคน ป่วยโควิด ยอดสะสม 8 เดือน มี "กำพร้า" เพิ่มมากด้วย

  • 29 ส.ค. 2564 เวลา 09:44 น.
  • 1,340
เผยพบเด็กนับแสนคน ป่วยโควิด ยอดสะสม 8 เดือน มี "กำพร้า" เพิ่มมากด้วย

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

เผยพบเด็กนับแสนคน ป่วยโควิด ยอดสะสม 8 เดือน มี "กำพร้า" เพิ่มมากด้วย

โควิดไทยยังไม่นิ่ง แม้ยอดผู้รักษาหายมากกว่า ติดเชื้อรายใหม่ต่อเนื่อง แต่ยอดตายยังกว่า 200 ศพต่อวันตลอดสัปดาห์ อายุน้อยสุดแค่ 7 เดือน ส่วน กทม.กลับมามียอดติดเชื้อพุ่งกว่า 4 พันคน สธ.เตรียมชง ศบค.ออกมาตรการคุมเข้มตลาดสด-ตลาดนัด หลังพบคนติดเชื้อเป็นกลุ่มกระจายใน 23 จังหวัด ส่วนนายกฯ กำชับเจ้าหน้าที่เข้มงวดการรวมตัว ปาร์ตี้สังสรรค์ ให้เอาผิดตามกฎหมายห้ามละเว้น ไม่งั้นเจ้าหน้าที่โดนด้วย ด้านอธิบดีกรมเด็ก เผย 8 เดือนของปีนี้เด็กติดโควิดแล้วกว่า 1 แสนคน เด็กกำพร้า ก็เพิ่ม “หมอประสิทธิ์” คาดกลาง ก.ย. ยอดติดเชื้อใหม่-ตาย อาจเป็นขาลงจาก 3 ปัจจัยหลัก ฉีดวัคซีนได้มาก-ใช้มาตรการสังคม-ส่วนบุคคล ทำให้ลดการแพร่เชื้อ หากไม่เจอคลัสเตอร์ใหญ่มาซ้ำเติม


หลังรัฐบาลโดย ศบค.ขยายเวลาล็อกดาวน์ 29 พื้นที่สีแดงเข้มไปจนถึงสิ้นเดือน ส.ค.นี้ หวังลดการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด-19) แต่ตลอดสัปดาห์ที่สามของเดือน ส.ค.ยอดผู้ป่วยโรคโควิด-19 ยังพุ่งทะลุวันละกว่าสองหมื่นคน เสียชีวิตกว่า 200 ศพทุกวัน จนยอดสะสมน่าจะทะลุหมื่นศพได้ในไม่ช้า


ตายกว่า 200 ศพต่อเนื่อง
เมื่อเวลา 12.30 น. วันที่ 22 ส.ค. ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. รายงานว่า พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 19,014 คน เป็นการติดเชื้อในประเทศ 18,808 คน มาจากเรือนจำ 196 คน มาจากต่างประเทศ 10 คน หายป่วยเพิ่ม 20,672 คน อยู่ระหว่างรักษา 200,339 คน อาการหนัก 5,239 คน ใส่ท่อช่วยหายใจ 1,117 คน มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่ม 233 คน เป็นชาย 140 คน หญิง 93 คน อยู่ใน กทม. มากสุด 71 คน มีผู้เสียชีวิตอายุน้อยสุด 7 เดือน 1 ราย อยู่ที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีผู้เสียชีวิตที่บ้านและอยู่ระหว่างการนำส่งโรงพยาบาล 4 คน อยู่ที่ กทม. 2 คน ฉะเชิงเทรา 1 คน และชุมพร 1 คน มียอดผู้ติดเชื้อสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 1,049,295 คน หายป่วยสะสม 839,639 คน ผู้เสียชีวิตสะสม 9,320 คน มียอดฉีดวัคซีนสะสม 26,832,179 โดส



กทม.ยังหนักติดเชื้อกว่า 4 พัน
สำหรับ 10 จังหวัดที่มีการติดเชื้อสูงสุด ได้แก่ กทม. 4,399 คน สมุทรสาคร 1,499 คน ชลบุรี 1,092 คน สมุทรปราการ 749 คน นนทบุรี 690 คน นครปฐม 638 คน ราชบุรี 560 คน ฉะเชิงเทรา 488 คน นครราชสีมา 484 คน สระบุรี 390 คน อย่างไรก็ตามมีข้อมูลการตรวจแบบ ATK ของวันที่ 22 ส.ค. มีผลบวก 2,039 คน จำนวนนี้ยังไม่นับรวมกับยอดผู้ติดเชื้อยืนยันรายวัน เนื่องจากต้องตรวจยืนยันด้วยวิธี RT-PCR ก่อน หากผลยืนยันเป็นบวก จึงจะนำไปรวมกับยอดผู้ติดเชื้อยืนยันรายใหม่ในภายหลัง



8 เดือนเด็กติดแสนกว่าคน
วันเดียวกัน นางสุภัชชา สุทธิพล อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พบมีเด็กติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละวัน เฉลี่ยวันละกว่า 2,000 คน มียอดเด็กติดเชื้อสะสมตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-20 ส.ค.รวมแล้ว 109,961 คน คิดเป็นร้อยละ 11.21 ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด ดย.เร่งช่วยเหลือเด็กและเยาวชน เป็นกลุ่มเปราะบาง ตลอด 24 ชั่วโมง อีกทั้งเพิ่มเจ้าหน้าที่เข้าไปดูแลเชิงรุก โดยเฉพาะในเขต กทม. เป็นพื้นที่สีแดงเข้ม ได้เสริมทีมเจ้าหน้าที่เป็นผู้จัดการรายกรณีเพื่อรองรับกับจำนวนการแจ้งเหตุ แบ่งเป็น 6 ทีมตามการแบ่งโซนเขตของ กทม. อาจมีที่ล่าช้าไปบ้างเพราะระบบมีข้อจำกัดที่ไม่เคยมีวิกฤติรุนแรงเช่นนี้มาก่อน และหลายกรณีต้องประสานส่งต่อหน่วยอื่นที่เกี่ยวข้อง เข้าใจดีถึงความรู้สึกของผู้ที่คอยรับบริการกับความ เร่งด่วนของปัญหา แต่พยายามปรับการทำงานให้ทันสถานการณ์ มีการผนึกกำลังระหว่าง ดย. กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กรมสุขภาพจิต และองค์การยูนิเซฟ ตั้งศูนย์ช่วยเหลือเด็กโควิด-19 เพื่อช่วยเหลือให้เด็กและครอบครัวได้เข้าถึงการดูแลอย่างทันกาลไม่ตกหล่น เปิดช่องทางแจ้งเหตุผ่านสายด่วน 1300 ศูนย์ช่วยเหลือสังคม หรือแอปฯ คุ้มครองเด็ก หรือที่บ้านพักเด็กและครอบครัวทุก จังหวัด หรืออาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ทั่วประเทศ และไลน์ @savekidscovid19 เพื่อส่งต่อเคสสู่ระบบการช่วยเหลือทันที


กำพร้าพุ่ง-อยุธยามากสุด
นางสุภัชชากล่าวด้วยว่า ในส่วนของเด็กกำพร้าจากผลกระทบโควิด ข้อมูลจนถึงวันที่ 20 ส.ค. มีจำนวน 210 ราย จังหวัดที่มีเด็กกำพร้ามากที่สุดคือ พระนครศรีอยุธยา 16 ราย รองลงมา กาฬสินธุ์ 15 ราย ปทุมธานีและร้อยเอ็ด 13 ราย กำแพงเพชรและสมุทร-ปราการ 10 ราย และชัยภูมิ 9 ราย ดย.ได้เร่งช่วยเหลือต่อเนื่องและครอบคลุมทุกมิติปัญหา ตั้งแต่ให้คำปรึกษา 117 ราย มอบเครื่องอุปโภคบริโภค 75 ราย มอบเงินสงเคราะห์ เงินฉุกเฉิน 66 ราย ประสานขอรับทุนและขอความช่วยเหลือหน่วยงานอื่น 52 ราย มอบเงิน ช่วยเหลือจากกองทุนคุ้มครองเด็ก 16 ราย จัดหาครอบครัวอุปถัมภ์ 3 ราย ประสานหาพ่อแม่หรือผู้ปกครอง 2 ราย รับเข้าอุปการะชั่วคราว 2 ราย ให้การ ช่วยเหลืออื่นๆ 1 ราย และอีก 49 ราย อยู่ระหว่างติดตามเยี่ยมบ้านเพื่อกำหนดแนวทางการดูแล นอก จากนี้ ดย.ได้ประสานทีมสหวิชาชีพ อาสาสมัคร และ ภาคส่วนต่างๆให้คำแนะนำปรึกษา ดูแลสภาพ จิตใจแก่เด็กและครอบครัว จัดเตรียมสถานที่รองรับเด็กกลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูงที่ต้องดูแลในระยะกักตัว 14 วัน ทุกรายมีการติดตามให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องเพื่อให้เด็กได้รับการปกป้องดูแล และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป



คาดกลาง ก.ย.ติดเชื้อ-ตายลด
ด้าน ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สถานการณ์โควิด-19 ของไทย ผู้ติดเชื้อใหม่อยู่ที่ 1.9-2 หมื่นรายต่อวัน ผู้เสียชีวิต 200 กว่าราย ตัวเลขเหล่านี้หากดูวันต่อวัน อาจมองไม่ชัด ต้องดู 7 วันแล้วเฉลี่ย จะเห็นเส้นความชันเริ่มน้อยลงกว่าเดิม ใกล้เข้าสู่ระนาบเส้นตรง เมื่อถึงจุดหนึ่งกราฟจะเริ่มกดหัวเป็นขาลง สิ่งที่ทำให้กราฟลดลงเกิดจาก 3 ปัจจัย คือ 1.การฉีดวัคซีน เมื่อฉีดถึงร้อยละ 40-50 จะ เริ่มเห็นตัวเลขปรับลง ขณะนี้ไทยฉีดไปประมาณร้อยละ 28 ของจำนวนประชากร ถือว่าทำได้ดีเป้าหมายที่คุยไว้จะให้ได้ 15-18 ล้านโดสต่อเดือน มีโอกาสค่อนข้างแน่นอนว่าเดือนหนึ่งจะมีวัคซีนเข้ามา 10 กว่าล้านโดส จะมีวัคซีนไฟเซอร์เข้ามาเติมเต็มเร็วกกว่ากำหนดเดือน ต.ค. เป้าหมายที่จะฉีดให้ถึง 15 ล้านโดส หากเกิดขึ้นได้จริงจะเป็นปัจจัยเชิงบวกที่ทำให้กราฟกดหัวลงเร็วขึ้น แต่ต้องควบคู่กับระบบบริหารจัดการ รวมถึงประชาชนต้องเข้ามารับวัคซีน 2.มาตรการสังคม การปกครอง และ 3.มาตรการบุคคล ก็เป็นส่วนสำคัญในการลดการแพร่เชื้อ หากไม่มีระบาดคลัสเตอร์ใหญ่ขึ้นมา ส่วนตัวเชื่อว่ากลางเดือน ก.ย. น่าจะเห็นตัวเลขขาลงทั้งอัตราติดเชื้อและเสียชีวิต


ขอบคุณเนื้้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับพิมพ์ วันที่ 23 สิงหาคม 2564 เวลา 05:29 น.
  • 29 ส.ค. 2564 เวลา 09:44 น.
  • 1,340

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^