LASTEST NEWS

28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.เชียงราย - ผลย้ายครู 2567 สพม.เชียงราย 28 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครราชสีมา เขต 6 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 6 28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.พิจิตร เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 7 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 27 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3 28 มี.ค. 2567สพม.บึงกาฬ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

ศธ.ไม่ปรับหลักสูตร เน้น นร.ลงมือทำ ช่วยเพิ่มขยับร่างกาย วาดฝัน “เดิน-ขี่จักรยาน” มา ร.ร.แบบญี่ปุ่น

  • 14 ก.ย. 2561 เวลา 07:32 น.
  • 2,243
ศธ.ไม่ปรับหลักสูตร เน้น นร.ลงมือทำ ช่วยเพิ่มขยับร่างกาย วาดฝัน “เดิน-ขี่จักรยาน” มา ร.ร.แบบญี่ปุ่น

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ศธ.ไม่ปรับหลักสูตร เน้น นร.ลงมือทำ ช่วยเพิ่มขยับร่างกาย วาดฝัน “เดิน-ขี่จักรยาน” มา ร.ร.แบบญี่ปุ่น

ศธ.ชู Active Learning หนุนเพิ่มกิจกรรมทางกาย “นักเรียน” ยันไม่ต้องปรับหลักสูตรใหม่ ขอ “ครู” ออกแบบการสอนเน้นลงมือทำ เรียนรู้นอกห้อง ไม่ใช่แค่นั่งเรียนทฤษฎี หนุนมีเอกเซอร์ไซส์ 10-15 นาทีก่อนเรียนเช้า-บ่าย ทำกิจกรรมร่วมชุมชนโดยรอบ ตั้งเป้าเหมือนญี่ปุ่น ให้ นร.เดิน-ขี่จักรยานมา ร.ร. หากเส้นทางปลอดภัย

นางวัฒนาพร ระงับทุกข์ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงการเดินหน้าตามแผนกิจกรรมทางกายระดับชาติ พ.ศ. 2561-2573 เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มวัยเรียนมีกิจกรรมทางกายที่เพิ่มขึ้น หลังพบกลุ่มเด็กและวัยรุ่นมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอน้อยที่สุด ว่า จริงๆ แล้ว ศธ.มีการส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา มีกิจกรรมทางกายมาโดยตลอด ทั้งในแง่นโยบายและการออกระเบียบให้สถานศึกษาปฏิบัติ อย่างที่ผ่านมาก็จะมีการเดินเปลี่ยนห้องเรียน การมีชั่วโมงเรียนที่ให้เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกาย ทั้งพลศึกษา เกษตร ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด รวมไปถึงการมีชมรมต่างๆ เพียงแต่แผนดังกล่าวจะทำให้เกิดความชัดเจนและเข้มข้นขึ้น ซึ่งมองว่าไม่ต้องไปออกกฎระเบียบอะไรเพิ่มเติม แต่ต้องส่งเสริมให้สถานศึกษาเห็นความสำคัญของเรื่องเหล่านี้ และจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมต่างๆ ที่ให้นักเรียนมีกิจกรรมทางกายเพิ่มมากขึ้น เช่น โรงเรียนอาจกำหนดให้มีการออกกำลังกาย 10-15 นาที ก่อนเข้าเรียนตอนเช้าและตอนบ่าย เพื่อให้เกิดความตื่นตัวในการเรียน นอกจากนี้ อาจจะต้องไปร่วมกับชุมชน โรงพยาบาล ศาสนสถานบริเวณโดยรอบ เพื่อให้นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรม เช่น กีฬา การบำเพ็ญประโยชน์ต่างๆ ก็จะช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวได้ เป็นต้น

เมื่อถามว่า ต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรใหม่หรือไม่ เพื่อให้เรียนในห้องน้อยลง เรียนรู้นอกห้องและมีกิจกรรมต่างๆ เพิ่มขึ้น เหมือนการศึกษาประเทศญี่ปุ่น นางวัฒนาพร กล่าวว่า ในอนาคตเราก็อยากให้การศึกษาไทยเป็นไปเช่นนั้น แต่เรื่องของหลักสูตรการเรียนการสอนคงไม่ต้องปรับปรุงอะไร แต่สิ่งที่ต้องดำเนินการ คือ ครูต้องออกแบบการเรียนการสอนที่ไม่ใช่เน้นวิชาการ หรือการนั่งเรียนอยู่ภายในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว ซึ่งวิชาไหนที่เป็นเรื่องทฤษฎีก็สอนในห้องไปแต่วิชาไหนที่สามารถประยุกต์ให้มีกิจกรรมเข้ามาได้ หรือทำให้เด็กได้ออกไปเรียนรู้ ไม่ต้องนั่งอยู่แต่ในห้องเรียนอย่างเดียว ตรงนี้ครูก็ต้องไปออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้อง ซึ่งตรงนี้จะช่วยให้เด็กมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นได้ และเด็กไม่ต้องนั่งเรียนกันหนักเพียงอย่างเดียว

“ทุกวันนี้ครูก็เริ่มเข้าใจคอนเซ็ปต์เหล่านี้มากขึ้นแล้ว เพราะ ศธ.เราก็ขับเคลื่อนเรื่อง Active Learning มาประมาณ 2-3 ปี ครูก็เริ่มปรับตัวในการจัดการเรียนการสอนใหม่ รวมไปถึงเราเริ่มขับเคลื่อนไปสู่การเรียนการสอนที่เรียกว่า Play & Learn และ Learning by Doing และการลดชั่วโมงเรียนเพิ่มเวลารู้ ซึ่งมองว่าสามารถเข้ามาช่วยเรื่องกิจกรรมทางกายให้มากขึ้นได้ ตอนเช้าอาจจะเน้นทฤษฎี บ่ายไปเรียนอะไรที่ช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหว ไปออกกิจกรรม ไปทำการทดลอง” นางวัฒนาพร กล่าว

นางวัฒนาพร กล่าวว่า นอกจากการจัดสิ่งแวดล้อมและกิจกรรมภายในสถานศึกษาแล้ว การเพิ่มกิจกรรมทางกายที่คิดว่าในอนาคตเราน่าจะทำ คือ การให้นักเรียนเดินหรือขี่จักรยานมาโรงเรียนแบบประเทศญี่ปุ่น แต่สิ่งสำคัญคือ เส้นทางมาโรงเรียนจะต้องปลอดภัยด้วย และยังต้องสร้างเข้าใจแก่ผู้ปกครอง ซึ่งทุกวันนี้ก็เข้าใจว่า ผู้ปกครองบางส่วนรักและห่วงลูกมาส่งถึงหน้าประตูโรงเรียน หากส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจ ก็มีโอกาสเป็นไปได้ที่จะออกนโยบายให้นักเรียนมาโรงเรียนเองด้วยการเดินหรือขี่จักรยาน ซึ่งหากสามารถขับเคลื่อนในเรื่องนี้ได้ นักเรียนจะมีกิจกรรมทางการเพิ่มขึ้นมาก

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ เผยแพร่: 13 ก.ย. 2561 12:38 น.
  • 14 ก.ย. 2561 เวลา 07:32 น.
  • 2,243

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^