LASTEST NEWS

17 มี.ค. 2567ราชกิจจานุเบกษา ประกาศข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567 17 มี.ค. 2567โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาไทย เงินเดือน 12,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 22 - 26 เมษายน พ.ศ. 2567 17 มี.ค. 2567ด่วน! กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ 15 วิชาเอก 730 อัตรา รับสมัคร รอบที่ 1 ตั้งแต่ 20-26 มี.ค.2567 และรอบที่ 2 ตั้งแต่ 31 พ.ค.-14 มิ.ย.2567 16 มี.ค. 2567โรงเรียนหนองแค“สรกิจพิทยา” รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 12,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม - 24 มีนาคม 2567 16 มี.ค. 2567โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดน้อยใน)ในพระราชูปถัมภ์ฯ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาสังคมศึกษา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้-22 มีนาคม 2567 16 มี.ค. 2567โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2 รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่ 18-22 มี.ค.2567 16 มี.ค. 2567สพฐ. สั่งเด้งด่วน! ผอ.หวงเก้าอี้ ฮึ่มเร่งสอบข้อเท็จจริง ภายใน 7 วัน 16 มี.ค. 2567สพฐ. สั่ง ผอ.เขต รายงานด่วน ”ผอ.โรงเรียนหวงเก้าอี้“ พร้อมกำชับให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย 16 มี.ค. 2567โรงเรียนบางปะอิน "ราชานุเคราะห์ 1" รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 11 – 20 มีนาคม 2567 เว้นวันหยุดราชการ  16 มี.ค. 2567ครูจบใหม่เฮ! ขึ้นเงินเดือนครู ครูผู้ช่วยรับ 18,000 บาท เช็กฐานเงินเดือนครู

"ครู" 4 ปี หรือ 5 ปี ปลายทางต้องมีคุณภาพ

  • 20 ต.ค. 2561 เวลา 15:20 น.
  • 3,815
"ครู" 4 ปี หรือ 5 ปี ปลายทางต้องมีคุณภาพ

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

"ครู" 4 ปี หรือ 5 ปี ปลายทางต้องมีคุณภาพ

ยังคงเป็นประเด็นที่ถกเถียงในแวดวง "การศึกษา" ตั้งแต่ช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา...กับการปรับลดเวลาเรียนหลักสูตรผลิตครูจาก 5 ปี เหลือ 4 ปีเพื่อให้ได้ครูที่มีคุณภาพ!! 

หลังการประชุมมอบนโยบายการผลิตครูคุณภาพเป็นเลิศของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) ที่มี รมช.ศึกษาธิการ "ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร" นั่งหัวโต๊ะ จะมีการเปลี่ยนแปลงที่ให้ "สถาบันผลิตครู" คณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ สอนหลักสูตรผลิตครูในปัจจุบัน 5 ปี ลดลงเหลือเพียง 4 ปี โดยไม่มีการบังคับ เริ่มทันทีกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) และ มหาวิทยาลัยที่มีความพร้อมในปีการศึกษา 2562

และแม้จะย้ำว่าสถาบันผลิตครูที่จะผลิต 4 ปี หรือ 5 ปีก็ได้ไม่มีการบังคับ เพราะอำนาจการพิจารณาเป็นของสภามหาวิทยาลัย แต่ถ้าสถาบันผลิตครูที่พร้อมเดินแนวทางนี้ต้องตัดสินใจและแจ้งมายังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ในสัปดาห์ที่จะมาถึงเพราะต้องเร่งเตรียมพร้อมระบบต่างๆ รองรับ โดยเฉพาะให้ทันกับกระบวนการเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัย ในระบบกลางคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา หรือ TCAS ปีการศึกษาหน้า (2562) ซึ่งรอบที่ 1 แฟ้มสะสมงาน หรือ Portfolio จะเริ่มสมัคร 1-15 ธ.ค.นี้

การตัดสินใจเดินหน้านโยบายเกิดเสียงสะท้อนของ "นักวิชาการการศึกษา" ที่สะท้อนว่าเป็นการตัดสินใจที่ขาดเหตุผลทางวิชาการ และงานวิจัยรองรับ สำคัญกว่านั้น คือ ไม่ได้มองเรื่องระยะเวลาว่า จะ 4 ปี หรือ 5 ปี แต่ชี้เป้าไปที่ "คุณภาพ" คือสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญที่สุด เพราะกว่าจะเปลี่ยนจาก 4 ปีมาเป็น 5 ปีในเวลานี้ ผ่านกระบวนการมาไม่น้อย 

โดยเฉพาะการเรียน 5 ปีไม่เพียงหวังยกระดับ "วิชาชีพครู" ให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงต่างจากหลักสูตรปริญญาตรีอื่นๆ และมีโอกาสได้ค่าตอบแทนที่ดีขึ้น จึงเคี่ยวกรำให้ "ครู" เป็นพิเศษทั้งทางวิชาการ และการเพิ่มประสบการณ์ปฏิบัติการสอนในชั้นเรียนอย่างจริงจังและต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี (2 ภาคการศึกษา) 

ส่วนที่ได้รับผลกระทบตรงๆหนีไม่พ้น นักเรียนชั้นม.6 ที่จะจบปีการศึกษา 2561 ไม่นับรวมกับกลุ่มนิสิต นักศึกษาครูปัจจุบันที่ระบายความในใจผ่านสื่อโซเชียล

อย่างไรก็ตาม ราวปี 2547 สถาบันผลิตครูได้เปลี่ยนมาใช้หลักสูตรครู 5 ปี จากเดิมสอน 4 ปี โดยในช่วงที่มีการปฏิรูปการศึกษา ปี 2542 เริ่มต้นนำร่องสอนหลักสูตรครู 5 ปีในบางสาขา คัดระดับหัวกะทิมาเรียน มีอัตราบรรจุรองรับ เวลานั้นจะคุ้นชินในชื่อ "ครูพันธุ์ใหม่" เหตุผลมีอยู่มากมายส่วนหนึ่งก็ตามที่เขียนไว้ข้างต้น 

ทั้งนี้ สำหรับหลักสูตร 4 ปีมีการตั้งคำถามอีกด้วยว่าจะเป็นเช่นไร ตอนนี้ก็ครบวงรอบในการปรับปรุงหลักสูตร ที่หลายแห่งก็อยู่ระหว่างดำเนินการ และไม่ว่าจะทำใหม่หรือประบปรุงก็ต้องเชื่อมโยงหลายส่วน อาทิ ทั้งเรื่องมาตรฐานหลักสูตร จำนวนอาจารย์ที่ต้องสอดคล้องกับประกาศ ศธ.เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรในระดับปริญญาตรี พ.ศ.2558 ต้องดูถึงสมรรถนะครูด้วย เพราะล่าสุดเพิ่งมีการประกาศ "กรอบสมรรถนะวิชาชีพครูอาเซียน" หรือ กรอบสมรรถนะวิชาชีพครูในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะต้องนำมาใช้ประกอบในการจัดทำหลักสูตรหรือไม่ กระทั่งการอนุมัติหลักสูตรกว่าจะผ่านสภามหาวิทยาลัย ต่อไปยังสำนักงานคระกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)รับทราบ และคุรุสภาให้การรับรองหลักสูตรซึ่งกระบวนการเหล่านี้ที่ผ่านมากินเวลาหลายเดือน เพราะฉะนั้น เวลา ก็เป็นเงื่อนไขสำคัญ.

เพราะฉะนั้น จะ 4 ปี หรือ 5 ปีไม่ใช่เรื่องใหม่!! ยังคงเป็นปัญหาที่หยิบยกมาพูดถึงเสมอ แต่เรื่อง "คุณภาพ" ระหว่างทางในการพัฒนาและฝึกหัดครู ควรมีมาตรการเสริม เพิ่มเติม และกำกับนิเทศก์ติดตามผู้เรียน อัดฉีดงบเพื่อการพัฒนาที่เหมาะสม ฯลฯ จากนี้ต่อไปต่างหากต้องขบให้แตกว่าอะไรคือดีที่สุด

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ เผยแพร่: 20 ต.ค. 2561 10:51 น. 
  • 20 ต.ค. 2561 เวลา 15:20 น.
  • 3,815

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^