LASTEST NEWS

17 มี.ค. 2567ราชกิจจานุเบกษา ประกาศข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567 17 มี.ค. 2567โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาไทย เงินเดือน 12,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 22 - 26 เมษายน พ.ศ. 2567 17 มี.ค. 2567ด่วน! กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ 15 วิชาเอก 730 อัตรา รับสมัคร รอบที่ 1 ตั้งแต่ 20-26 มี.ค.2567 และรอบที่ 2 ตั้งแต่ 31 พ.ค.-14 มิ.ย.2567 16 มี.ค. 2567โรงเรียนหนองแค“สรกิจพิทยา” รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 12,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม - 24 มีนาคม 2567 16 มี.ค. 2567โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดน้อยใน)ในพระราชูปถัมภ์ฯ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาสังคมศึกษา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้-22 มีนาคม 2567 16 มี.ค. 2567โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2 รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่ 18-22 มี.ค.2567 16 มี.ค. 2567สพฐ. สั่งเด้งด่วน! ผอ.หวงเก้าอี้ ฮึ่มเร่งสอบข้อเท็จจริง ภายใน 7 วัน 16 มี.ค. 2567สพฐ. สั่ง ผอ.เขต รายงานด่วน ”ผอ.โรงเรียนหวงเก้าอี้“ พร้อมกำชับให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย 16 มี.ค. 2567โรงเรียนบางปะอิน "ราชานุเคราะห์ 1" รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 11 – 20 มีนาคม 2567 เว้นวันหยุดราชการ  16 มี.ค. 2567ครูจบใหม่เฮ! ขึ้นเงินเดือนครู ครูผู้ช่วยรับ 18,000 บาท เช็กฐานเงินเดือนครู

รศ.ดร.สมบัติ นพรัก คณบดีฯ ม.พะเยา โพสต์ อัตราว่างเพื่อบรรจุครู ปี พ.ศ.2562 จำนวน 26,246 คน หายไปไหน?

  • 21 ต.ค. 2562 เวลา 10:41 น.
  • 20,642
รศ.ดร.สมบัติ นพรัก คณบดีฯ ม.พะเยา โพสต์ อัตราว่างเพื่อบรรจุครู ปี พ.ศ.2562 จำนวน 26,246 คน หายไปไหน?

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

อัตราว่างเพื่อบรรจุครู ปี พ.ศ.2562 จำนวน 26,246 คน หายไปไหน?


เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2562 รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก คณบดีวิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา ได้โพสต์เฟซบุ๊ก กรณีเกี่ยวกับการไม่เปิดสอบแข่งขันครูผู้ช่วย ปี 2562 โดยมีรายละเอียดดังนี้

อัตราว่างเพื่อบรรจุครู ปี พ.ศ.2562 จำนวน 26,246 คน หายไปไหน?

###ถ้าต้องการคำตอบแบบผม แชร์กันมากๆครับ ไม่ต้องขออนุญาต###

เมื่อวานผมช็อคเพราะข่าวพาดหัว “จวก สพฐ.ลอยแพบัณฑิตครูนับแสน แซดงดสอบ ‘ครูผู้ช่วย’ ปี63 หลังชื่อค้างบัญชีเพียบ” ( VOICETV.CO.TH) ดังนี้ครับ

เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม นายอรรถพล อนันตวรสกุล อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ขณะนี้ทราบว่า ในปีการศึกษา 2562 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะไม่จัดสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ.เนื่องจากรายชื่อคงค้างในบัญชีจากปีก่อน ยังมีมากพอจะทยอยเรียกบรรจุได้ถึงปีการศึกษา 2563 เท่ากับนิสิตนักศึกษาที่เรียนจบครูในปีการศึกษา 2562 และปีการศึกษา 2563 โดนลอยแพ ให้ไปสอบบรรจุในปีการศึกษา 2564 พร้อมกัน โดยเปิดเผยข้อมูลว่า

“.การที่ สพฐ.ไม่เปิดสอบครูผู้ช่วยในปีนี้ จะทำให้เด็กที่จบการศึกษาปี 2562 และปี 2563 ที่จบปีละประมาณ 35,000 คน 2 ปีรวมกันกว่า 70,000 คน ตกค้าง และต้องไปสอบรวมกับเด็กที่จบปี 2564 รวม 3 ปีกว่า 100,000 คน ยังไม่รวมผู้ที่สอบไม่ผ่านการคัดเลือกในปีก่อนๆ ที่ตกค้าง และจะมาสมัครสอบด้วย ขณะที่อัตราบรรจุจะลดลง”
ส่วนสาเหตุในการไม่เปิดสอบสรุปได้ 3 ประการ ดังต่อไปนี้
1)รัฐบาลมีนโยบายควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก
2)ตัดอัตราไปบรรจุครูคืนถิ่น
3)เปิดกว้างให้ผู้ที่จบสาขาอื่นสามารถสอบเพื่อเป็นครูได้ โดยอ้างว่าเป็นการคัดเลือกคนเก่งมาเป็นครูในสาขาขาดแคลน ทำให้เด็กที่เรียนครูจริงๆ เหมือนถูกลอยแพ”

นายอรรถพล กล่าวว่า “เรื่องนี้ถือเป็นความล้มเหลวของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง สพฐ., สถาบันผู้ผลิตครู และคุรุสภา ต้องรับผิดชอบ อนาคตควรมีการวางแผนอัตรากำลังคน และผลิตครูในระบบปิด เช่นเดียวกับการผลิตแพทย์ มีการวางแผนการกำกับทิศทางในการเตรียมครู และกำหนดอัตรารองรับที่ชัดเจน” นายอรรถพล กล่าว

จากความช็อค ผมได้เขียนในโพสต์ก่อนที่จะแชร์ว่า
“ความผิดพลาดในการบริหารการศึกษาของรัฐ คือชะตากรรมของคนเรียนครู
จากที่สอนให้ลูกศิษย์ สุภาพ อ่อนน้อม ถ่อมตน เป็นคนดี มีวินัย เสียสละ มีจิตสาธารณะ ทำดีเพื่อสังคม ฯลฯ
จึงไม่อยากเห็นเด็กเรียนครูนับแสนออกมาเดินบนถนน เนื่องจากเป็นเหยื่อของความผิดพลาดของรัฐ


หนทางแก้ปัญหายังมี อย่าปล่อยให้สายเกินไป”(ภาพที่ 1)
ภาพที่ 1
วันนี้หายช็อคแล้วครับ ขอขยายความความเห็นด้วยเหตุและผล ครับ
การลอยแพเด็กเรียนครู โดยเฉพาะผู้สำเร็จในปีการศึกษา 2562 และ 2563 จำนวนไม่น้อยกว่า 70,000 คน ถือเป็นเรื่องใหญ่ ผมจึงหาคำตอบด้วยหลักฐานและข้อมูลจากการบรรยาย(การผลิตครูเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้สู่อนาคตการศึกษาไทย) ของ พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2559 ประกอบความเห็น ซึ่งก็ถือว่าเป็นข้อมูลที่ยังทันสมัยอยู่ ดังนี้

1.การควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กนั้น เป็นนโยบายของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ จากข้อมูลเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2559 มีโรงเรียนขนาดเล็ก ที่ไม่มีนักเรียนเลยและมีนักเรียนไม่เกิน 20 คน จำนวนทั้งสิ้น 1,072 แห่ง มีครู 1,333 คน (ภาพที่ 2)
ภาพที่ 2



และโรงเรียนขนาดเล็ก (นักเรียนจำนวน 120 คนลงมา) และโรงเรียนขนาดเล็ก มีครู 84,941 คน จำนวนห้องเรียน 120,632 ห้อง มีห้องเรียนที่ไม่มีครูประจำชั้นถึง 35,691 ห้อง (ภาพที่ 3)
ภาพที่ 3


ดังนั้น การควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก จึงไม่ใช่ประเด็นปัญหาที่ส่งผลถึงจำนวนอัตรากำลังครูที่จะบรรจุใหม่ เนื่องจากการยุบรวมหรือยุบเลิกโรงเรียน ครูประจำการในโรงเรียนที่ถูกยุบก็ยังอยู่ เพียงแต่ย้ายสถานที่ทำงานจากโรงเรียนเดิมเท่านั้น


2.การตัดอัตราไปบรรจุคืนถิ่น ไม่ใช่ข้อเท็จจริง เพราะอัตราครูคืนถิ่นอยู่ในแผนของโครงการครูคืนถิ่นที่ได้กำหนดอัตราเกษียณอายุราชการแต่ละปีไว้รองรับแล้ว และการบรรจุครูคืนถิ่นปีการศึกษา 2562 ก็มีจำนวนไม่มากเพียง 2,000 กว่าอัตรา ตามข้อมูลข้างล่างนี้


“หนังสือด่วนถึงศึกษาธิการจังหวัด ลงวันที่ 30 ก.ย.2562 เรื่อง การบรรจุและแต่งตั้งนักศึกษาทุนโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ปี 2562 ขอให้ชะลอการบรรจุและแต่งตั้งนักศึกษาทุนโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ปี พ.ศ.2562 หรือครูคืนถิ่นกว่า 2,000 คน ไปก่อนจนกว่า ก.ค.ศ. จะมีมติจัดสรรคืนอัตราว่างแล้วเสร็จ”


3. เปิดกว้างให้ผู้ที่จบสาขาอื่นสามารถสอบเพื่อเป็นครูได้ ในกรณีนี้ก็ต้องมีการประกาศการสอบบรรจุโดยมีจำนวนอัตรารองรับ การไม่มีการประกาศรับก็ต้องหมายความว่า ไม่มีการประกาศรับผู้สำเร็จสาขาอื่นด้วย


4.การบรรจุแต่งตั้งครูแต่ละปี หน่วยงานที่รับผิดชอบคือ ก.ค.ศ. ที่จะต้องมีมติจัดสรรคืน
และอัตราว่างที่ ก.ค.ศ.จะต้องจัดสรร ตามมติ คณะรัฐมนตรี (ครม.) คือจัดสรรอัตราว่างจากการเกษียณอายุข้าราชการในแต่ละปี 100% และในปี 2562 มีอัตราว่างของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงาน่ครบเกษียณอายุราชการ จำนวน 28,246 คน (ภาพที่ 4)
ภาพที่ 4


ดังนั้นอัตราว่างจากการเกษียณอายุราชการจะคงเหลือ28,246 - 2,000 คน (ครูคืนถิ่น) = 26,246 คน

ผมขอใช้ข้อมูลข้างต้นเพื่อยืนยันว่า ครูที่สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2562 และครูที่สำเร็จการศึกษาก่อนหน้าต้องมีสิทธิ์สอบบรรจุในอัตราว่างจากการเกษียณอายุ 26,246 อัตรา

สถาบันผลิตครูและนิสิตนักศึกษาครูก็คงต้องการคำตอบเช่นกันว่า ทำไมกระทรวงศึกษาธิการจึงจะไม่เปิดสอบบรรจุครู 2 ปีการศึกษา ตามข่าว

หรือว่า การแยกกระทรวงศึกษาธิการ (หน่วยงานผู้ใช้ครู) กับ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (หน่วยงานผู้ผลิตครู) ก่อให้เกิดวิกฤตินี้ซ้ำเติม และถ้าเหตุแห่งการแยกกระทรวงทำให้เกิดวิกฤติการศึกษาของชาติอย่างรุนแรงเช่นนี้ คำถามคือจะแยกกระทรวงไปทำไม มีประเทศไหนบ้างที่แยกกระทรวงความรับผิดชอบการผลิตครูและการใช้ครูออกจากกัน ตัวอย่างของประเทศสิงคโปร์ที่คุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับสูงของโลก กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้กำหนดจำนวนการใช้ครูแต่ละปี แล้วคัดเลือกคนเรียนครูตามจำนวนที่ต้องการ ต่อจากนั้นส่งต่อให้สถาบันผลิตครูแห่งเดียว คือNational Institute of Education ( NIE ) เป็นผู้รับผิดชอบในการผลิตครู

ผมขอแถมข้อมูลเพื่อยืนยันความเห็นของผมที่ว่า “ความผิดพลาดในการบริหารการศึกษาของรัฐ คือชะตากรรมของคนเรียนครู” ด้วยคำถามที่แสดงความผิดพลาดในการบริหารของรัฐ ดังต่อไปนี้
1.เหตุใดรัฐจึงไม่วางแผนการผลิตครูให้สัมพันธ์กับการใช้ครู ทั้งที่มีข้อมูลจำนวนประชากรทีาลดลงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2525 (ภาพที่ 5)
ภาพที่ 5


2.เหตุใดจำนวนครูขาดและครูเกินในโรงเรียนต่างขนาด จึงไม่ได้รับการแก้ไขโดยผู้รับผิดชอบในการบริหารการศึกษาของรัฐ (ภาพที่ 6)
ภาพที่ 6




3.เหตุใดคุณภาพการศึกษาไทยจึงอยู่ในลำดับที่ไม่สามารถยอมรับได้จากผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในหลายๆสังกัด (ภาพที่ 7)
ภาพที่ 7



4.เหตุใดคุณภาพครูที่มีวิทยฐานะสูง ตั้งแต่ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ และเชี่ยวชาญพิเศษ ถึงร้อยละ 81 ของจำนวนครูทั้งหมด จึงไม่ส่งผลสัมฤทธิ์ของผลผลิตคือคุณภาพคะแนนสอบของนักเรียนที่อยู่ในระดับต่ำ(ภาพที่ 8)
ภาพที่ 8


5.เหตุใดโรงเรียนในประเทศไทย ที่มีผลสัมฤทธิ์จากการประกันคุณภาพสูงเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ของจำนวนโรงเรียนทั้งหมด ในขณะที่ผลสัมฤทธิ์ของผลผลิตคือนักเรียนที่คะแนนสอบอยู่ในระดับต่ำ(ภาพที่ 9)


ภาพที่ 9

และ
6.เหตุใดสถาบันผลิตครูในประเทศไทยจึงมีมากมาย ทั้งที่วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง ซึ่งควรเป็นวิชาชีพควบคุม เช่น ทหาร ตำรวจ แพทย์ พยาบาล ที่มีการควบคุมการผลิตอย่างเข้มข้น ส่วนการผลิตครูนั้นง่ายมาก หากสถาบันใดมีอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรครบตามเกณฑ์ 5 คน ก็เปิดสอนได้แล้ว ดังนั้น สถาบันผลิตครูในประเทศไทยจึงมีเพิ่มขึ้นอย่างมากมายและต่อเนื่อง โดยไม่มีการควบคุมหรือการจำกัดการผลิตครูใดๆจากภาครัฐ ทั้งที่คุณภาพการผลิตครูเป็นคุณภาพของคนซึ่งเป็นอนาคตของชาติ ดังข้อมูลจำนวนสถาบันผลิตครูแต่ละสังกัด ดังนี้
สถาบันผลิตครูและวิทยาเขตที่รับผิดชอบการผลิตครู มีจำนวน 176 สถาบัน คณะ/วิทยาเขต ได้แก่
(1) สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 22 แห่ง 23 คณะ/วิทยาเขต
(2) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 7 แห่ง 14 คณะ/วิทยาเขต
(3) มหาวิทยาลัยราชภัฎ 38 แห่ง
(4) มหาวิทยาลัย/วิทยาลัย เอกชน 42 แห่ง
(5) มหาวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่ง และวิทยาเขต 29 แห่ง
(6) สถาบันการพลศึกษา 1 แห่ง 17 วิทยาเขต
(7) สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 1 แห่ง 13 วิทยาลัย
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา, 2558
ประเทศไทยมีสถาบันผลิตครูและวิทยาเขต จำนวนถึง 176 แห่ง ต่อจำนวนประชากรไทย ณ วันที่ 20 สิงหาคม 2562 รวม 66,396,470 คน ประเทศไทยจึงมีสถาบันผลิตครูและวิทยาเขต เฉลี่ย 1 แห่ง ต่อประชากร จำนวน เพียง 377,252 คน. เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศสิงคโปร์ ที่มีสถาบันผลิตครูเพียง 1 แห่ง คือNational Institute of Education ( NIE ) เป็นสถาบันในกำกับของ Nanyang Technology University (NTU)สำหรับการผลิตครูเพื่อประชากร 5,567,301 คน (2558) และสัดส่วนข้างต้นจะลดลงทุกปี เนื่องจากประชากรวัย 0-14 ปี ลดลงเฉลี่ย ปีละ 149,000 คน (ร้อยละ 18.51)

คำถามสุดท้ายที่ควรเป็นคำถามแรก คือ เหตุใดจึงต้องขึ้นบัญชีคงค้างจากปีก่อนไว้มากมาย? มีเจตนาใดแอบแฝง? ทั้งที่ในปีก่อนๆไม่เคยมีเหตุการณ์เช่นนี้

คำถามสุดท้ายต้องการคำตอบคือ การใช้อำนาจบริหารที่เป็นธรรม ต่อผู้สำเร็จการศึกษาครูปีการศึกษา 2562 และปีต่อๆไปครับ
 
ผมตั้งคำถามว่าเหตุใด? เพื่อให้หน่วยงานการศึกษาของรัฐ และผู้รับผิดชอบการศึกษาของรัฐ ตั้งแต่ระดับรัฐมนตรี ผู้บริหารในกระทรวงศึกษาธิการและผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของชาติทุกระดับ เป็นผู้ตอบและแก้ไขปัญหาครับ


รองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ นพรัก
คณบดีวิทยาลัยการศึกษา
มหาวิทยาลัยพะเยา


  • 21 ต.ค. 2562 เวลา 10:41 น.
  • 20,642

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^