LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.สกลนคร เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สกลนคร เขต 2 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 5 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 27 อัตรา - รายงานตัว 1 พฤษภาคม 2567 24 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 2 24 เม.ย. 2567สพม.น่าน ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.น่าน 24 เม.ย. 2567สพป.เชียงใหม่ เขต 4 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 4 24 เม.ย. 2567สพป.กระบี่ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.กระบี่ 24 เม.ย. 2567สพป.ราชบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 1 24 เม.ย. 2567สพป.จันทบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.จันทบุรี เขต 1

นานาชาติผลิตครู 3-4 ปี "ได้ครูดี-มีคุณภาพ"

  • 15 ก.ค. 2560 เวลา 11:12 น.
  • 14,337
นานาชาติผลิตครู 3-4 ปี "ได้ครูดี-มีคุณภาพ"

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

นานาชาติผลิตครู 3-4 ปี "ได้ครูดี-มีคุณภาพ"

สถานศึกษาในประเทศไทยมีหลายขนาด เด็กไทยมีศักยภาพหลากหลาย แต่การผลิตครูทั้งในอดีตและปัจจุบัน "ไม่ตอบโจทย์" การพัฒนาเด็กแต่ละโรงเรียนที่"แตกต่าง"กัน
          "ผลิตครูหลักสูตร 4 ปี นั้น ดิฉันเห็นว่าเป็นสิ่งที่ควรสนับสนุนเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุผล 5 ประการ ดังนี้ เนื่องจากประการแรกการปรับเป็นหลักสูตรการผลิตครู 5 ปีตั้งแต่ พ.ศ. 2547 ที่ผ่านมาไม่สามารถ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพของเด็กไทยอย่างเห็นได้ชัด เห็นได้จากผลการสอบ O-NET หรือ PISA ที่เด็กไทยมีแนวโน้มลดลงมาโดยตลอด" ผศ.ดร.พัทธนันท์ หรรษาภิรมย์โชค รองเลขาธิการศูนย์ประสานงานสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ(CHES) และอดีตรองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.)วิทยาเขตกำแพงแสน เปิดมุมมองหลังสรุปไม่ได้ว่าเรียนครูหลักสูตร4ปีหรือ5ปีอะไรดีกว่ากัน

         ผศ.ดร.พัทธนันท์ กล่าวอีกว่า ประการที่2.ใช้เวลาในการจัดการเรียน การสอนมากเกินไป เมื่อเทียบกับหลักสูตรการผลิตครูของนานาประเทศที่ปฏฆิรูปการศึกษาประสบความสำเร็จ ที่ได้คะแนนผลการสอบ PISA สูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งใช้ในการผลิตหลักสูตรครูเพียง 3 – 4 ปี ก็สามารถผลิตครูที่ดีมีคุณภาพได้ ซึ่งสถาบันการผลิตครูต้องตระหนัก ถึงหลักความคุ้มค่า ในการลงทุนด้านการผลิตครูว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่

         ประการที่ 3. ทำให้ผู้เรียนวิชาชีพครูเสียเปรียบด้านเศรษฐกิจ เมื่อเทียบกับวิชาชีพอื่น ซึ่งวิชาชีพอื่นใช้ระยะเวลาเพียง 4 ปี ก็สามารถประกอบอาชีพได้ รวมถึงการสร้างภาระให้กับพ่อแม่ผู้ปกครอง เนื่องจากต้องส่งบุตรหลานเรียนถึง 5 ปี แต่จบออกมาได้รับเงินเดือนไม่แตกต่างกับวิชาชีพอื่น ที่จบการศึกษาปริญญาตรี 4 ปี และเมื่อพิจารณารายได้ของครอบครัว นิสิตนักศึกษาที่มาเรียนวิชาชีพครูประสบปัญหาทางการเงินเป็นจำนวนมาก เห็นได้จากสถิติการกู้ยืมเงินกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.)กันเป็นจำนวนมาก  

         ประการที่ 4. หลักสูตรการผลิตครู 5 ปี ไม่ตอบสนองกับความต้องการของโรงเรียนในประเทศไทยได้จริง เห็นจากผลการวิจัยการประเมินหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ระบุถึงปัญหาของครูรุ่นใหม่ ที่เพิ่งบรรจุมีความอดทนน้อย และปรับตัวไม่ได้กับสภาพจริงที่โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)เพราะการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ อยู่บนมาตรฐานของโรงเรียนที่มีความพร้อมสูง แต่ชีวิตการเป็นครูจริงๆไม่มีโรงเรียนที่มีมาตรฐานทุกโรงเรียนในประเทศไทย 

 

นานาชาติผลิตครู 3-4 ปี "ได้ครูดี-มีคุณภาพ"

          “รวมถึงการทำวิจัยในชั้นเรียนที่ทำแบบ 5 บทเหมือนวิทยานิพนธ์ทั้งๆ ที่ความเป็นจริงในโรงเรียนเป็นเพียงแค่การแก้ปัญหากับผู้เรียนเป็นรายบุคคลซึ่งต้องอาศัยทักษะ ประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหา มีหลักจิตวิทยาที่ทันต่อเหตุการณ์ ไม่ใช่ห่วงแต่การทำเอกสารที่สมบูรณ์มากกว่า” ผศ.ดร.พัทธนันท์ กล่าว

         ประการสุดท้าย หลักสูตรการผลิตครูไม่สอดคล้องกับสภาพของโรงเรียนในประเทศไทย เพราะโรงเรียนในประเทศไทย มีทั้งขนาขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ขนาดใหญ่พิเศษ 

         “เนื่องจากขนาดของโรงเรียนที่มีความแตกต่างกัน จะส่งผลต่อจำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษา และสิ่งที่จะได้รับการสนับสนุนการจัดการศึกษาที่แตกต่างกัน” 

         ผศ.ดร.พัทธนันท์ เสนอว่า ดังนั้นหลักสูตรผลิตครูจะต้องสามารถผลิตครู ให้สามารถจัดการกับสภาพโรงเรียนในประเทศไทย ที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพทรงพลังอีกด้วย สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นโอกาสสำหรับสถาบันการผลิตครูในประเทศไทย ในการปรับปรุงหลักสูตรการผลิตครู ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกที่รวดเร็วในยุคนี้

          “ดิฉันเชื่อว่าคนที่มาเป็นคุณครู เพราะอยากเห็นเด็กไทยและคนไทยเก่งค่ะ เพราะคุณครูต่างเชื่อมั่นว่าถ้าการศึกษาดีขึ้น เด็กไทยและคนไทยจะเก่งขึ้น แล้วถ้าคนไทยเก่งขึ้นประเทศเราจะเข้มแข็งและมั่นคง ประเทศไทยจะเป็นผู้นำได้บนฐานความเก่งของคนไทยคะ”ผศ.ดร.พัทธนันท์ กล่าวทิ้งท้าย

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก วันที่ 14 กรกฎาคม 2560
  • 15 ก.ค. 2560 เวลา 11:12 น.
  • 14,337

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^