LASTEST NEWS

19 มี.ค. 2567“สุรินทร์” ผู้ช่วยเลขาธิการกพฐ.ป้ายแดง เผยการเลื่อนสอบบรรจุครู ว16 ว17 และ ว14 ไม่กระทบการเรียนการสอนของเด็ก ยืนยันบรรจุครูทันเปิดเทอมแน่นอน 17 มี.ค. 2567ราชกิจจานุเบกษา ประกาศข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567 17 มี.ค. 2567โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาไทย เงินเดือน 12,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 22 - 26 เมษายน พ.ศ. 2567 17 มี.ค. 2567ด่วน! กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ 15 วิชาเอก 730 อัตรา รับสมัคร รอบที่ 1 ตั้งแต่ 20-26 มี.ค.2567 และรอบที่ 2 ตั้งแต่ 31 พ.ค.-14 มิ.ย.2567 16 มี.ค. 2567โรงเรียนหนองแค“สรกิจพิทยา” รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 12,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม - 24 มีนาคม 2567 16 มี.ค. 2567โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดน้อยใน)ในพระราชูปถัมภ์ฯ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาสังคมศึกษา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้-22 มีนาคม 2567 16 มี.ค. 2567โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2 รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่ 18-22 มี.ค.2567 16 มี.ค. 2567สพฐ. สั่งเด้งด่วน! ผอ.หวงเก้าอี้ ฮึ่มเร่งสอบข้อเท็จจริง ภายใน 7 วัน 16 มี.ค. 2567สพฐ. สั่ง ผอ.เขต รายงานด่วน ”ผอ.โรงเรียนหวงเก้าอี้“ พร้อมกำชับให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย 16 มี.ค. 2567โรงเรียนบางปะอิน "ราชานุเคราะห์ 1" รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 11 – 20 มีนาคม 2567 เว้นวันหยุดราชการ 

คืนครูให้นักเรียน

  • 16 ม.ค. 2561 เวลา 21:31 น.
  • 11,895
คืนครูให้นักเรียน

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

คืนครูให้นักเรียน

ปัญหาหนึ่งที่ทำให้ครูไม่มีเวลาทำหน้าที่ครูเต็มที่ กระทบกับคุณภาพครู คุณภาพการสอน เท่าที่ผมฟังเสียงสะท้อนจากครูและผู้บริหารโรงเรียน พบว่า ปัญหา มาจากการที่ครูต้องไปทำหน้าที่อื่นๆ ทั้งการบริหาร งานธุรการ และกิจกรรมนอกโรงเรียนตามที่หน่วยงานต่างๆ กระทรวงต่างๆ ขอความร่วมมือมา

เฟซบุ๊ก Chaturon Chaisang
หลายเรื่องเป็นกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวกับการศึกษาเลย

มีข้อมูลว่า แต่ละโรงเรียนจะได้หนังสือสั่งการจาก สพฐ.หรือกระทรวงศึกษาฯนับพันฉบับต่อปี ทั้งเกี่ยวและไม่เกี่ยวข้องกับหน้าที่โดยตรง แล้วยังมีการขอความร่วมมือสารพัดจากหน่วยงานต่างๆในจังหวัด ซึ่งบางครั้งอาจพอถือได้บ้างว่าเป็นกิจกรรมทางสังคม แต่หลายๆ กรณีมันเกินหน้าที่ไปไกล ทำให้ทั้งครูและนักเรียนไม่ได้เรียน ไม่ได้ทำกิจกรรมที่ควรจะทำ หรือมีเวลามาเรียนน้อยลง

จากการสำรวจพบว่าครูมีภารกิจที่ทำให้ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนตามปกติได้ถึงเทอมละ 84 วัน หรือ 42% ของวันเปิดเรียน

ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก และเคยพูดอยู่เสมอว่า ต้องคืนครูให้นักเรียน หมายถึงครูที่ทำหน้าที่ครู ไม่ใช่ผู้ที่ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกให้ผู้หลักผู้ใหญ่ หรือเป็นเจ้าหน้าที่ธุรการ ไปจนถึงภารโรง

เรื่องนี้ต้องทำอย่างจริงจัง ซึ่งก็หมายถึงจะต้องปรับปรุงโครงสร้างให้มีเจ้าหน้าที่ทำงานธุรการแทนครู ผู้บริหารการศึกษาบางประเทศฟังปัญหาของประเทศไทยแล้วบอกว่า ประเทศของเขาคนทำธุรการหรืองานอื่นๆ ต้องรับเจ้าหน้าที่เฉพาะ ธุรการก็ต้องให้ธุรการทำ จะให้ครูไปทำทำไม?!

นี่เป็นปัญหาเรื่องการจัดสรรทรัพยากรที่เหมาะสม เราไม่ได้ดูแลเรื่องการจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพ ครูจำนวนมากจึงต้องเป็นเจ้าหน้าที่ธุรการ ภารโรงด้วย โดยเฉพาะในโรงเรียนเล็กๆ

จากนี้ไปในอนาคต จำนวนเด็กทั่วประเทศจะน้อยลง เพราะฉะนั้นความจำเป็นที่จะเพิ่มครูมาขึ้นบัญชีไว้ก็ไม่มี การใช้ครูไปทำอย่างอื่นที่ไม่ใช่งานสอนให้น้อยลงจะเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างรู้ค่า และการจ้างเจ้าหน้าที่ธุรการ หรือภารโรงเป็นหน้าที่เฉพาะ จะใช้ค่าใช้จ่ายต่ำกว่าจ้างครู ทำให้เงินงบประมาณส่วนนี้จะลดน้อยลงด้วย

เรื่องการจัดสรรทรัพยากรที่ไม่มีประสิทธิภาพ สูญเปล่าทำนองนี้ยังมีอีกมาก ซึ่งเราควรจะได้หยิบยกมาพูดกันต่อไป

ถ้าพูดเร็วๆ อาจจะพอพูดได้ว่าต้องให้เขตพื้นที่ และโรงเรียนไปคิดกันให้มากขึ้น โดยเอาประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนเป็นตัวตั้ง

แต่ทั้งนี้ ผมก็ไม่ได้เสนอแบบสุดโต่งว่า “ให้เขตพื้นที่หรือโรงเรียนไปคิดกันเอาเองทุกเรื่อง” เพราะหากเสนอเช่นนั้น เราก็จะพบว่าสิ่งที่ประเทศต้องการในภาพรวม ก็จะไม่เกิดขึ้นเช่นกัน

ถ้าให้โรงเรียนทำตามอัธยาศัย โรงเรียนต่างๆ เกิดตัดสินใจสอนภาษาจีนกันเต็มไปหมด ซึ่งเมื่อมองในภาพรวมทั้งประเทศแล้ว ที่จริงควรจะสอนไม่กี่หมื่นคนเท่านั้น เช่นนี้ก็จะกลายเป็นความสูญเปล่าอย่างมหาศาล

ดังนั้น ในเรื่องคืนครูให้นักเรียน ส่วนกลางจะต้องวางระบบหลักเกณฑ์เสียใหม่ให้ดี ต้องลดการสั่งการและขอความร่วมมือจากครูและโรงเรียนในเรื่องที่ไม่ใช่การศึกษาให้น้อยลง และให้เป็นดุลยพินิจของโรงเรียนและครูมากขึ้นว่า จะไปร่วมในกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานักเรียนหรือไม่

นอกจากนี้ อาจเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการกำหนดแบ่งสัดส่วนเวลาที่ครูพึงมีสำหรับการสอน กับเวลาในการรับการประเมินหรือพัฒนา ว่าควรเป็นสัดส่วนเท่าไร

ให้ครูได้สอน ได้รับการพัฒนา ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการเรียนการสอน และได้รับการประเมินให้สมดุลกัน

........

จากหนังสือ "เปิดมุมคิด พลิกวิกฤตการศึกษาไทย"

กันยายน พ.ศ.2559

ที่มา www.facebook.com/Chaturon.FanPage

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ วันที่ 16 มกราคม 2561 เวลา 14:06 น.
  • 16 ม.ค. 2561 เวลา 21:31 น.
  • 11,895

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^