LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

สตง.แฉ 2 พันหลักสูตรมหาวิทยาลัยรัฐด้อยคุณภาพ!

  • 21 เม.ย. 2560 เวลา 16:57 น.
  • 20,253
สตง.แฉ 2 พันหลักสูตรมหาวิทยาลัยรัฐด้อยคุณภาพ!

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

สตง.แฉ 2 พันหลักสูตรมหาวิทยาลัยรัฐด้อยคุณภาพ!
ทีมล่าความจริง
ปัญหาธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาไทย โดยเฉพาะหลักสูตรการเรียนการสอนไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่ได้รับการรับรอง จนส่งผลต่อคุณภาพบัณฑิตที่จบออกมา ถือเป็นวาระแห่งชาติวาระหนึ่งที่รัฐบาล คสช.ให้ความสำคัญ และได้ออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 39/2559 ออกมาจัดระเบียบและแก้ไขปัญหา ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แต่ดูจะไม่ค่อยรวดเร็วทันใจทั้งๆ ที่ใช้อำนาจพิเศษแล้วก็ตาม 

เมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ กกอ. ก็เปิดข้อมูลว่ามีมหาวิทยาลัยเอกชนที่มีปัญหาถูกร้องเรียนเรื่องหลักสูตรไม่เป็นไปตามมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา หรือ สกอ. จำนวน 10 แห่ง 

แต่ปัญหา “หลักสูตรด้อยคุณภาพ” ไม่ได้มีเฉพาะมหาวิทยาลัยเอกชนเท่านั้น เพราะล่าสุดมหาวิทยาลัยของรัฐในสังกัดของ สกอ.เองก็ถูกตรวจสอบและพบว่ามีปัญหาเรื่องหลักสูตรการเรียนการสอนที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานเช่นกัน โดยข้อมูลนี้ถูกเปิดเผยโดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. ที่ทำหนังสือแจ้งไปยังเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อให้ทราบถึงผลการตรวจสอบหลักสูตรและการเปิดรับนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในสังกัด สกอ. และพบปัญหาหลักๆ 2 ประการ คือ หลักสูตรไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน และการรับนักศึกษาไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนด 

แน่นอนว่าทั้ง 2 ปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษาและคุณภาพของบัณฑิตที่จบการศึกษาอย่างรุนแรง โดยเฉพาะหลักสูตรในกลุ่มศึกษาศาสตร์และครุศาสตร์ 

ปัญหาการรับนักศึกษาไม่เป็นไปตามแผนที่กำหนด / สตง.ระบุว่าได้เปรียบเทียบแผนและผลการรับนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตร์ และหลักสูตรครุศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาจำนวน 60 แห่ง จากทั้งหมด 84 แห่ง พบว่ามีสถาบันอุดมศึกษาจำนวน 31 แห่ง 63 หลักสูตรที่รับนักศึกษามากกว่าแผนที่กำหนด บางหลักสูตรรับนักศึกษามากกว่าแผนกว่าร้อยละ 100 คือมากกว่า 100% โดยเฉพาะหลักสูตรระดับปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา 

นอกจากนี้ ยังมีสถาบันอุดมศึกษาบางแห่งไม่รายงานแผนและผลการรับนักศึกษา หรือรายงานไม่ครบถ้วนทุกหลักสูตร ทำให้สถาบันอุดมศึกษามีผลการดำเนินงานหลักสูตรไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ส่งผลต่อนักศึกษาไม่ได้รับการอนุมัติใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ 

ปัญหานี้มีปรากฏเป็นรูปธรรรมแล้ว ดังที่ทีมล่าความจริงได้รับเรื่องร้องเรียนจากนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี ที่เรียนจบหลักสูตร 5 ปี แต่กลับไม่ได้รับใบประกอบวิชาชีพครู จนเป็นข่าวเกรียวกราวเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา โดยเลขาธิการครุสภาชี้แจงว่า เป็นเพราะหลักสูตรไม่ได้รับการรับรองจาก สกอ. และครุสภาตั้งแต่ต้น 

ส่วนปัญหาหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานนั้น สตง.พบว่า ผลการดำเนินงานหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาที่ส่งรายงานเมื่อเดือนตุลาคม 2559 จำนวน 150 แห่ง จากทั้งหมด 154 แห่ง มีการรายงานผลการดำเนินงานหลักสูตรจำนวนทั้งสิ้น 8,949 หลักสูตร มีหลักสูตรไม่เป็นไปตามมาตรฐานจำนวน 2,030 หลักสูตร และมีสถาบันอุดมศึกษาบางแห่งรายงานผลการดำเนินงานไม่ครบถ้วนทุกหลักสูตร จึงมีผลกระทบต่อการรับรองคุณวุฒิเพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประกอบวิชาชีพเช่นกัน 

จากตัวอย่างหลักสูตรตกมาตรฐานที่มีนักศึกษาออกมาร้องเรียนนายกรัฐมนตรี ซึ่งการอนุมัติหลักสูตรเป็นอำนาจของสภามหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง ทำให้ สตง.เสนอให้กำหนดมาตรการลงโทษสภาของสถาบันอุดมศึกษา ทั้งทางแพ่ง อาญา และวินัย หากมีการอนุมัติหลักสูตรไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน และรับนักศึกษามากกว่าแผนที่กำหนด 

ข้อเสนอให้ดำเนินการทั้งทางแพ่ง อาญา และวินัย กับสภามหาวิทยาลัย ถือเป็นมาตรการใหม่ที่น่าจับตา 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ รัฐกรณ์ คิดการ ประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการแห่งประเทศไทย บอกว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอของ สตง. แต่ที่น่าแปลกใจคือ ทำไมต้องให้ สตง.เป็นผู้เสนอ ทั้งที่ กกอ.และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีอำนาจหน้าที่ที่ต้องดำเนินการอยู่แล้วตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 39/2559 ที่ระบุไว้อย่างชัดเจนในข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 ให้อำนาจทั้งการยับยั้งการรับนิสิต นักศึกษา ปิดหลักสูตร และยุติการจัดการศึกษา รวมถึงให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการทางอาญา ทางละเมิด และทางวินัย กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเปิดหลักสูตรด้อยคุณภาพด้วย 

ดังนั้น คณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงไม่ควรทำแค่เปิดเผยรายชื่อมหาวิทยาลัยที่เข้าข่ายความผิดในการเปิดหลักสูตรไม่ได้มาตรฐานเท่านั้น แต่ต้องสั่งให้หยุดรับนักศึกษา ปิดหลักสูตร ยุติการจัดการศึกษา และต้องดำเนินการเอาผิดทางอาญา ทางละเมิด เพื่อชดใช้ให้กับนักศึกษาด้วย เพราะเรื่องนี้กระทบทั้งกับตัวนักศึกษา สังคม และประเทศชาติ หากไม่ดำเนินการอาจเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 

ท่าทีของ สกอ.และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในเรื่องนี้ ถือว่าเป็นมาตรวัดความจริงใจในการแก้ไขปัญหาธรรมาภิบาลในรั้วอุดมศึกษาไทย...ว่าต้องปฏิรูปให้ประสบผลสำเร็จ...หรือแค่ซุกขยะไว้ใต้พรม

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: now26.tv วันที่ 21 เมษายน 2560
  • 21 เม.ย. 2560 เวลา 16:57 น.
  • 20,253

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^