LASTEST NEWS

25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 7 25 เม.ย. 2567สพป.นนทบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นนทบุรี เขต 1

แนวโน้มการขึ้นเงินเดือน

  • 22 พ.ย. 2561 เวลา 15:14 น.
  • 4,892
แนวโน้มการขึ้นเงินเดือน

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

แนวโน้มการขึ้นเงินเดือน

 ใกล้จะสิ้นปีก็มีประมาณการทางด้านเศรษฐกิจออกมาให้เห็นกันหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจของปี 2562 ที่กำลังจะมาถึงอีกไม่นานนี้ หรือแนวโน้มของธุรกิจดาวเด่น และธุรกิจที่ควรต้องเร่งปรับตัวก่อนจะหายไปจากตลาด รวมถึงกลยุทธ์หรือการลงทุนของแต่ละผู้ประกอบการ และแนวโน้มของค่าตอบแทนและสวัสดิการ ซึ่งมีผลการศึกษาที่น่าสนใจจากเมอร์เซอร์เกี่ยวกับการสำรวจค่าตอบแทนและสวัสดิการ ประจำปี 2561 พร้อมแนวโน้มค่าตอบแทนที่โดดเด่น และผลคาดการณ์ถึงแนวโน้มอัตราการเพิ่มการจ้างงานและเงินเดือนสำหรับปี 2562 ในเอเชียตะวันออกกลางและแอฟริกา

           โดยตัวเลขและการคาดการณ์มาจากผลการสำรวจค่าตอบแทนและสวัสดิการ ซึ่งเป็นการศึกษามาตรฐานค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ประจำปีของเมอร์เซอร์ โดยในปีนี้มีบริษัทในประเทศไทยเข้าร่วมการสำรวจกว่า 560 บริษัท จากหลากหลายอุตสาหกรรม และหากคำนวณจากอัตราเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นหักลบด้วยอัตราเงินเฟ้อในตลาดเกิดใหม่ จะพบว่าประเทศที่ได้รับการคาดการณ์ว่าจะมีอัตราการขึ้นเงินเดือนสูงที่สุดในปี 2562 คือ ประเทศบังกลาเทศ หรือประมาณ 10% อินเดีย 9.2% และเวียดนาม 9.8%

        แต่ในทางตรงกันข้าม อัตราการขึ้นเงินเดือนในออสเตรเลียอยู่ที่ 2.6% และนิวซีแลนด์ 2.5% โดยมีประเทศญี่ปุ่นรั้งท้ายด้วยอัตราการเติบโตของเงินเดือนต่ำสุดที่ 2% สำหรับประมาณการอัตราการขึ้นเงินเดือนในประเทศไทยของทุกอุตสาหกรรมอยู่ในอัตรา 5% โดยอุตสาหกรรมยานยนต์มีแนวโน้มของการปรับเงินเดือนที่สูงที่สุดในประเทศไทยที่ 5.5% และอุตสาหกรรมยานยนต์ยังคงรักษาอัตราการขึ้นเงินเดือนที่ 5.5% ในปี 2562 อีกด้วย

           หากแบ่งประเทศต่างๆ ทั่วภูมิภาคออกเป็นหลายระดับ เช่น ในประเทศออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ 30,000 เหรียญสหรัฐต่อปี และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเลื่อนขั้นสู่ระดับอาวุโส โดยเงินเดือนจะอยู่ที่ระดับ 250,000-350,000 เหรียญสหรัฐต่อปี ในขณะที่เงินเดือนเริ่มต้นในบริษัทที่เป็นโรงงานการผลิตต้นทุนต่ำนั้นน้อยกว่ามาก หรือส่วนใหญ่ได้รับเพียง 5,000 เหรียญสหรัฐต่อปี แต่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยในตำแหน่งงานกลุ่มผู้บริหารระดับสูง ซึ่งเห็นได้ชัดเจนที่สุดในสาธารณรัฐประชาชนจีน

          ด้านผู้บริหารระดับสูงสุดได้รับค่าตอบแทนทิ้งห่างเพื่อนร่วมงานในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร โดยภาพรวมนี้จะเปลี่ยนไปเมื่อรวมปัจจัย อันได้แก่ ค่าตอบแทนจูงใจระยะยาว และสิทธิประกันสังคมในยุโรป 26% ขององค์กรได้รายงานถึงการมอบเงินตอบแทนพิเศษแก่พนักงานที่มีทักษะดิจิทัลบางประเภท แต่ในขณะเดียวกันยังบ่งชี้ให้เห็นเรื่องการขาดแคลนพนักงานที่มีความสามารถ ส่งผลกระทบต่อแนวโน้มค่าตอบแทนอีกด้วย โดยประมาณ 48% ของบริษัทในเอเชียบอกว่ามีความยากลำบากในการหาพนักงานมาทดแทนตำแหน่งงานที่ว่างอยู่ เทียบกับ 38% ของบริษัททั่วโลกที่เผชิญกับความท้าทายในการหาพนักงานที่มีศักยภาพมาช่วยขับเคลื่อนการขยายตัวของธุรกิจ

        จากปัจจัยดังกล่าวบริษัทจึงมอบค่าตอบแทนพิเศษจำนวนมากแก่พนักงานขายเฉพาะทาง ตำแหน่งทางวิศวกรรม และผู้เชี่ยวชาญภาษาท้องถิ่น ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นนี้แสดงให้เห็นถึงความท้าทายในด้านต้นทุนทดแทนที่มาในรูปของเงินเดือนพนักงานใหม่ที่สูงขึ้น ต้นทุนการจัดหางานและความสูญเสียด้านการผลิต ซึ่งส่งผลเสียต่อต้นทุนการบริหารงานโดยรวมและอัตรากำไร

           มีความเห็นจาก ภูนีต สวานี หุ้นส่วนและผู้อำนวยการธุรกิจแคเรียร์ (Career) ในระดับภูมิภาคระหว่างประเทศของเมอร์เซอร์ กล่าวว่า เอเชียยังคงต้องการแรงงานที่มีทักษะและความสามารถ โดยทักษะเชิงดิจิทัลยังเป็นทักษะที่ได้รับค่าตอบแทนสูงอย่างต่อเนื่อง บริษัทส่วนใหญ่พร้อมเสนอค่าตอบแทนตามความสามารถเพื่อจูงใจพนักงาน โดยหลายแห่งได้ปรับลดเงินโบนัสปลายปีลง และเพิ่มฐานเงินเดือนเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

           ในตอนนี้ประเทศไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัล 4.0 และรูปแบบธุรกิจที่มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลนำองค์กรไปสู่สถานการณ์ที่ชัดเจนว่าจะมีความก้าวหน้าหรืออวสาน การเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการว่างงานที่ต่ำที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจำนวนผู้สูงวัยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้การค้นหาบุคลากรที่มีความสามารถจึงกลายเป็นเรื่องที่ยากลำบากเช่นเดียวกัน เป็นนัยสำคัญที่ชัดเจนสำหรับฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลที่จะต้องปรับเปลี่ยนองค์กรให้มีประสิทธิภาพและยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น.
รุ่งนภา สารพิน

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เวลา 00:01 น.  
  • 22 พ.ย. 2561 เวลา 15:14 น.
  • 4,892

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^