LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

ไขปม..ชวดตั๋วครู!!

  • 15 พ.ย. 2560 เวลา 12:44 น.
  • 4,079
ไขปม..ชวดตั๋วครู!!

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ไขปม..ชวดตั๋วครู!!

คุรุสภากลายเป็นแพะมาตลอด ทั้งที่เราย้ำเตือน ทำความเข้าใจและชี้แจงทุกช่องทาง ถึงแนวทางข้อปฏิบัติที่ทุกมหาวิทยาลัยต้องปฏิบัติตามถือเป็นข้อตกลง 

       เหตุการณ์บัณฑิตครูหลักสูตร 5 ปี ร้องเรียนเพราะไม่ได้รับอนุมัติตั๋วครู หรือ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูจากสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ปรากฏให้เห็นบนพื้นที่ข่าวอยู่เนืองๆ ล่าสุดกรณีบัณฑิตครูมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ศูนย์ขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 120 คนที่เข้ารับการศึกษาในปี2555คณะครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ สาขาวิชาภาษาไทย และสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา ก็ซ้ำรอยปัญหาเดิม!!

      “คมชัดลึก”ได้สอบถามเรื่องนี้กับ ดร.สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์ รองเลขาธิการสภาการศึกษา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคุรุสภา อธิบายต้นเหตุของปัญหา เรื่องนี้ไว้ว่า การที่นักศึกษาไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ก็ต้องย้อนไปที่ต้นทาง คือ หลักสูตรไม่ผ่านตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (ทีคิวเอฟ) ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กำหนด ที่สำคัญต้องไม่ลืมด้วยว่าอำนาจในการอนุมัติเปิดหลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่งนั้น เป็นอำนาจของสภามหาวิทยาลัย ซึ่งก่อนเปิดรับนักศึกษาจะต้องส่งหลักสูตรมาให้คุรุสภาพิจารณาก่อนว่าเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพหรือไม่ ซึ่งการประเมินของคุรุจะยึดโยงกับการประเมินของ สกอ.ถ้าสกอ.ไม่รับทราบหลักสูตร คุรุสภาก็ไม่สามารถรับรองมาตรฐานวิชาชีพได้ 

ไขปม..ชวดตั๋วครู!!

        "แต่ที่ผ่านมาส่วนใหญ่มักจะเปิดรับนักศึกษา ทำการสอนไปสักระยะแล้วถึงจะส่งเรื่องมา และถ้าตรวจสอบแล้วพบว่าหลักสูตรดังกล่าวไม่ได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ คุรุสภาก็ไม่สามารถรับรองได้ เช่นนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของสภามหาวิทยาลัย”ดร.สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์ รองเลขาธิการสภาการศึกษา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคุรุสภา ชี้ต้นเหตุของปัญหา

         น่าสังเกตว่ากรณีเช่นนี้มักจะเกิดขึ้นกับสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษานอกที่ตั้ง.. ดร.สมศักดิ์ ยอมรับว่า ส่วนใหญ่แล้วหลักสูตรครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ที่เปิดสอนภายในที่ตั้งมักไม่ค่อยมีปัญหา เนื่องจากมีความพร้อมทั้งด้านบุคลากร อาคารสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อประโยชน์ในการจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ เช่น ห้องสมุด เป็นต้นตามเกณฑ์ของ สกอ. กรณีที่เป็นปัญหามักจะมีทั้งหลักสูตรไม่ผ่านเกณฑ์ สกอ. หรือผ่านแล้วแต่อยู่ในกระบวนการพิจารณาของคุรุสภา และก็มีที่บางหลักสูตรบางแห่งแห่งยังไม่ได้ส่งมาให้คุรุสภาเสียด้วยซ้ำแต่ไปเปิดรับนักศึกษามาก่อนและอ้างว่าหลักสูตรได้รับการรับรอง ทั้งที่ คุรุสภากำหนดชัดเจนว่าต้องยื่นคำร้องขอรับการประเมินก่อนเปิดสอนไม่น้อยกว่า 60 วันสุดท้ายนักศึกษาจบแล้วไม่ได้รับอนุมัติขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตฯ ผลกระทบก็ตกที่ผู้เรียน และก็ร้องเรียนมาที่คุรุสภา

ไขปม..ชวดตั๋วครู!!

ดร.สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์

       “คุรุสภากลายเป็นแพะมาตลอด ทั้งที่เราย้ำเตือน ทำความเข้าใจและชี้แจงทุกช่องทาง ถึงแนวทางข้อปฏิบัติที่ทุกมหาวิทยาลัยต้องปฏิบัติตามถือเป็นข้อตกลง ในหลายครั้งแก้ปัญหา เช่น ออกใบอนุญาตปฏิบัติการสอน มีอายุ 2 ปีต่อได้ 2 ครั้งรวม 4 ปีระหว่างนี้ก็ต้องดำเนินการให้ได้ใบอนุญาตฯตัวจริง บางคนก็มาสอบวัดมาตรฐานความรู้ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังประกาศรายชื่อหลักสูตรที่รับรองไว้บนเว็บไซต์คุรุสภา อีกด้วย สามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา"ปฏิบัติหน้าที่คุรุสภา ระบุ

       เวลานี้คุรุสภาอยู่ระหว่างพิจารณาหลักสูตรนอกที่ตั้งของมหาวิทยาลัย 3 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต (มสด.) ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปาง และศูนย์ฯสุพรรณบุรี ,มรภ.เลย ศูนย์ขอนแก่น จ.ขอนแก่น และมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย (มจร.) วิทยาเขตร้อยเอ็ด เปิดสอนภาคพิเศษ ซึ่ง มจร.แม้จะเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ แต่บริหารด้วยฆราวาสที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ตอนนี้คุรุสภาก็กำลังพิจารณาประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ

      มหาวิทยาลัยสามารถจัดการเรียนการสอนตามศักดิ์และสิทธิ์ของปริญญา แต่เมื่อจะเข้าสู่วิชาชีพก็ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ ดร.สมศักดิ์ อธิบายว่า พ.ร.บ.สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กำหนดว่าวิชาชีพครูเป็นวิชาชีพควบคุม ซึ่งทั้งครู ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา จะต้องขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตกอบวิชาชีพในแต่ละประเภท รวมถึงศึกษานิเทศก์ด้วย และในมาตรา 49 กำหนดเรื่องมาตรฐานวิชาชีพ ไว้ 3 มาตรฐาน ได้แก่ ความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ การปฏิบัติงาน และการปฏิบัติตน ขณะที่การประเมินและรับรองหลักสูตร ก็็จะดูมาตรฐานหลักสสูตร,การผลิตและมาตรฐานบัณฑิต

ไขปม..ชวดตั๋วครู!!

      “ที่เน้นเป็นพิเศษคือ มาตรฐานหลักสูตร ต้องครอบคลุมมาตรฐานวิชาชีพ เพราะถ้าปล่อยให้คนที่ไม่จบวิชาชีพครูโดยตรงมาเป็นครู ก็จะส่งผลต่อความเชื่อมั่น การประกันคุณภาพจะไม่เกิด ขณะที่การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาก็กำหนดไว้1ปีโดยมีเงื่อนไขต้องเป็นสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เท่านั้น ซึ่งจะมีการติดตามลงไปดูการปฏิบัติการสอนด้วย ยกเว้นผู้ที่เรียนป.บัณฑิตวิชาชีพครู ต้องทำแผนปฏิบัติการสอนมานำเสนอ ซึ่งหลักสูตรของสถาบันใดถูกต้อง ครบถ้วนตามมาตรฐานคุรุสภาก็จะรับรอง บัณฑิตที่จบในหลักสูตรนั้นๆก็ได้รับอนุมัติขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตฯ”ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคุรุสภา กล่าว

      ปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษาที่คุรุสภารับรองหลักสูตร ก็ส่งรายชื่อและจำนวนบัณฑิตที่จบการศึกษาในปีนั้นๆมาให้คุรุสภาผ่านระบบ KSP Bundit ถ้ากระบวนการทุกอย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ คุรุสภาขึ้นทะเบียนใบอนุญาตฯ ให้และกรอกเลขประจำตัว 13 หลักรับใบอนุญาตฯที่มหาวิทยาลัย หรือจุดบริการเขตพื้นที่การศึกษาได้ ซึ่งผู้ได้รับใบอนุญาตฯต้องต่ออายุทุก 5 ปี

ไขปม..ชวดตั๋วครู!!

      ส่วนแนวทางป้องกันเปิดหลักสูตรโดยไม่ขออนุญาต ดร.สมศักดิ์ บอกว่า เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 กำหนดไว้ว่าองค์กรวิชาชีพต้องไม่ก้าวก่ายกิจการของมหาวิทยาลัย ทำให้มหาวิทยาลัยมีอิสระจัดหลักสูตรมากขึ้น โดยขณะนี้คุรุสภาอยู่ระหว่างยกร่างมาตรฐานวิชาชีพใหม่ ซึ่งจะไม่ยุ่งในเรื่องของการผลิตบัณฑิต แต่จะเน้นการพัฒนาสมรรถนะ3ด้าน คือ ความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ,การปฏิบัติงาน และการปฏิบัติตน เมื่อจบนักศึกษาจะต้องสอบรับใบอนุญาตฯ ไม่ได้อัตโนมัติแบบที่ผ่านมา ถึงตอนนั้นก็จะได้เห็นว่าสถาบันใดผลิตบัณฑิตมีคุณภาพ หรือไม่มีคุณภาพ

       อย่างไรก็ตาม แนวทางนี้จะสอดรับกับการผลิตครูระบบปิด ที่กำหนดชัดเจนว่าสถาบันใดจะผลิตสาขาใด จำนวนเท่าไร โดยหน่วยงานที่ใช้ครูต้องมีฐานข้อมูลความต้องการชัดเจน ซึ่งนโยบายของรัฐบาลโดยนพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ แนวโน้มจะเป็นเช่นนี้และมีการประกันการมีงานทำด้วยป้องกันการเรียนแล้วขาดคุณภาพการันตีความเชื่อมั่นคุณภาพครู.

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก วันที่ 15 พฤศจิกายน 2560
  • 15 พ.ย. 2560 เวลา 12:44 น.
  • 4,079

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^