LASTEST NEWS

18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567(( ประกาศแล้ว )) รายชื่อผู้สอบผ่าน ภาค ก และ ข การสอบบรรจุรับราชการครูฯ ตำแหน่งบุคลากร 38 ค.(2) สังกัดสพฐ. ปีพ.ศ.2567 เช็กผลสอบ 38 ค. สพฐ. ได้ที่นี่ 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ! กำหนดสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัดสพฐ. ปี พ.ศ.2567 ประกาศรับสมัครภายใน 1 พ.ค. 2567 - รับสมัคร 8-14 พ.ค.2567 18 เม.ย. 2567กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ (ทุนเอราวัณ) 84 อัตรา สมัคร 1 พฤษภาคม 2567 - 14 มิถุนายน 2567 18 เม.ย. 2567อย่างเป็นทางการ !! กทม.เรียกบรรจุครูผู้ช่วย 592 อัตรา (สำรอง 125 อัตรา) - รายงานตัว 29-30 เม.ย.2567 18 เม.ย. 2567สพป.ยโสธร เขต 1 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 18 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567  18 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 5 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 5

คาดอีก10ปีไทยผลิตแพทย์-พยาบาลล้น!

  • 04 เม.ย. 2560 เวลา 10:32 น.
  • 9,113
คาดอีก10ปีไทยผลิตแพทย์-พยาบาลล้น!

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

คาดอีก10ปีไทยผลิตแพทย์-พยาบาลล้น!

เวทีเสวนา “ล้นตลาดหรือขาดแคลน! ถึงเวลาสแกนกำลังคนด้านสุขภาพ” คาดอีก 10 ปี แพทย์อาจจะล้นตลาดหรือพอดีกับความต้องการ ถ้ายังผลิตได้ระดับปัจจุบันปีละ 4,000 คน ส่วนพยาบาลขาดหรือเกินเล็กน้อย แต่เภสัชกรจะขาดแคลน เพราะคนหันไปเรียนวิชาอื่นๆ แนะต้องบริหารจัดการให้พอดี ไม่อย่างนั้นมีปัญหา ชี้ทุกวันนี้แพทย์ยังกระจุกตัวในเมือง ส่วนชนบทยังขาดแคลน

เมื่อวันนี้ 3 เม.ย. ที่อาคารสุขภาพแห่งชาติ มีเวทีเสวนา “ล้นตลาดหรือขาดแคลน! ถึงเวลาสแกนกำลังคนด้านสุขภาพ” โดยมี ผศ.ดร.ทพ.วีระศักดิ์ พุทธาศรี รองเลขาธิการสุขภาพแห่งชาติ, ดร.นพ.ฑิณกร โนรี คณะอนุกรรมการวางแผนกำลังคนด้านสุขภาพของประเทศในทศวรรษหน้า, นพ.ประสิทธิ์ชัย มั่งจิตร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแก่งคอย จังหวัดสระบุรี, ดร.กฤษฎา แสวงดี นักวิจัยอาวุโสด้านนโยบายกำลังคนและอุปนายกสภาการพยาบาล และคุณศุภกร โคมทอง กลุ่ม Health Tech Community ร่วมกันเสวนา

ดร.นพ.ฑิณกรกล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมไทยใน 10 ปีข้างหน้าจะมีประชากรเพิ่มขึ้น 1 ล้านคนเท่านั้น เนื่องจากอัตราการเกิดน้อยลง และสังคมไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ นั่นก็หมายความว่าค่าใช้จ่ายทางด้านสุขภาพจะมากขึ้น ดังนั้นต้องมีการกำหนดหน้าตาระบบสุขภาพในตัว ซึ่งการกำหนดดังกล่าวก็ต้องมีกรอบ เช่น จะเน้นหมอเฉพาะทาง หรือเวชศาสตร์ครอบครัว เป็นต้น โดยแต่ละกรอบก็จะทำให้หน้าตาของระบบสุขภาพแตกต่างกันไป

ทั้งนี้ พบว่าสถานการณ์กำลังคนด้านสุขภาพในปัจุบันมีดังนี้ แพทย์ 50,573 คน สัดส่วนการดูแลประชาชนอยู่ที่ 1 ต่อ 1,292 คน พยาบาล 158,317 คน สัดส่วน 1 ต่อ 419 คน ทันตแพทย์ 11,575 คน สัดส่วน 1 ต่อ 1 ต่อ 5,643 คน ทันตาภิบาล 6,818 คน สัดส่วน 1 ต่อ 9,581 คน เภสัชกร 26,187 คน สัดส่วน 1 ต่อ 2,494 คน เทคนิคการแพทย์ 15,200 คน สัดส่วน 1 ต่อ 4,298 คน กายภาพบำบัด 10,065 คน สัดส่วน 1 ต่อ 6,490 คน สัตวแพทย์ 8,000 คน สัดส่วน 1 ต่อ 8,165 คน สาธารณสุข แบ่งเป็นนักวิชาการสาธารณสุข 27,035 คน สัดส่วน 1 ต่อ 2,416 คน เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน 27,006 คน สัดส่วน 1 ต่อ 2,419 คน และแพทย์แผนไทย/ประยุกต์ 30,371 คน สัดส่วน 1 ต่อ2,151 คน และการผลิตบุคลากรด้านสุขภาพ พบว่ามีการผลิตแพทย์ 21 สถาบัน ผลิตได้ปีละ 3,121 คน พยาบาล มี 86 สถาบัน ผลิตได้ปีละ 11,000 คน ทันตแพทย์ 13 สถาบันผลิตได้ปีละ 616 คน และกำลังจะเพิ่มเป็น 826 คน ทันตาภิบาล 7 สถาบัน ผลิตได้ปีละ 400 คน เภสัชกร 19 สถาบัน ผลิตได้ปีละ 2,000 คน เทคนิคการแพทย์ 12 สถาบัน ผลิตได้ 911 คน กายภาพบำบัด 16 สถาบัน ผลิตได้ 850-900 คน สัตวแพทย์ 9 สถาบัน ผลิตได้ปีละ 650 คน สาธารณสุข 69 สถาบัน ส่วนใหญ่เป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยผลิตได้ปีละ 10,988-14,197 คน และแพทย์แผนไทย/ประยุกต์ 27 สถาบัน ผลิตได้ปีละ 1,080 คน

ดร.นพ.ฑิณกรกล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม พบว่ากำลังการผลิตแพทย์เป็นไปอย่างก้าวกระโดด เนื่องจากนโยบายการผลิตจากอดีตจะมีกำลังผลิตแพทย์ได้เพียงปีละ 800 คน แต่ในปัจจุบันจะผลิตได้ถึงประมาณปีละ 4,000 คน นั่นหมายความว่า ใน 4 ปีจะมีแพทย์ออกสู่ตลาดประมาณ 12,000 คน ซึ่งจากการวิจัยพบว่า แพทย์ 1 คนต้องรักษาประชาชนในสัดส่วน 1,500 คน ซึ่งสัดส่วนตัวเลขในปัจจุบันที่มีก็ถือว่าใกล้เคียง แต่พบปัญหาบางจังหวัดมีแพทย์เกินกรอบ และบางจังหวัดขาดแคลน ซึ่งก็เป็นปัญหาจากการกระจาย ในขณะกำลังการผลิตพยาบาลนั้น จากตัวเลขก็ถือว่าเป็นตัวเลขที่ไม่แย่นัก ทั้งนี้ ปัญหาเรื่องการกระจายกระทรวงสาธารณสุขก็มีการแก้ปัญหามา 40-50 ปีแล้ว ซึ่งที่ผ่านมาก็แก้ได้เยอะ แต่ก็ยังมีปัญหาอยู่

“ในการคาดการณ์ในอีก 10 ปีข้างหน้า ในกำลังการผลิตเท่าเดิม มีแนวโน้มว่าวิชาชีพสาธารณสุขจะเกินความต้องการของตลาด แพทย์และพยาบาลอาจขาดหรือเกินเล็กน้อย ให้คงการผลิตเท่าเดิมไว้ก่อน แต่ที่มีแนวโน้มว่าจะน้อยเกินไปคือเภสัชกร เนื่องจากในแต่ละปี ตัวเลขนักศึกษาจะน้อยลง เนื่องจากเด็กไปสอบในวิชาชีพอื่น ดังนั้นควรมีการบริหารจัดการที่ดีเพื่อให้เด็กจบใกล้เคียง 100% ที่สุด” ดร.นพ.ฑิณกรกล่าว

ดร.กฤษฎากล่าวว่า ในปัจจุบันมีการกระจายสถานพยาบาลเพื่อดูแลประชาชนอยู่ทั่วประเทศ ทั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่มีกว่า 9,700 แห่ง กระจายอยู่ในทุกตำบลทั่วประเทศ โรงพยาบาลประจำอำเภอกว่า 800 แห่ง และมีโรงพยาบาลใหญ่ๆ ประจำทุกจังหวัด ซึ่งก็เป็นตัวเลขการกระจายที่น่าจะเพียงพอ แต่เนื่องจากการจัดการระบบเศรษฐกิจ สังคมที่ดีขึ้น มีเสรีภาพ ไม่มีข้อห้ามหรือข้อจำกัด ทำให้คนมีตัวเลือกในการรักษา ดังนั้นเมื่อเจ็บป่วยแม้ว่าจะเล็กน้อย คนก็จะมุ่งมารักษากับผู้เชี่ยวชาญใน รพ.ใหญ่ๆ ทั้งๆ ที่ใน รพ.เล็กก็มีการเทรนด์บุคลากรในการรักษาอย่างดี แต่ก็ไม่ไป เนื่องจากไม่ไว้วางใจ ดังนั้นจึงเกิดปัญหาการขาดแคลนแพทย์ใน รพ.ใหญ่ๆ เมื่อประชาชนไม่ยอมมาหาหมอในชุมชน จึงเป็นที่มาของหมอเวชศาสตร์ครอบครัวที่รวมทุกสหวิชาชีพไว้ในทีมเดียว ให้ลงไปหาประชาชนเองเพื่อรักษาในชั้นปฐมภูมิ เพื่อไม่ให้เกิดการเจ็บป่วย

นพ.ประสิทธิ์ชัยกล่าวว่า ในต่างจังหวัดมีการกระจายสถานพยาบาลเยอะมาก แต่ความพอใจในการบริการและระบบการจัดการที่ไม่ดีพอ ทำให้บางโรงพยาบาลแน่นหนามาก ซึ่งหากมองในมุมของประชาชน จะมองว่าบุคลากรในการทางด้านสุขภาพไม่เพียงพอ ในขณะที่มุมมองของแพทย์มองว่า การเข้ารับการบริการของประชาชนเกินความจำเป็น บางโรคไม่จำเป็นต้องมาหาหมอ เพียงแค่ดูแลสุขภาพตัวเองดีๆ ก็หายแล้ว เช่น โรคไข้หวัด โรคท้องร่วง เป็นต้น ซึ่งสามารถรักษาได้หายด้วยการดูแลสุขภาพของตัวเอง หรือมีการพักผ่อน หากตัดสองโรคนี้ไปได้คิดว่าจะสามารถลดผู้เข้ารับบริการได้ถึงร้อยละ 40 นอกจากนี้ยังมีโรคทางสุขภาพจิต เช่น เหงา ลูกไม่มาหา เป็นต้น เป็นปัญหามาก เพราะเมื่อเป็นก็จะมาหาหมอ ทำให้หมอขาด เตียงไม่พอ ดังนั้นในการมีหมอเวชศาสตร์หมอครอบครัวตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข จะเป็นอีกมิติหนึ่งในการซ่อมระบบที่จะรวมคนในชุมชนคือ อสม.อยู่ในทีม เพื่อดูแลคนในชุมชนด้วยกันเอง ทั้งนี้ การดูแลสุขภาพเป็นหน้าที่ของทุกคน.
ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูล,ภาพข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 4 เมษายน 2560
  • 04 เม.ย. 2560 เวลา 10:32 น.
  • 9,113

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^