LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพม.ขอนแก่น รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 19 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 16 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 12 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567อ.ก.ค.ศ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 901 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.กำแพงเพชร รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 9 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

นายกฯติงปฏิรูปการศึกษาช้า

  • 25 เม.ย. 2561 เวลา 07:49 น.
  • 2,036
นายกฯติงปฏิรูปการศึกษาช้า

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

นายกฯติงปฏิรูปการศึกษาช้า
บอร์ด กอปศ.เคาะ 2 ประเด็นใน ร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ “หมอจรัส”เผยนายกฯให้คิดปฏิรูปการศึกษาเปลี่ยนอย่างไร จึงจะมีความหมายต่อประชาชนและนักเรียน ชี้ที่ทำอยู่ช้า

วันนี้( 24 เม.ย.)ศ.นพ.จรัส  สุวรรณเวลา ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) เปิดเผยภายหลังการประชุม กอปศ. ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ โดยมองความจำเป็น 3 ประการ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560  พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ที่ใช้อยู่ปัจจุบัน และ สถานการณ์ที่เป็นความต้องการของคนในอนาคต  ซึ่งมีประเด็นที่เห็นตรงกันแล้ว 2 เรื่องคือ การเกิดสถาบันพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน  และข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการให้การศึกษาแก่ผู้ที่มีการบกพร่องทางด้านร่างกาย สติปัญญา และผู้ที่มีความสามารถพิเศษด้านต่างๆ ที่น่าจะได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเต็มสมรรถนะของตนเอง ตลอดจนผู้ที่มีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษในลักษณะต่าง ๆ โดยวิธีการดูแลบุคคลเหล่านี้ คือ การเรียนร่วม อยู่ในระบบการศึกษาปกติที่ปรับให้รับคนเหล่านี้ได้ และการมีสถานศึกษาเฉพาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถเข้าร่วมในสถานศึกษาตามปกติได้ ทั้งนี้ ตั้งเป้าหมายว่า ร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ น่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายนนี้

“ ร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ ขณะนี้มีอยู่ 106 มาตรา แต่ระหว่างการพิจารณาอาจจะมีการปรับลดลงอีก พ.ร.บ.ฉบับนี้เป็นเหมือนกับธรรมนูญการศึกษา ที่ต้องมีกฎหมายลูก ซึ่งเริ่มมีออกมาแล้ว เช่น ร่างพ.ร.บ.กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา  ร่าง พ.ร.บ.การอุดมศึกษา และ ร่างพ.ร.บ.การพัฒนาเด็กปฐมวัย นอกจากนี้อยู่ระหว่างจัดทำร่างพ.ร.บ.โรงเรียนในกำกับของรัฐ ร่าง พ.ร.บ.เขตพื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษา เป็นต้น” ศ.นพ.จรัส กล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตามในการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติที่มี พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ทาง กอปศ.ได้นำเสนอแผนชาติด้านการศึกษา เข้าที่ประชุมเป็นเรื่องเพื่อทราบ แต่นายกฯได้ใช้เวลากับเรื่องการศึกษาเกือบครึ่งหนึ่งของเวลาการประชุมทั้งหมด พร้อมทั้งให้ข้อสังเกตในแต่ละประเด็น เช่น เรื่องสถาบันพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน นายกฯเห็นด้วยว่าเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ต้องไปดูว่า องค์กรที่มีอยู่เดิมซ้ำกับองค์กรที่เกิดใหม่อย่างไร และถ้าซ้ำก็ให้มารวมกับองค์กรใหม่  ซึ่งชัดเจนว่านายกฯ เห็นเรื่องการปฏิรูปการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องมี และบอกว่าประเด็นที่นายกฯสั่งการมา และเรื่องที่กำลังทำอยู่มันช้า จริงๆแล้วประชาชนเฝ้าดูว่า เปลี่ยนอย่างไรจึงจะมีความหมายจริง ๆ ต่อประชาชนและนักเรียน  ซึ่งเรื่องนี้ กอปศ.ก็ต้องนำมาดูเพิ่มเติม

ดร.ชัยพฤกษ์  เสรีรักษ์   เลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) กล่าวว่า สถาบันพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน จะดูแลหลักสูตรและการเรียนการสอนตั้งแต่ก่อนวัยเรียน ถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย ทั้งสายสามัญและสายอาชีพ ภารกิจดูทั้งเรื่องหลักสูตรการเรียนการสอน การประเมินผล  และสื่อทั้งสื่อสิงพิมพ์ สื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ รวมทั้งจะมีการจัดกลไกความเชื่อมโยงระหว่างตัวสถาบันกับหน่วยงานส่วนกลางในระดับประเทศ ระดับจังหวัด ระดับพื้นที่และสถานศึกษา ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งการปฏิรูปการศึกษาในรอบนี้เน้นการเรียนตลออดชีวิต เพราะฉะนั้น ระบบการเรียนทั้งหมดต้องสามารถเชื่อมโยง ผู้เรียนสามารถเปลี่ยนผ่าน เทียบโอนการเรียนได้ในทุกช่องทาง.    
 
ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันอังคารที่ 24 เมษายน 2561 เวลา 13.49 น.
  • 25 เม.ย. 2561 เวลา 07:49 น.
  • 2,036

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^