LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 26 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ชลบุรี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชลบุรี เขต 3 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สงขลา เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.สงขลา เขต 1 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.พิจิตร เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.พิจิตร เขต 2 29 มี.ค. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.เพชรบุรี รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 7 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

ขอความชัดเจนจาก ก.ค.ศ. 'ไม่จบครู-ไม่มีตั๋วครู' สอบครูได้

  • 10 ก.พ. 2561 เวลา 19:08 น.
  • 27,491
ขอความชัดเจนจาก ก.ค.ศ. 'ไม่จบครู-ไม่มีตั๋วครู' สอบครูได้

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ขอความชัดเจนจาก ก.ค.ศ. 'ไม่จบครู-ไม่มีตั๋วครู' สอบครูได้

สภาคณบดีครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์ ขอความชัดเจนเกณฑ์คัดเลือก"ครูผู้ช่วย"แบบใหม่ "ไม่จบครู-ไม่มีตํ๋วครู"สอบครูได้" จาก ก.ค.ศ.วอนพิจารณารอบคอบ หวั่นแรงต้านลุกฮือ!!

เมื่อวันที่ 10 ก.พ.2561 รองศาสตราจารย์ดร.ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์ -ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย ( ส.ค.ศ.ท. ) เปิดเผย "คมชัดลึกออนไลน์" ถึงการจัดทำร่างหลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วยแบบใหม่ว่า ก.ค.ศ.จะเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาปรับเนื้อหาการสอบภาค ก (ความรอบรู้และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความประพฤติและการปฏิบัติของวิชาชีพ) ให้สอดคล้องกับข้อสอบภาค ก ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.)

โดยตัดเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพครูให้ไปรวมไว้ในการสอบภาค ข (ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง) ซึ่งจะทำให้เนื้อหาการสอบภาค ก เป็นการสอบความรู้พื้นฐานทั่วไป ส่วนการการสอบภาค ข. จะมีเนื้อหาวิชาชีพจะเน้นหนักในการคัดเลือกครู ดังที่เป็นข่าวไปแล้วนั้น

"ทางสภาคณบดีคณะครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์ฯ ไม่ขัดข้องถ้าจะให้ใช้ข้อสอบภาค ก. ชุดเดียวกันกับก.พ. เพราะจะทำให้ขั้นตอนการสอบลดลง อย่างไรก็ตามการที่สำนักงาน ก.ค.ศ.มีความเห็นว่าในอนาคตอาจให้ผู้ที่สอบผ่านภาค ก ของ ก.พ.สามารถมาสมัครสอบภาค ข. เพื่อบรรจุเป็นข้าราชการครูได้นั้น สภาคณบดีฯยังมีความสงสัยว่า ก.ค.ศ. หมายความว่าจะเปิดโอกาสให้ผู้ที่ไม่ได้เรียนจบวิชาชีพครูมาแต่สอบผ่านภาค ก. ของก.พ.มาสอบภาค ข. วิชาชีพครูได้ด้วยใช่หรือไม่ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริง บุคคลเหล่านี้ก็จะมีสิทธิขอสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูโดยไม่ต้องเรียนจบครูมาก่อนก็ได้ด้วยใช่หรือไม่ ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจขัดกับกฎหมายหลายข้อ"

เช่น พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษาที่กำหนดไว้ว่า ผู้ขอรับอนุญาตประกอบวิชาชีพครูต้องมีวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาหรือเทียบเท่าหรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรองและผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่คุรุสภากำหนด โดยมีข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพครู พศ.2546 กำหนดใหหลักสูตรวิชาชีพครู้องเรียน 4 ปี ฝึกสอน 1 ปี รวมเป็น 5 ปี ดังนั้น พ.ร.บ.ดังกล่าวจึงไม่อนุญาตให้ผู้ที่ไม่ได้เรียนจบป.ตรี สาขาวิชาชีพครูเข้ามาขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้

"โดยพ.รบ.ดังกล่าวกำหนดขึ้นมีจุดประสงค์เพื่อเป็นการยกระดับวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง เป็นวิชาชีพควบคุมเพื่อให้มีความเข้มแข็ง มีคุณภาพ มาตรฐาน มีคุณค่าและศักดิ์ศรีของวิชาชีพ ผู้ที่ไม่ได้รับการอบรมบ่มเพาะมาแล้วเป็นอย่างดีไม่อาจให้เข้าไปประกอบวิชาชีพครูได้เช่นเดียวกับวิชาชีพควบคุมอื่นที่ไม่อนุญาตให้ผู้เรียนจบสาขาวิชาอื่นๆหรือไม่ได้รับการอบรมตามมาตรฐานเข้ามาประกอบอาชีพเช่น ทหาร แพทย์ พยาบาล วิศวกร สถาปนิก นักบัญชี ทนายความ เป็นต้น "
ดังนั้นแนวคิดของ ก.ค.ศ.ดังกล่าวจึงต้องขอความชัดเจนเพราะจะเป็นการสร้างความสับสนปั่นป่วนขึ้นในวงการผลิตครูและวิชาชีพครูขึ้นอีก

ทั้งนี้สภาคณบดีได้โทรศัพท์สอบถามไปยังก.ค.ศ.แล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจนบอกแต่เพียงว่าให้รอฟังประกาศ จึงใคร่ขอให้ ก.ค.ศ.พิจารณาให้รอบคอบรับฟังข้อมูลให้รอบด้านก่อนที่จะเสนอข้อมูลและมีการประกาศออกมา เพราะแนวคิดแบบนี้ได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วครั้งหนึ่งเมือปีที่แล้วที่อนุญาตให้ผู้ไม่ได้เรียนจบครูและไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูมาสอบบรรจุเป็นครูได้ ทำให้เกิดการประท้วง คัดค้านทั่วทุกภูมิภาค และมีการล่ารายชื่อครู ผู้บริหาร อาจารย์ นิสิตครู และผู้ปกครอง เพื่อยื่นถึงรัฐบาลมาแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งบุคคลที่สอบบรรจุเป็นครูได้แล้วเหล่านั้นปัจจุบันนี้ก็ยังไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูเลย

สภาคณบดีฯซึ่งเป็นสภาของสถาบันการผลิตครูของประเทศไทยที่ประกอบด้วยสมาชิก 84 สถาบัน เกี่ยวข้องกับคุณภาพและมาตรฐานของวิชาชีพครูโดยตรงและมองเห็นปัญหาและมีการศึกษาข้อมูลเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งมาโดยตลอด ก็ได้เคยแสดงจุดยืนและคัดค้านแนวคิดดังกล่าวมาแล้วครั้งหนึ่งและไม่เห็นด้วยกับแนวคิดแบบนี้

จึงใคร่ขอแจ้งให้ทุกคนทราบและทำความเข้าใจว่า นับตั้งแต่มีการปฏิรูปการศึกษาและปฏิรูปการผลิตครูเมื่อปี 2546 เป็นต้นมา ได้มีการกำกับ ควบคุมมาตรฐานวิชาชีพครูมาเป็นอย่างดีทั้งมาตรฐานการรับผู้เข้ามาเรียน มาตรฐานหลักสูตร มาตรฐานการผลิตและมาตรฐานบัณฑิต มีผลทำให้วิชาชีพครูในปัจจุบันได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมในลำดับสูงมากมีอัตราผู้สมัครเข้าเรียนและมีผลคะแนนสอบเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยอยู่ในระดับสูงไม่เหมือนเดิมดังแต่ก่อนเก่าอีกต่อไปแล้ว ซึ่งผู้ที่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องนี้ ยังมีความคิดและทัศนคติเดิมๆเพราะไม่ได้คลุกคลีใกล้ชิด ไม่ได้ติดตามข้อมูล จึงอาจยังไม่ทราบว่าสถานการณ์ผลิตครูได้เปลี่ยนไปในทางที่ดีและมีมาตรฐานขึ้นมากแล้ว

ผู้บริหารและหน่วยงานระดับสูงที่ยังไม่ทราบข้อมูลนี้ มักจะกำหนดนโยบายและวิธีการต่างๆที่พยายามจะเอาคนเก่งคนดีสาขาอื่นๆบรรจุเข้ามาเป็นครู โดยไม่รู้ว่าแทนที่จะได้คนดีมีคุณภาพมาเป็นครู กลับจะได้คนที่ไม่ตั้งใจมาเป็นครูแต่อยากจะเป็นครู(ด้วยเหตุผลหลากหลายและความจำเป็นบางอย่าง)

ส่งผลให้ได้ครูที่ไม่มีคุณภาพ ไม่มีคุณลักษณะของความเป็นครู เพราะไม่ได้รับความรู้ ทักษะที่ดี ไม่ได้รับการขัดเกลาบ่มเพาะคุณลักษณะและจิตวิญญาณของความเป็นครูเพื่อที่จะมาเป็นครูที่ดีพอ ส่งผลให้คุณภาพการศึกษาของประเทศด้อยคุณภาพเป็นอย่างมาก

"วิชาชีพครูของเราพัฒนาและก้าวหน้ามาไกลแล้ว อย่าถอยหลังกลับไปที่เดิมอีกเลย"

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561
  • 10 ก.พ. 2561 เวลา 19:08 น.
  • 27,491

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^