LASTEST NEWS

18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( ประกาศแล้ว )) รายชื่อผู้สอบผ่าน ภาค ก และ ข การสอบบรรจุรับราชการครูฯ ตำแหน่งบุคลากร 38 ค.(2) สังกัดสพฐ. ปีพ.ศ.2567 เช็กผลสอบ 38 ค. สพฐ. ได้ที่นี่ 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ! กำหนดสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัดสพฐ. ปี พ.ศ.2567 ประกาศรับสมัครภายใน 1 พ.ค. 2567 - รับสมัคร 8-14 พ.ค.2567 18 เม.ย. 2567กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ (ทุนเอราวัณ) 84 อัตรา สมัคร 1 พฤษภาคม 2567 - 14 มิถุนายน 2567 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ !! กทม.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 592 อัตรา (สำรอง 125 อัตรา) - รายงานตัว 29-30 เม.ย.2567 18 เม.ย. 2567สพป.ยโสธร เขต 1 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567  18 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 5 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 5

อุทาหรณ์ "จ้างเหมาบริการ" เป็น สัญญาจ้างแรงงาน หรือไม่ ? คำพิพากษา ศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๕๓๑/๒๕๕๗

  • 11 ต.ค. 2562 เวลา 14:40 น.
  • 67,193
อุทาหรณ์ "จ้างเหมาบริการ" เป็น สัญญาจ้างแรงงาน หรือไม่ ? คำพิพากษา ศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๕๓๑/๒๕๕๗

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

อุทาหรณ์ "จ้างเหมาบริการ" เป็น สัญญาจ้างแรงงาน หรือไม่ ? คำพิพากษา ศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๕๓๑/๒๕๕๗ 

"จ้างเหมาบริการ" เป็น สัญญาจ้างแรงงาน หรือไม่ ?
โดย นายปกครอง

พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ มาตรา ๕ ได้นิยาม "นายจ้าง" "ลูกจ้าง" ไว้ โดยมีนิติสัมพันธ์ในลักษณะทำนองเดียวกับ "สัญญาจ้างแรงงาน" ตามมาตรา ๕๗๕ และมาตรา ๕๘๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์


อย่างไรก็ตาม แม้กฎหมายจะบัญญัตินิยามที่มีความหมายเพียงพอจะวินิจฉัยได้ แต่ในทางปฏิบัติยังมีการกำหนดรายละเอียดหรือสภาพการจ้างงานหลากหลายลักษณะ ดังเช่น กรณีที่หน่วยงานราชการตกลงจ้างพนักงาน (ลูกจ้าง)โดยการทำ "สัญญาจ้างเหมาบริการ" กับบุคคลภายนอกโดยเบิกจ่ายค่าตอบแทนจากหมวดค่าตอบแทน ใช้สอยและวัสดุ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕


ถือว่าเป็น ลูกจ้าง นายจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน ที่อยู่ในบังคับตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ หรือไม่ ?


ดังเช่นอุทาหรณ์ที่จะนำมาเล่าในคอลัมน์ "รอบรู้กฎหมาย" ฉบับนี้ เป็นกรณีที่ส่วนราชการทำสัญญาจ้างเหมาบริการ นาย ก. ให้ทำหน้าที่ขับรถยนต์ ดูแลทำความสะอาดรถยนต์ ค้นหาแฟ้มเอกสาร ถ่ายเอกสาร จัดเตรียมเอกสาร พิมพ์ทะเบียนพาณิชย์และงานอื่น ๆ โดยจ่ายค่าจ้างแบบเหมาจ่าย แบ่งจ่ายเป็นงวดโดยนาย ก. ต้องส่งมอบงานให้ผู้ว่าจ้างตรวจรับงาน


นาย ก. เห็นว่า สัญญาจ้างเหมาบริการดังกล่วมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงาน เนื่องจากมีได้คำนึงถึงผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ ไม่มีการตรวจรับงานที่ทำ ต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของหัวหน้าทำให้ตนไม่รับความคุ้มครองจากกองทุนประกันสังคม เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย


จึงยื่นฟ้องส่วนราชการ (ผู้ว่าจ้างตามสัญญา) ขอให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีปฏิบัติหน้าที่โดยดำเนินการให้ผู้ฟ้องคดีได้รับสิทธิประโยชน์ในฐานะลูกจ้างตามกฎหมายประกันสังคม


คดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลปกครอง เนื่องจากเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และละเลยต่อหน้าที่ ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควรตามมาตรา ๙ วรรคหนึ่ง (๑) และ (๒) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒


ส่วนราชการ (ผู้ว่าจ้างตามสัญญา) ละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมายในการจัดให้นาย ก.ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายประกันสังคม จากการจ้างนาย ก. ตามสัญญาดังกล่าวหรือไม่ ?


ประเด็นที่ว่า สัญญาจ้างเหมาบริการดังกล่าว มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงานหรือสัญญาจ้างทำของ ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า มาตรา ๕๗๕ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดสาระสำคัญของการจ้างแรงงานว่า เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ให้ลูกจ้างทำงานให้แก่นายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้ ผลสำเร็จของงานจึงไม่เป็นสาระสำคัญในการจ่ายค่าจ้างและระหว่างการทำงานนายจ้างมีอำนาจสั่งการหรือบังคับบัญชาลูกจ้างได้ ส่วนการจ้างทำของตามมาตรา ๕๘๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ให้ผู้รับจ้างทำการงานสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้แก่ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแก่การงานที่ทำนั้น ผลสำเร็จของการงานที่รับจ้างจึงเป็นสาระสำคัญในการรับสินจ้าง และระหว่างทำงานผู้ว่าจ้างไม่มีอำนาจสั่งการหรือบังคับบัญชาได้


ตามสัญญาจ้างเหมาบริการ นาย ก, จะต้องปฏิบัติงานขับรถยนต์ ยังต้องปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ผู้แทนของส่วนราชการ (ผู้ว่าจ้างตามสัญญา) มอบหมาย โดยได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือนทุกวันสิ้นเดือน แต่การจ่ายค่าจ้างในการทำงานมิใช่เพียงเพื่อผลสำเร็จของการงานที่ทำ คือ การขับรถยนต์เท่านั้น แต่เป็นการจ่ายค่าจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ไม่ว่าจะเป็นงานในหน้าที่ใด โดย นาย ก ต้องมาปฏิบัติงานตามวัน เวลาราชการ และต้องปฏิบัติงานภายใต้การบังคับบัญชาของผู้แทนของส่วนราชการ (ผู้ว่าจ้างตามสัญญา) หาใช่เป็นการปฏิบัติงานโดยมีอิสระเพียงเพื่อให้ได้ผลสำเร็จของงานท่านั้น ทั้งข้อเท็จจริงมิได้มีการตรวจรับงาน

สัญญาจ้างเหมาบริการดังกล่าว จึงเป็นสัญญาจ้างแรงงานไม่ใช่เป็นสัญญาจ้างทำของและเมื่อเป็นสัญญาจ้างแรงงาน นิติสัมพันธ์ระหว่างนาย ก. กับส่วนราชการ ผู้ว่าจ้างตามสัญญา) จึงเป็นนิติสัมพันธ์ในฐานะลูกจ้างกับนายจ้างตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓


ดังนั้น การที่ส่วนราชการไม่ได้ขึ้นทะเบียนลูกจ้างเพื่อให้นาย ก. มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคมตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พศ. ๒๕๓๓ จึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติกรณีดังกล่าว (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๓๔๗/๒๕๕๖)


คดีนี้ถือเป็นประโยชน์ทั้งต่อหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ นายจ้างและลูกจ้าง ในการพิจารณาสัญญาหรือข้อตกลงว่า เป็นสัญญาจ้างแรงงานหรือไม่นั้น แม้จะกำหนดชื่อสัญญาว่าเป็น "สัญญาจ้างเหมาบริการ" หรือฝ่ายลูกจ้างจะลงชื่อตามที่ระบุไว้ในสัญญาในฐานะเป็นผู้รับจ้างหรือฝ้ายนายจ้างจะลงชื่อระบุว่าเป็นผู้ว่าจ้างก็ตาม ในการพิจารณานิติสัมพันธ์ที่แท้จริงจะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดขึ้น หากสภาพการจ้างเป็นไปในลักษณะการจ้างงานตามสาระสำคัญมาตรา ๕๗๕ แห่งประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่กล่าวข้างต้น ถือเป็น นายจ้าง ลูกจ้างที่ต้องได้รับความคุ้มครอง จากกฎหมายประกันสังคมทั้งสิ้น และอาจกล่าวได้ว่า "สัญญาจ้างเหมาบริการ" มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของอำพรางสัญญาจ้างแรงงานอันเป็นนิติสัมพันธ์ที่แท้จริง

โดยผู้สนใจสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๕๓๑/๒๕๕๗ ซึ่งวินิจฉัยไว้ทำนองเดียวกัน .... ครับ !!

ดาวน์โหลดรายละเอียด PDF ไฟล์ได้ที่นี่

อ้างอิงข้อมูลจาก :: สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ 
  • 11 ต.ค. 2562 เวลา 14:40 น.
  • 67,193

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^