LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เชียงใหม่ เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 2

เปิดประวัติ เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช ว่าที่ รมช.ศึกษาธิการ

  • 25 ต.ค. 2555 เวลา 16:05 น.
  • 9,101
เปิดประวัติ เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช ว่าที่ รมช.ศึกษาธิการ

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

 มาทำความรู้จักกับ ว่าที่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คนใหม่ กันครับ



นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช 
ตำแหน่ง รมช.ศึกษาธิการ

ประวัติ
นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช เกิดเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 ที่อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก สมรสกับ นางระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช (อดีตวุฒิสมาชิกจังหวัดขอนแก่น)[2] มีบุตร 3 คน หญิง 2 คน ชาย 1 คน ซึ่งบุตรชายคือ ร้อยโทปรีชาพล พงษ์พานิช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดขอนแก่น พรรคเพื่อไทย

ข้อมูลด้านการศึกษา
นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช เข้าเรียนชั้นมัธยมศึกษา ที่โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม สำเร็จการศึกษารัฐศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมดี) และนิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระดับปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัย 3 แห่ง ได้แก่
  รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยโคสต์ไลน์ สหรัฐอเมริกา
  รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาการพัฒนาชนบท) มหาวิทยาลัยหลุยเซียนา สหรัฐอเมริกา
  ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ในระหว่างรับราชการ ได้เข้ารับการศึกษา อบรมหลักสูตรต่างๆ ได้แก่
  หลักสูตรโรงเรียนนายอำเภอ รุ่นที่ 18
  หลักสูตรนักปกครองระดับสูง รุ่นที่ 20
  หลักสูตรฝ่ายอำนวยการอาสารักษาดินแดน ชุดที่ 5
  หลักสูตรผู้บริหารระดับ 9 ของกระทรวงมหาดไทย
  หลักสูตรผู้บริหารระดับ 10 ของกระทรวงมหาดไทย
  วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 39
 
ข้อมูลการรับราชการ
นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช เริ่มรับราชการในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก และเป็นปลัดอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ต่อมาได้ดำรงตำแหน่ง นายอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง (ไปแก้ไขปัญหากรณีนายอำเภอคนก่อนเสียชีวิตจากการวางระเบิด ของ ผกค.) นายอำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ นายอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี นายอำเภอเมืองราชบุรี และผู้อำนวยการกองการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดปทุมธานี และตำแหน่งอธิการวิทยาลัยการปกครอง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จากนั้นได้รับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น อธิบดีกรมโยธาธิการ และตำแหน่งสุดท้าย คือ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2552 ศาลปกครองสูงสุดพิพากษายืนตามชั้นต้น สั่งเพิกถอนคำสั่ง “เสริมศักดิ์" อดีตปลัดมหาดไทย แต่งตั้งข้าราชการ ระดับ8 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เอื้อพวกพ้อง
 
ข้อมูลงานการเมือง
นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช เข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคไทยรักไทย และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร (พ.ศ.2548) ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 และนายเสริมศักดิ์ ได้เข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553 ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ :
  เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาประมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
  เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฏ (ม.ว.ม.)
  พ.ศ. 2549 เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นเบญจมดิเรกคุณาภรณ์ (บ.ภ.) 

ขอบคุณข้อมูลจาก 

 




  • 25 ต.ค. 2555 เวลา 16:05 น.
  • 9,101

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

ความคิดเห็นเกี่ยวกับ : เปิดประวัติ เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช ว่าที่ รมช.ศึกษาธิการ

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^