LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.สระบุรี - ผลย้ายครู 2567 สพม.สระบุรี 29 มี.ค. 2567(( ลิงก์เว็บไซต์ )) ประกาศผลสอบรับใบประกอบวิชาชีพครู ครั้งที่ 1/2567 ประกาศผลสอบวันที่ 29 มีนาคม 2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 26 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ชลบุรี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชลบุรี เขต 3 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สงขลา เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.สงขลา เขต 1 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.พิจิตร เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.พิจิตร เขต 2

ผลประชุมองค์กรหลัก 13/2560 (วันที่ 29 มีนาคม 2560)

  • 29 มี.ค. 2560 เวลา 17:28 น.
  • 257
ผลประชุมองค์กรหลัก 13/2560 (วันที่ 29 มีนาคม 2560)

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 162/2560
ผลประชุมองค์กรหลัก 13/2560


นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมองค์กรหลัก ครั้งที่ 13/2560 เมื่อวันอังคารที่ 28 มีนาคม 2560 ณ ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยมี โดยมี พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งผู้บริหารฝ่ายการเมือง และผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมประชุม

• เรื่องที่นายกรัฐมนตรีสั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (28 มีนาคม 2560)

ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการสภาการศึกษา ในฐานะโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี โดยได้ย้ำถึงการเตรียมการจัดระบบรักษาความปลอดภัย การจัดเวรยาม เพื่อดูแลและป้องกันการเกิดเหตุภัยพิบัติต่าง ๆ ภายในสถานศึกษาในช่วงปิดภาคเรียน

พร้อมกับขอให้เตรียมข้อมูลเพื่อติดต่อหน่วยงานฝ่ายปกครอง ฝ่ายความมั่นคง ทหาร ตำรวจ และเครือข่ายพันธมิตรต่าง ๆ ที่อยู่โดยรอบหรือใกล้เคียงสถานศึกษา เพื่อให้สามารถประสานติดต่อขอความช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดเหตุ


• รมช.ศธ."สุรเชษฐ์" รายงานแผนการศึกษารองรับ EEC

พล.อ.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ได้รายงานให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้รับทราบเกี่ยวกับการจัดประชุมสัมมนาทางวิชาการการจัดทำแผนจัดการศึกษาแบบบูรณาการ เพื่อรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 24-25 มีนาคมที่ผ่านมา ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี มีผู้เข้าร่วมประมาณ 1,000 คน ประกอบด้วยคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด ศึกษานิเทศก์จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ครูจากโรงเรียนในโครงการ และตัวแทนผู้ประกอบการภาคเอกชน โดยมีกำหนดการสำคัญ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

  • พิธีเปิด เมื่อวันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2560 โดยมี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา พร้อมบรรยายพิเศษ ซึ่งได้เน้นย้ำถึงการจัดการศึกษาในปัจจุบันว่า “จะต้องสนองตอบต่อความต้องการในการพัฒนาประเทศให้ได้ สถานศึกษาต้องส่งเสริมการต่อยอดอาชีพ ทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมเดิมและอุตสาหกรรมใหม่ ส่วนสถาบันการศึกษาจะต้องคิดและสร้าง Creative Economy และดึงคนเก่ง ๆ ระดับโลกเข้ามาในพื้นที่มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ต้องสร้างบุคลากรให้พร้อม กล้าผ่า-กล้าทำ เพื่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งดี ๆ ของประเทศไปสู่อนาคต”  ทั้งนี้ นายสมคิด ได้กล่าวชื่นชมกระทรวงศึกษาธิการว่าสามารถจัดการประชุมสัมมนาครั้งนี้ได้เป็นอย่างดี

  • พิธีปิด เมื่อวันเสาร์ที่ 25 มีนาคม 2560 โดยมี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานปิดการประชุมสัมมนา พร้อมรับฟังผลการประชุมสัมมนา รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะว่า “การดำเนินการตามยุทธศาสตร์และแผนงานที่ร่วมกันคิดร่วมกันทำไว้แล้วนั้น ขอให้ทำอย่างต่อเนื่อง มีการประสานและบูรณาการงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดคุณภาพและประสิทธิภาพในการทำงานระดับ World Class ที่จะส่งผลให้งานการศึกษาระดับภูมิภาคใน 3 จังหวัดระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เป็น Model สำคัญในการปรับปรุงการศึกษาครั้งใหญ่ของประเทศ


• ปลัด ศธ."ชัยพฤกษ์" รายงานการจัดสอบครูผู้ช่วย สพฐ.

ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้รายงานให้ที่ประชุมองค์กรหลักได้รับทราบผลการประชุมหารือเรื่องการสอบแข่งขันตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี พ.ศ.2560 ร่วมกับ ศ.ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย  (ส.ค.ศ.ท.) และคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว), ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ ตลอดจนผู้แทนจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (สำนักงาน ก.ค.ศ.) และสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ซึ่งในที่ประชุมแจ้งถึงกระแสข่าวการรวบรวมรายชื่อจำนวน 50,000 ชื่อ เพื่อขับไล่ รมว.ศึกษาธิการนั้น ไม่เป็นความจริง

ทั้งยังได้เสนอให้มีการปรับระบบการสอบครูผู้ช่วยในประเด็นต่าง ๆ เช่น ย้ำว่าอาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูง ดังนั้นผู้ที่จะมาเป็นครู ควรจะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ, ควรมีช่องทางให้ผู้ที่ไม่จบสายครูเข้ามาเป็นครู แต่อาจต้องมีกระบวนการที่ซับซ้อนและใช้เวลามากกว่าคนที่จบครู 5 ปี หรือสิทธิประโยชน์จะต้องแตกต่างกัน ซึ่งปัจจุบันครู 5 ปี จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูทันที และมีเงินเดือนสูงกว่า 750 บาท ในขณะที่ผู้จบปริญญาตรีสาขาอื่น ต้องพัฒนาตัวเองอีกเป็นเวลา 1 ปี (ป.บัณฑิต) เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของคุรุสภา จึงเสนอให้มีการจัดระบบรองรับครู 4 ปี+1 ปี อย่างจริงจัง, เสนอให้มีการผลิตครูระบบปิดมากขึ้น เช่น โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น เป็นต้น ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ก็ได้รายงานเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวด้วยว่า ขณะนี้การดำเนินงานโครงการในปี 2559 มีผู้สอบผ่านและเข้าร่วมโครงการเพียง 3,000 คน ซึ่งไม่ครบตามอัตราที่ได้รับจัดสรรกว่า 4,000 อัตรา ทำให้ต้องคืนอัตราให้กับต้นสังกัดประมาณ 1,000 อัตรา ส่วนการดำเนินงานในปี 2560 รัฐบาลจัดสรรอัตรากำลังครูมาให้อีกกว่า 5,000 อัตรา และขณะนี้มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการกว่า 13,000 คน ที่จะต้องรอผลการสอบต่อไป ดังนั้น ผู้เรียนจึงจำเป็นต้องพัฒนาตนเอง เพื่อให้มีความรู้ความสามารถและสอบผ่านเข้าสู่โครงการผลิตครูระบบปิดให้ได้มากขึ้น


• ผอ.สทศ.รายงานการวิเคราะห์ผลสอบ O-NET

ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทศ.ได้รายงานให้ที่ประชุมองค์กรหลักรับทราบผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ประจำปีการศึกษา 2559 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งได้ประกาศผลสอบไปแล้วเมื่อวันที่ 25-26 มีนาคมที่ผ่านมา ทางเว็บไซต์ www.niets.or.th ซึ่งพบว่าผลคะแนน O-NET โดยรวมของประเทศ สะท้อนให้เห็นความไม่เท่าเทียมกันของสังคมอย่างชัดเจน กล่าวคือคะแนน O-NET ของจังหวัดที่มีรายได้เฉลี่ยประชากรสูง ได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี ภูเก็ต จะมีคะแนน O-NET สูงกว่าจังหวัดที่มีรายได้เฉลี่ยประชากรต่ำ ได้แก่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กาฬสินธุ์ หนองบัวลำภู นอกจากนี้ยังพบข้อมูลที่สำคัญในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

  • ภาพรวมคะแนน O-NET คะแนนภาพรวมของประเทศในปีนี้ สะท้อนให้เห็นปัญหาความเหลื่อมล้ำมากกว่าปัญหาเชิงคุณภาพ เมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นรายจังหวัดของ 15 จังหวัดที่มีคะแนนสูงสุดและต่ำสุด พบว่าจังหวัดที่รายได้เฉลี่ยประชากรสูง จะมีผลคะแนน O-NET สูง ส่วนจังหวัดที่รายได้เฉลี่ยของประชากรต่ำ ก็จะมีผลคะแนน O-NET ต่ำ เช่นกัน

  • แนวโน้มคะแนนสูง-ต่ำเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยจังหวัดที่มีคะแนน O-NET สูง ก็จะพบว่ามีคะแนนสูงเหมือนกันในทุกวิชา ส่วนจังหวัดที่มีคะแนน O-NET ต่ำ ก็จะต่ำในทุกวิชา ไม่มีจังหวัดใดที่คะแนนสูงบางวิชาและต่ำในบางวิชา

  • ข้อสังเกตจากส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ของคะแนน O-NET ในแต่ละวิชา พบว่าในจังหวัดที่มีคะแนน O-NET ต่ำ จะมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในแต่ละวิชาต่ำ แต่ก็เป็นที่น่าแปลกใจว่า ในจังหวัดที่มีคะแนน O-NET ที่สูง จะมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานกระโดดและไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยคะแนนจะแสดงการแบ่งแยกคะแนนของคนจนและคนรวยอีกชั้นหนึ่ง

  • การพัฒนาคุณภาพการศึกษาจากผลคะแนน O-NET ซึ่งแม้ว่า 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้จะมีผลคะแนนรั้งอันดับสุดท้ายของประเทศ แต่ก็เป็นที่น่าชื่นชมว่า ผลคะแนน O-NET ของทั้ง 3 จังหวัดเพิ่มขึ้นทุกปีในทุกวิชา โดยเฉพาะวิชาภาษาไทย ซึ่งเป็นวิชาที่มีคะแนนเพิ่มขึ้นสูงที่สุด

ดังนั้น รมว.ศึกษาธิการ จึงมอบนโยบายในเรื่องนี้ว่า การแก้ไขปัญหาในระยะต่อไป ขอให้แก้ไขลงในรายละเอียดเป็นรายจังหวัด เพื่อให้ตอบโจทย์การพัฒนาการจัดการการศึกษาที่มีคุณภาพได้ตรงจุด เช่น บางจังหวัดต้องอบรมครู, บางจังหวัดต้องจัดหาอุปกรณ์การเรียนการสอนให้เพียงพอครบถ้วน เป็นต้น พร้อมกันนี้ทางสถานศึกษาจะปรับเนื้อหากิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เพื่อช่วยส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนตามหลักสูตรปกติให้มีคุณภาพมากขึ้น เช่น การสอนเสริมให้กับนักเรียนยากจนในช่วงปิดภาคเรียน โดยครูเองก็จะได้เงินพิเศษในส่วนนี้ด้วย


นวรัตน์ รามสูต, บัลลังก์ โรหิตเสถียร: สรุป/รายงาน
ยุทธพงศ์ เลือกกลั่นดี: ถ่ายภาพ


ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 29 มีนาคม 2560

  • 29 มี.ค. 2560 เวลา 17:28 น.
  • 257

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^