LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567อ.ก.ค.ศ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 62 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพม.นครราชสีมา รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 27 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 32 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 25 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 19 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

เล็งตั้งหน่วยงานเฉพาะดูประกันคุณภาพภายใน

  • 14 พ.ย. 2561 เวลา 06:03 น.
  • 1,679
เล็งตั้งหน่วยงานเฉพาะดูประกันคุณภาพภายใน

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

เล็งตั้งหน่วยงานเฉพาะดูประกันคุณภาพภายใน

กอปศ.ถกร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ชี้อนาคตไม่ใช้ประกันภายในและภายนอก เปลี่ยนประกันและประเมินคุณภาพเล็งตั้งหน่วยงานที่จะมาดูและการประเมินภายในระดับศธ.และสังกัด

วันนี้ (13 พ.ย.)ที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) รศ.ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ รองประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) เปิดเผยภายหลังการประชุม กอปศ. ว่า  ที่ประชุมได้หารือเรื่องหลักการประกันคุณภาพตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ โดยมีหลักการปฏิรูปการศึกษาคือการเพิ่มคุณภาพในการจัดการศึกษา ซึ่งใช้หลักการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งการประกันคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพโดยหน่วยงานภายนอกที่อนาคตไม่ใช่ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เพียงหน่วยงานเดียว แต่จะส่งเสริมให้โรงเรียนกำหนดการประกันคุณภาพที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน โดยไม่ได้มีแค่ตัวชี้วัดจากคะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ หรือโอเน็ตเพียงอย่างเดียว จะมีหน่วยงานเข้าไปช่วยพัฒนาข้อมูลที่ส่งให้ สมศ. และข้อมูลจะส่งมาที่คณะกรรมการนโยบายการศึกษาแห่งชาติ เพื่อวางเป็นยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ในการพัฒนาระดับประเทศ

 รศ.นพ.จิรุตม์  ศรีรัตนบัลล์ ประธานคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจศึกษาแนวทางการจัดทำพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ กล่าวว่า ที่ประชุมได้ทบทวนสาระสำคัญของ ร่าง พ.ร.บ.การศึกษา ที่ยืดหยุ่นระบบประกันคุณภาพมากขึ้น เรียกว่า ข้อกำหนดด้านคุณภาพ โดยมาตรฐานจะถือเป็นข้อกำหนดประเภทหนึ่ง เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นและ รองรับการจัดการศึกษาที่หลากหลายมากขึ้น  ซึ่งต่อไปจะไม่มีมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ จะมีแค่กรอบข้อกำหนดด้านคุณภาพว่าแต่ละสถานศึกษามีรายละเอียดที่ยืดหยุ่นแตกต่างกันไปตามสภาพ  ทั้งส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพโดยสถานศึกษาเอง เพราะหัวใจหลักของการปรับปรุงคุณภาพต้องเป็นพลังที่มาจากข้างในของตนเอง และสร้างวัฒนธรรมคุณภาพขององค์กรให้เกิดขึ้น โดยยึดผู้เรียนเป็นหลัก สร้างกระบวนการ วิธีการที่นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น
 
ด้านดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า ในร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ....จะมีคำที่ต่างจากเดิม คือเดิมมีคำว่า การประกันคุณภาพภายใน และ การประกันคุณภาพภายนอก จะเป็นการประกันคุณภาพ ซึ่งหมายถึงการประกันภายใน ส่วนการประกันคุณภาพภายนอกจะใช้คำว่า การประเมินคุณภาพ และจะมีคำว่า การรับรองคุณภาพโดยหน่วยงานภายนอก  ที่มีแนวคิดหลักคือ การประกันและประเมินเพื่อการพัฒนา ในการประกันประเมินจะมีกรอบข้อกำหนดด้านประกันคุณภาพระดับชาติโดยแยกเป็นระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอาชีวศึกษา และ ระดับอุดมศึกษา  จากนั้นสถานศึกษาแต่ละแห่งแต่ละระดับ ทุกสังกัด ก็จะไปกำหนดข้อกำหนดด้านคุณภาพหรือมาตรฐานของตนเอง และจะทำการพัฒนาไป และประเมินตนเอง เมื่อดำเนินการระยะหนึ่งก็จะรายงานต้นสังกัด ก็จะมีหน่วยงานภายนอกมาช่วยเสริม เพราะฉะนั้นการประเมินของหน่วยงานภายนอก เช่น สมศ. จะไม่ได้เข้ามาประเมินเพื่อตัดสิน  ผ่านหรือไม่ผ่าน แต่จะเป็นการประเมินเพื่อพัฒนา เพื่อให้สถานศึกษาดีขึ้น

“ การจะนำไปสู่เป้าหมายดังกล่าวต้องดำเนินการ 4 เรื่องคือ 1.ให้ความสำคัญกับการประกันภายในให้มากขึ้น มีการกำหนดไว้ในโครงสร้างให้มีหน่วยงานประกันภายใน เนื่องจากที่ผ่านมาการประกันโดยหน่วยงานภายนอกได้รับการพัฒนาก้าวหน้าไปมาก จนการประกันภายในอ่อน  และการให้ความสำคัญกับการประกันภายนอกมากทำให้มีอิทธิพลจนทำให้การศึกษาเบี่ยงเบนไปบางส่วน แต่จากนี้จะต้องมีหน่วยงานที่ดูแลการประกันภายในอย่างจริงจังในกระทรวงศึกษาธิการ และในต้นสังกัดของกระทรวงต่างๆ ด้วย ทั้งให้งบประมาณเพื่อให้การบริหารจัดการหรือการประกันคุณภาพเป็นเครื่องมือที่จะพัฒนาคุณภาพอย่างแท้จริง 2.การแก้ไขกฎกระทรวงต่างๆ มารองรับ 3.กำหนดให้เรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาไว้ในแผนปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา เพื่อให้การดำเนินการเกิดความยั่งยืน และ 4.จัดทำเป็นแผนการดำเนินงาน แผนปฏิบัติการเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย” ดร.ชัยพฤกษ์กล่าว 

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน 2561 เวลา 17.33 น.
  • 14 พ.ย. 2561 เวลา 06:03 น.
  • 1,679

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^