LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567สพป.เลย เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เลย เขต 2 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ร้อยเอ็ด เขต 2 24 เม.ย. 2567สพป.สกลนคร เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สกลนคร เขต 2 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 5 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 27 อัตรา - รายงานตัว 1 พฤษภาคม 2567 24 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 2 24 เม.ย. 2567สพม.น่าน ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.น่าน 24 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 4 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 4 24 เม.ย. 2567สพป.กระบี่ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.กระบี่

สพฐ.ไม่ทิ้งเด็กพิเศษทุกประเภท

  • 02 มี.ค. 2561 เวลา 05:39 น.
  • 2,988
สพฐ.ไม่ทิ้งเด็กพิเศษทุกประเภท

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

สพฐ.ไม่ทิ้งเด็กพิเศษทุกประเภท
สพฐ.เตรียมฝึกทักษะวิชาชีพให้เด็กพิเศษก่อนจบ เพื่อทำงานได้ วอนผู้ปกครองมั่นใจรัฐไม่ทิ้งเด็กพิเศษทุกประเภท เล็งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมเด็กพิเศษ

วันนี้(26 ก.พ.)ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.) เปิดเผยถึงแนวทางส่งเสริมการมีงานทำของเด็กพิการ ว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) ได้ร่วมกับสถานประกอบการ ภาคเอกชน โรงเรียนเพื่อคนพิการ รวมถึงกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้จัดเตรียมเด็กพิการที่เรียนอยู่ในโรงเรียนการศึกษาพิเศษ ให้มีความรู้ทักษะวิชาชีพ นอกจากทักษะความรู้วิชาสามัญพื้นฐาน เพื่อให้สามารถดำรงชีพได้ภายหลังเรียนจบจากโรงเรียน ซึ่งเราจะต้องเตรียมการเพื่อให้เด็กมีทักษะพื้นฐานงานอาชีพก่อนที่จะจบออกไป เพราะนักเรียน ม.ปลาย จะเริ่มค้นพบแล้วว่า ตัวเองมีความถนัดด้านไหนหรือต้องการทำอาชีพอะไร ซึ่งเราก็ต้องช่วยเหลือเตรียมความพร้อมให้ 
  
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่พบก่อนหน้านี้ คือ แม้เราจะฝึกให้เด็กมีทักษะอาชีพติดตัวแล้ว แต่เมื่อเด็กเรียนจบก็ยังพบว่า เด็กไม่รู้ว่าจะต้องไปทำงานอะไร ที่ไหน ถ้าเราไม่ได้รับความร่วมมือจากสถานประกอบการที่มีเมตตาจิตรับเด็กพิการไปทำงานโครงการก็คงไม่ประสบความสำเร็จ แต่ถือเป็นความโชคดีของประเทศไทยที่มีผู้ประกอบการ ทั้ง ห้าง ร้าน โรงแรม หรือ ร้านอาหาร กว่า 30 แห่ง เห็นความสำคัญและเปิดโอกาสรับเด็กพิการเข้าไปทำงาน ซึ่งถือเป็นความสำเร็จและเป็นความดีงามที่เกิดขึ้นในประเทศไทย เป็นมิติที่สังคมควรรับรู้ โดยเฉพาะสิ่งที่อยากให้ผู้ปกครองที่มีลูกพิการด้านใดด้านหนึ่งรับรู้ด้วยว่า สังคมของเรายินดีดูแลลูกหลานของท่านตั้งแต่เข้าเรียน จบแล้วมีงานทำ จึงอยากให้ผู้ปกครองกล้าที่จะก้าวออกมาให้พวกเราดูแล และขอให้มั่นใจว่าทั้งภาครัฐและเอกชนพร้อมที่จะดูแลลูกหลานของท่าน
 
“รมว.ศึกษาธิการ มีนโยบายชัดเจนเรื่องการดูแลการศึกษาพิเศษว่า ต้องให้คำจำกัดความให้ชัดเจนว่าเราจะดูเด็กแต่ละประเภทอย่างไร และได้มอบให้ ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการสภาการศึกษา เร่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาและให้คำเสนอแนะการปรับปรุงโครงสร้างขององค์กรที่จะดูแลเด็กพิการโดยเฉพาะให้มีความชัดเจน โดยเป็นองค์กรที่มีความเป็นอิสระ และมีสถานะที่จะทำงานได้คล่องตัวมากขึ้น ซึ่ง สพฐ.ก็เห็นด้วยที่จะให้มีหน่วยงานดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ  ส่วนเรื่องเด็กที่มีความสามารถพิเศษ ตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  ก็กำหนดให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลเช่นกัน แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่มีการตั้งคณะกรรมการเลย  ผมจึงมอบหมายให้นางสุกัญญา งามบรรจง รองเลขาธิการ กพฐ.ไปดูข้อกฎหมาย เพื่อเตรียมข้อมูลเสนอต่อ รมว.ศึกษาธิการ เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเด็กที่มีความสามารถพิเศษ แล้ว “ดร.บุญรักษ์กล่าว   

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 15.31 น.  
  • 02 มี.ค. 2561 เวลา 05:39 น.
  • 2,988

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^