LASTEST NEWS

25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 25 เม.ย. 2567สพป.สุพรรณบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 3 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 24 เม.ย. 2567สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดสอบพนักงานราชการ 350 อัตรา วุฒิปริญญาตรี อัตราเงินเดือน 20,540 - 22,750 บาท ตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย. - 8 พ.ค. 2567 24 เม.ย. 2567สพป.เลย เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เลย เขต 2 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2 24 เม.ย. 2567สพป.สกลนคร เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สกลนคร เขต 2 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 5 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 27 อัตรา - รายงานตัว 1 พฤษภาคม 2567 24 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 2

เอกชัย กี่สุขพันธ์ ชี้แจง ร่าง พรบ.การศึกษา ใหม่ ที่สร้างความกังวลให้กับหลายๆ คน

  • 01 พ.ย. 2562 เวลา 08:24 น.
  • 7,292
เอกชัย กี่สุขพันธ์ ชี้แจง ร่าง พรบ.การศึกษา ใหม่ ที่สร้างความกังวลให้กับหลายๆ คน

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

เอกชัย กี่สุขพันธ์ ชี้แจง ร่าง พรบ.การศึกษา ใหม่ ที่สร้างความกังวลให้กับหลายๆ คน

เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562 ที่เฟซบุ๊กEkachai Keesookpun เอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เผยแพร่โพสต์เกี่ยวกับร่าง พรบ.การศึกษา ใหม่ ไว้ดังนี้

ความจริงเกี่ยวกับร่าง พรบ.การศึกษา ใหม่ ที่สร้างความกังวลของผู้ที่ได้ข้อมูลเพียงบางส่วนตามที่ผู้เห็นต่างต้องการสร้างกระแส ในฐานะที่มีส่วนร่วมเป็นกรรมการกฤษฎีการ่าง พรบ. ฉบับนี้ด้วย ขอเรียนผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ข้อมูลขั้นตอนของกฤษฎีกาที่ยกร่าง พรบ. ย่อๆ ดังนี้ครับ

1. ในกรรมการกฤษฎีกาที่ยกร่าง มีนักการศึกษาและอดีตเลขา สพฐ. ซึ่งท่านเป็นอดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการด้วย อดีต รมช กระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ และอีกหลายท่านเกินครึ่งหนึ่งเป็นผู้อยู่ในวงการศึกษาทั้งพื้นฐาน อาชีวะ และ อุดมศึกษาครับ(ที่บอกว่าไม่มีนักการศึกษาร่วมร่าง พรบ นี้ คงไม่ทราบข้อมูล)

2. กรรมการกฤษฎีกาพิจารณาร่าง พรบ ที่กอปศ. ยกร่างผ่าน ครม. แล้วเป็นรอบๆดังนี้ครับ

รอบแรก. เชิญคณะ กอปศ เข้าร่วมชี้แจงประเด็นต่างๆ ตั้งแต่มาตราแรกจนสุดท้ายเหตุผลใดที่ กอปศ เสนอยกร่างมาแบบนั้น มีการอภิปรายปรับปรุงสรุปด้วยความเห็นพ้องทุกฝ่าย

รอบสอง. เมื่อปรับปรุงรอบแรกเสร็จได้ร่างแรกแล้วก็เชิญผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการมาร่วมประชุมให้ข้อคิด ความเห็นที่แตกต่าง ทีละมาตรา มีการปรับถ้อยคำ ภาษาให้เป็นไปตามที่เห็นร่วมกัน และยอมรับได้ ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการมีทั้ง เลขาฯสภาการศึกษา เลขาสพฐ. เลขา สอศ. เลขา กคศ. เลขา กศน. เลขา สช. ผอ สสวท ผู้แทนสมาคมการศึกษาทางเลือกและอีกหลายท่าน ไม่มีใครครอบงำความคิดของใครได้ ทุกคนแสดงความคิดอย่างอิสระ

รอบสาม. มีการนำผลสรุปจากรอบสองขึ้น website เพื่อรับฟังความคิดเห็น และขอให้ผู้บริหารระดับสูงที่เข้าร่วมในรอบสอง นำร่างกลับไปปรึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการและหรือหน่วยงานของตนเอง เพื่อเสนอกลับมาก่อนจะสรุปสุดท้าย เพื่อเสนอรัฐบาลต่อไป

3. ในการพิจารณาร่าง พรบ การศึกษาใหม่ ไม่เคยมีแนวคิดการยกเลิกค่าวิทยฐานะ หรือ ผลประโยชน์อื่นใดที่ผู้บริหารสถานศึกษา การศึกษา หรือครูเคยได้รับ ตรงข้ามกลับคิดจะปกป้องครูไม่ให้ใช้ครูไปทำงานอื่นที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนการสอน หรือแม้แต่การสับเปลี่ยนโยกย้ายครู ก็เปิดโอกาสให้พิจารณาค่าตอบแทนพิเศษได้ด้วย

สำหรับการจะเปลี่ยนชื่อเรียกจากใบประกอบวิชาชีพครูเป็นใบรับรองความเป็นครูก็ไม่ทำให้ครูเสียสิทธิประโยชน์ที่เคยได้แต่อย่างใด (ซึ่งผมเห็นว่าถ้าครูไม่สบายใจกับคำว่าใบรับรองความเป็นครู จะเรียกแบบเดิม ใบประกอบวิชาชีพครูก็ไม่น่ามีปัญหาใดๆ)

การจะเรียกผู้อำนวยการโรงเรียนแบบเดิม ไม่อยากได้คำว่าครูใหญ่ ถ้าส่วนมากมีความรู้สึกว่า ผู้อำนวยการดูดี มีศักดิ์ศรีมากกว่าคำว่า ครูใหญ่ ก็ไม่น่าเป็นปัญหา เพราะชื่อนั้นเป็นเพียงเปลือก แก่นคือคุณภาพการศึกษาต้องเกิดขึ้นให้ได้ และถ้าคุณภาพการศึกษาไม่ดีควรต้องมีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน

4. เรื่องโครงสร้างบริหารที่ประชุมมองว่าให้เป็นอำนาจของกระทรวงศึกษาธิการ คณะกรรมการนโยบายการศึกษาฯ เป็นผู้พิจารณาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อความคล่องตัวมากกว่าที่จะกำหนดตายตัวเหมือนแบบอดีต แต่หลักการสำคัญที่มีการพูดถึงก็คือปลัดกระทรวง ต้องมีอำนาจในการกำกับดูแลทุกหน่วยงานในกระทรวงได้(ไม่ใช่อิสระแบบปัจจุบัน) แม้จะให้ ซี เท่ากันก็ไม่ว่า ขอให้มีศูนย์กลางที่กำกับดูแลได้ครับ

ขอเรียนแจ้งข้อมูลเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้อง หรือ ได้ข้อมูลเพียงบางส่วน มีโอกาสรับรู้ทำความเข้าใจ ขอเรียนย้ำอีกครั้งครับว่าในที่ประชุมไม่เคยมีความคิดที่จะยกเลิกค่าตอบแทน วิทยฐานะ ที่ผู้บริหารสถานศึกษา การศึกษา ครู หรือศึกษานิเทศก์ เคยได้แต่อย่างใด

การแสดงออกซึ่งสัญลักษณ์ของครูและบุคลากรการศึกษาทุกคนถ้ามีเหตุผล ความจำเป็นและขอให้ทำเพื่อคุณภาพการศึกษา อย่างแท้จริงผมว่าจะมีผู้สนับสนุนท่านแน่นอนครับ

เอกชัย กี่สุขพันธ์
ประธานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
30 ตุลาคม 2562


 
  • 01 พ.ย. 2562 เวลา 08:24 น.
  • 7,292

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^