LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เชียงใหม่ เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครสวรรค์ เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครสวรรค์ เขต 1

ปีกว่าๆของ “ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ”กับการศึกษาไทย

  • 01 มี.ค. 2564 เวลา 19:38 น.
  • 2,671
ปีกว่าๆของ “ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ”กับการศึกษาไทย

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ปีกว่าๆของ “ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ”กับการศึกษาไทย

1มี.ค.64-เป็นที่จับตาว่าใครจะมาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)แทนนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ  ที่ขาดคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรี เนื่องจาก ถูกศาลสั่งจำคุก7ปี 16เดือน ในฐานะเป็นอดีตแกนนำม็อบ กปปส.   และหลังจากนี้ทิศทางการพัฒนาการศึกษาจะไปทางไหน รมว.ศธ.คนใหม่ จะมีกลยุทธิ์ มีไอเดียในการปฏิรูปและพัฒนาการศึกษาอย่างไร


วันนี้มาลองย้อน ผลงานปีกว่าๆที่นายณัฏฐพล หรือ"ครูตั้น"ดำรงตำแหน่งรมว.ศธ. เขามีผลงานอะไรในการเดินหน้าปฏิรูปการศึกษา ที่เป็นความหวังของวันนี้และอนาคตของคนทั้งประเทศ

 ต้องยอมรับว่าการปฏิรูปการศึกษาของไทยจนมีพ.ร.บ.การศึกษาชาติ 2542  เป็นความล้มเหลวที่ไม่ได้ทำให้การศึกษาไทยเดินหน้า แต่ยังสร้างปัญหาต่างๆตามมามากมาย ดังนั้น การปฏิรูปการศึกษาในช่วงหลังคสช.เข้ามา โดยมีนพ.จรัส สุวรรณเวลา เป็นหัวหน้าทีมร่างแผนการปฏิรูป ซึ่งหมอจรัสย้ำเสมอว่า ถ้าการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้ไม่สำเร็จประเทศไทยจะล้าหลังไปหลายสิบปี ไม่สามารถแข่งขันกับชาติอื่นได้ จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายมากสำหรับผู้มารับไม้ต่อจากคณะกรรมการร่างแผนปฏิรูปการศึกษา มาดำเนินการให้แผนปฏิรูปเป็นรูปธรรม ซึ่ง"ครูตั้น"เข้ามาในจังหวะนี้พอดี 
ปัญหาการศึกษาไทย เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมายาวนาน ถูกสะสมพอกพูน  และไม่ว่าประเทศจะเกิดปัญหาอะไรขึ้นก็ตาม  จะเป็นเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ หรือสังคม คนก็จะรุมชี้มาที่"การศึกษา"ว่าเป็นต้นตอของปัญหาทั้งมวล  ทำให้ในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 จัดอันดับความสำคัญ"ปฏิรูปการศึกษา"ว่าเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรกๆที่รัฐจะต้องบริหารจัดการให้บรรลุเป้า  

สาเหตุส่วนหนึ่งที่การศึกษาไทยล้าหลัง มาจากในอดีตนักการเมืองที่เข้ามากินตำแหน่งเป็นรัฐมนตรี ไม่ใช่คนที่ตรงกับภาษิต "Put the right man on the right job "เพราะกระทรวงนี้ไม่ใช่กระทรวงเกรดเอ ไม่ค่อยมีนักการเมืองคนไหนอยากเข้ามานั่ง  งานที่มองเผินๆเหมือนง่าย แต่ลึกๆเป็นงานหินงานยาก  ส่วนใหญ่จึงบริหารแบบ"ทางใครทางมัน  "ไม่ได้อิงกับหลักการอันใด ทั้งที่ปัญหาการศึกษาไทยจำเป็นต้องรื้อขุดคุ้ยไปถึงรากถึงโคน ต้องให้ยากำจัดเชื้อโรคที่กัดกิน หลังจากนั้นจึงค่อยทำการฟื้นฟูบำรุง ซึ่งทั้งหมดต้องกินระยะเวลายาวนาน  

 
1ปี 7เดือน ที่"ครูตั้น" เข้ามาเป็นรมว.ศธ. ในการไปพูดบรรยาย หรือปาฐกถาในที่ต่างๆ "ณัฏฐพล"มักจะพูดเสมอว่าไทยจำเป็นต้องยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างรีบด่วน เพราะเป็นเรื่องที่ประเทศไทย "รอไม่ได้" โดยเฉพาะแผนการพัฒนาการศึกษายกกำลังสอง  จะทำให้ประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด  ไม่ตกยุคล้าหลังโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว


การศึกษายกกำลังสองนั้นคือ การจัดตั้ง ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเพื่อความเป็นเลิศ หรือ HCEC ทำหน้าที่พัฒนาทุนมนุษย์ของประเทศ เพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรม และธุรกิจ รวมทั้งการสร้างแพลตฟอร์มด้านการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ หรือ DEEP ทำหน้าที่เป็นหน่วยบริหารจัดการองค์ความรู้ของประเทศ ตอบโจทย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต  ซึ่งเป็นทิศทางของการเรียนรู้ของโลกในศตวรรษที่  21  เป็นต้นแบบการพัฒนาศักยภาพบุคคล EIDP  ที่สามารถแสวงหาความสำเร็จในชีวิตได้แบบไม่มีข้อจำกัด ขอบเชต เรื่่องของอายุ หรือวุฒิการศึกษาดั้งเดิม


ยิ่งมีสถานการณ์การระบาดโควิด 19 เกิดขึ้นซึ่งส่งผลกระทบเศรษฐกิจทั้งประเทศ รายได้หลักของไทยที่ผูกกับการท่องเที่ยวหดหายไปกับตานับล้านล้านบาท  แต่ดูเหมือนว่าจะทำให้"ครูตั้น"เห็นอะไรบางอย่างที่เชื่อมโยงระหว่างการศึกษากับเศรษฐกิจ จากการลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เมืองท่องเที่ยวอันดับหนึ่งของไทย ทำให้เกิดนโยบาบาย"แผนการศึกษาจังหวัด"   โดยวางคอนเซ็ปต์ให้การศึกษาเป็นตัวผลักสร้างกำลังทางเศรษฐกิจให้กับจังหวัด ซึ่งแต่ละจังหวัดล้วนมีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ในแผนการศึกษาจังหวัด ยังทำให้เกิดแนวคิด สร้าง"โรงเรียนดีในชุมชน และโรงเรียนดีสี่มุมเมือง " ซึ่งเป็นการยกระดับคุณภาพโรงเรียนในพื้นที่
 
Advertisement

ตามแผนการศึกษาจังหวัด นั้นก็คือ การนำการพัฒนาศึกษาไปเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจ  การให้แต่ละจังหวัดกำหนดแผนการศึกษาของตัวเเอง  เหมือนการตัดเสื้อใส่ของใครของมัน ไม่ใช่การทำตามแผนจากส่วนกลาง หรือเป็น"นโยบายเหมาเข่ง"เหมือนกันทุกจังหวัด เหมือนที่ผ่านมา เพราะมองว่าแต่ละจังหวัด มีปัจจัยเกื้อหนุน และบริบททางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน อย่าง จ.ภูเก็ต ที่เป็นเมืองท่องเที่ยวชั้นนำ ต้องการบุคลากรที่มีทักษะเชี่ยวชาญด้านภาษา  เพื่อใช้ทำงานธุรกิจภาคบริการ  แต่ปรากฎว่า การเรียนของเด็กภูเก็ต ไม่แตกต่างจากนักเรียนจังหวัดร้อยเอ็ด  ทั้งที่ บริบททางเศรษฐกิจทั้งสองจังหวัดแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง   เป็นต้น

 
นายณัฏฐพล ได้บอกเล่าความคืบหน้าแผนการยกระดับการศึกษาจังหวัด ที่เหมือนจะเป็นการให้ข่าวครั้งสุดท้ายว่า แผนดังกล่าวเริ่มทยอยส่งเข้ามาให้เขาพิจารณาแล้ว ซึ่งคาดไม่เกินเดือนครึ่งจะเห็นภาพของจังหวัดที่มีโรงเรียนดีของชุมชน และโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง พร้อมกับวางแผนการจัดสรรงบประมาณ ซึ่งเตรียมจะเสนอแผนนี้ ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาภายในเดือนเมษายนนี้ได้แน่นอน  


"ผมต้องการให้ ครม.เห็นภาพแนวทางการปฏิรูปการศึกษาที่แท้จริงด้วยการเชื่อมต่อการศึกษาขั้นพื้นฐานไปสู่การเรียนอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา เพื่อให้ ครม.เห็นภาพและแนะนำแนวทางที่เหมาะสมได้ เพราะการพัฒนาครั้งนี้จะไปเชื่อมต่อกับการพัฒนาระดับจังหวัดของธุรกิจและกระทรวงต่างๆ ด้วย”  

เรื่องวิทยฐานะของครู เป็นเรื่องที่พูดกันมานานว่าการได้มาซึ่งวิทยฐานะของครู เหมือนแจกโบนัส   ไม่ได้มาจากคุณสมบัติดีเด่นที่แท้จริง ยิ่งครูที่ได้ตำแหน่งผู้บริหาร มีการพูดกันมากว่า หลายคนมีคุณสมบัติไม่ถึง ขาดความเป็นผู้นำและจิตวิญญาณความเป็นครู และยึดเรื่องความก้าวหน้าในตำแหน่งในอาชีพการงานของตัวเองมากกว่าเนื้องานที่จะพัฒนานักเรียนและโรงเรียนให้มีคุณภาพ และการที่ผู้นำแต่ละโรงเรียนมีคุณสมบัติแหว่งๆวิ่นๆนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การศึกษาไทยขาดคุณภาพ  ซึ่งเป็นที่มาที่ทำให้เกิดการปรับปรุงหลักเกณฑ์การได้วิทยฐานะ และการเข้าสู่ตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียน  ซึ่งเกณฑ์ใหม่นี้ ถือว่า"เข้ม" คนที่จะมาเป็นผู้บริหารโรงเรียนอย่างน้อยต้องผ่านการประเมินด้านต่างๆ เพื่อพิสูจน์ตัวเองว่าเป็น"ของแท้" โดยต้องได้คะแนนเฉลี่ย 70%ขึ้นไป คะแนนที่ได้ไม่ได้มาจากการอ่านหนังสือสอบอย่างเดียว แต่ดูผลลัพธ์ด้านอื่นๆ โดยเฉพาะผลการเรียนสุทธิของเด็ก  และยังมีการประเมินเพื่อทบทวนความสามารถเป็นระยะๆ  เกณฑ์การประเมินใหม่นี้จึงถือยากที่สุดเท่าที่เคยมีมา  และแม้ว่าการคิดเริ่องปรับปรุงเกณฑ์ประเมินนี้  จะมีการเริ่มสมัย นพ.ทวีเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศธ.คนก่อน แต่เกณฑ์ถูกปรับให้เข้มขึ้นในยุค"นายณัฏฐพล" โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่  1 ต.ค.ปีนี้  


ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง "ณัฏฐพล" ยังต้องเผชิญกับม็อบนักเรียน ที่เดี๋ยวก็มาๆ ก่อม็อบหน้า กระทรวงศึกษาฯ กดดันเรียกร้องเป็นระยะๆ บางเรื่องเป็นเรื่องจริงอย่างเรื่องทรงผมนักเรียน ที่มักเกิดประเด็นดรามา ระหว่างครูกับนักเรียนเนืองๆ เนื่องจากความไม่ชัดเจนเรื่องแนวปฎิบัติ ก็มีการหยิบยกมาทำให้ชัดเจนเป็นที่เข้าใจตรงกันมากยิ่งขึ้น   ปัญหาความรุนแรงในโรงเรียน ปัญหานักเรียนถูกล่วงละเมิดทางเพศก็ถูกนำเน้นย้ำการแก้ปัญหา  มีการตั้งศูนย์คุ้มครองช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษาที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ (ศคพ.) รับเรื่องร้องเรียนต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียน แต่ม็อบนักเรียน มักไม่ฟัง ยังหาประเด็นใหม่ๆ มาประท้วง แม้กระทั่งปัญหาการใส่ชุดนักเรียน ก็ถูกนำมาเป็นหัวข้อ ตีรวนต่อต้าน  และเรียกร้องให้นายณัฏฐพล ลาออก

 
ยังมี เรื่องการยกเลิกการทดสอบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต ระดับ ป.6 และม.3 เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ที่อาจจะทำให้ประสิทธิภาพในการเรียนของเด็กไม่เท่ากัน จึงยกเลิกการสอบโอเน็ต ในปีการศึกษา 2563  และสั่งการให้นายสุภัทร จำปาทอง ปลัด ศธ.ศึกษาแนวทางการวัดและประเมินผลนักเรียนที่จะใช้ในการวัดประสิทธิภาพได้จริงด้วย นับว่าเป็นนโยบายที่นักเรียนหลายคนพอใจ เพราะลดแรงกดดันเรื่องการสอบ ที่มีมากมายหลายสนาม
 
Advertisement

ปัญหาองค์กรภายใต้สังกัดกระทรวงศึกษาฯ ที่มีการทุจริตฟอนเฟะ ที่น่าตกตะลึงก็คือ การทุจริตมโหฬาร ของ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ( สกสค.) เกิดความเสียหายหลายพันล้าน ซึ่งตอนนี้ก็ยังจับมือใครดมไม่ได้ และประเด็นนี้ได้กลายมาเป็นดรามาในการอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านในสภา  ยังมีการผ่าตัดตัดใหญ่ ปลดพนักองค์การค้าสกสค.กว่า 900 คน  เพื่อต่อชีวิตของค์การค้า ฯ ไม่ให้ล้มหายตายจาก ทั้งที่ปัญหาขาดทุนเกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้ยาวนานแล้ว แต่ปัญหาถูกทิ้งไว้ ขาดการตัดสินใจที่จะจัดการเบ็ดเสร็จเด็ดขาด    ก็มาตัดสินใจในสมัยนายณัฏฐพล ด้วยเช่นกัน

 
ในปีกว่าๆ หลายเรื่องราวที่เกิดขึ้นในสมัยณัฏฐพล ทีปสุวรรณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาฯ บางเรื่องคงต้องให้เครดิตว่าเป็นผลงาน ที่เป็นความคิดใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน  และมีแนวปฎิบัติที่ไม่ลอยไปลอยมา พอเป็นรูปธรรมให้เห็นพอสมควร

 
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่า ปัญหาการศึกษา หรือการบริหารงานกระทรวงศึกษา ไม่ใช่เรื่องง่าย หลายปัญหาผูกโยงขมวดกลายเป็นเนื้อเดียวกัน   เหมือนกลุ่มก้อนเส้นด้ายที่พันกันยุ่งเหยิง พอเห็นแว่บแรกก็ชวนให้อึ้ง ไม่รู้ว่าจะคลายปมด้ายเส้นไหนก่อน เพราะไม่ได้มีแต่ในโรงเรียน หรือนักเรียน  ยังมี"ครู"ยังเป็นตัวละครสำคัญอีกกลุ่ม ซึ่งมีทั้งปัญหาคุณภาพของครู และปัญหาหนี้สินครูแม้เป็นปัญหาส่วนตัว แต่มีผลต่อกระทบต่อคุณภาพการศึกษา ล้วนเป็นเรื่องที่ผู้ที่เข้ามาเป็นผู้บริหารกระทรวงศึกษาฯจะต้องแก้ไข มองข้ามช็อตไปไม่ได้

 
  ดังนั้น คนที่มารับไม้ต่อในฐานะรมว.ศธ.คนใหม่ คงจะต้องมีความแข็งแรง แข็งแกร่ง และมีความพร้อมที่จะรับกับปัญหาของกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนกระทรวงอื่น  เพื่อให้การศึกษาไทยเดินหน้าไปสู่จุดที่เกิดการปฏิรูปได้ต่อไป.

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 08:45 น. 
 
  • 01 มี.ค. 2564 เวลา 19:38 น.
  • 2,671

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^