LASTEST NEWS

17 มี.ค. 2567ราชกิจจานุเบกษา ประกาศข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567 17 มี.ค. 2567โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาไทย เงินเดือน 12,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 22 - 26 เมษายน พ.ศ. 2567 17 มี.ค. 2567ด่วน! กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ 15 วิชาเอก 730 อัตรา รับสมัคร รอบที่ 1 ตั้งแต่ 20-26 มี.ค.2567 และรอบที่ 2 ตั้งแต่ 31 พ.ค.-14 มิ.ย.2567 16 มี.ค. 2567โรงเรียนหนองแค“สรกิจพิทยา” รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 12,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม - 24 มีนาคม 2567 16 มี.ค. 2567โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดน้อยใน)ในพระราชูปถัมภ์ฯ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาสังคมศึกษา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้-22 มีนาคม 2567 16 มี.ค. 2567โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2 รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่ 18-22 มี.ค.2567 16 มี.ค. 2567สพฐ. สั่งเด้งด่วน! ผอ.หวงเก้าอี้ ฮึ่มเร่งสอบข้อเท็จจริง ภายใน 7 วัน 16 มี.ค. 2567สพฐ. สั่ง ผอ.เขต รายงานด่วน ”ผอ.โรงเรียนหวงเก้าอี้“ พร้อมกำชับให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย 16 มี.ค. 2567โรงเรียนบางปะอิน "ราชานุเคราะห์ 1" รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 11 – 20 มีนาคม 2567 เว้นวันหยุดราชการ  16 มี.ค. 2567ครูจบใหม่เฮ! ขึ้นเงินเดือนครู ครูผู้ช่วยรับ 18,000 บาท เช็กฐานเงินเดือนครู

วิจัยชี้ชัด ร.ร.อยู่รอดต้องปฏิบัติตามนโยบายล่างสู่บน

  • 19 ส.ค. 2560 เวลา 10:08 น.
  • 8,563
วิจัยชี้ชัด ร.ร.อยู่รอดต้องปฏิบัติตามนโยบายล่างสู่บน

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

วิจัยชี้ชัด ร.ร.อยู่รอดต้องปฏิบัติตามนโยบายล่างสู่บน

เผยวิจัย แจงร.ร.ที่อยู่รอด ปฏิรูปการศึกษาประสบผลสำเร็จ ต้องขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาจากล่างสู่บน พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ ไม่ใช่การปฏิรูปแบบครึ่งๆกลางๆ
        จากการที่ได้ทำวิจัย เรื่องการสังเคราะห์รูปแบบการจัดการเรียนรู้ชุมชน โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน ผ่านเก็บข้อมูลภาคสนามทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาจากล่างสู่บน โดยได้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดเผยว่าโรงเรียนที่อยู่รอด เป็นแม่เหล็กของสังคมที่ดึงดูดคนมาเรียนได้ จะต้องเป็น โรงเรียนที่มีลักษณะดังนี้ ประการแรก เป็นโรงเรียนที่เปลี่ยนมุมมองจากการปฏิบัติตามนโยบายเป็นจากล่างสู่บน ประการที่สอง มีการกระจายอำนาจในรูปแบบ 60-20-20 คือ อำนาจการบริหารจัดการเป็นของโรงเรียนร้อยละ 60 , คณะกรรมการการศึกษาจังหวัด (กศจ.) ร้อยละ 20 ,อำนาจของกระทรวงศึกษาธิการร้อยละ 20 ประการที่สาม เป็นโรงเรียนนิติบุคคลและ มีโรงเรียนเครือข่าย โดยโรงเรียนกลุ่มนี้จะทำงานเป็นเครือข่ายร่วมกับโรงเรียนอื่นและชุมชน เพื่อแลกเปลี่ยนวิธีการคิด งบประมาณ  สร้างนวัตกรรม มีงานวิชาการและงานวิจัยรองรับ มีการลงมือปฏิบัติ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา และสามารถให้คำตอบเชิงนโยบายได้ ที่สำคัญในความเป็นนิติบุคคลควรต้องมีกฎหมายรองรับเขียนอำนาจหน้าที่ไว้ให้ชัดเจน

       ทั้งนี้ ส่วนระดับ กศจ. จะต้องแบ่งงานกับ ศึกษาธิการภาค และศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.)ให้ชัดเจน สำหรับกระทรวงศึกษาธิการนั้น ตนมีข้อเสนอให้บริหารจัดการโดยไม่มีกรม มีแต่ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และแบ่งงานโดยรวมกลุ่มงานเป็นคลัสเตอร์  4-5 กลุ่ม อาทิ กลุ่มที่ทำหน้าที่ดูแลเชิงนโยบาย แผนการศึกษา กฎหมายการศึกษา ,กลุ่มงานวิจัย หลักสูตร สร้างนวัตกรรม ,กลุ่มงบประมาณ, กลุ่มกำกับติดตามตรวจสอบ โดยเป็นการทำงานเชิงบูรณาการ ไม่มีแท่งใครแท่งมัน หรือ กรมใครกรมมัน แต่จะทำงานตามเนื้องาน


        “ผู้บริหารโรงเรียนต้องกล้าคิดนอกกรอบ ซึ่งเรามีตัวอย่างโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จเป็นต้นแบบ เช่น กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนบ้านเกาะคา จ.ลำปาง, กลุ่มเครือข่ายบ้านคูเมือง จ.อุบลราชธานี เป็นต้น หากสามารถเปลี่ยนวิธีคิดให้ขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาจากล่างสู่บนได้ผล จะทำให้การปฏิรูปการศึกษาประสบผลสำเร็จ ในลักษณะพลิกหน้ามือเป็นหลังมือ ตอบโจทย์ประเทศได้ ไม่ใช่การปฏิรูปแบบครึ่งๆกลางๆ ลูบหน้าปะจมูกอย่างที่ทำอยู่” ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก  วันที่ 16 สิงหาคม 2560
  • 19 ส.ค. 2560 เวลา 10:08 น.
  • 8,563

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^