LASTEST NEWS

25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 7 25 เม.ย. 2567สพป.นนทบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นนทบุรี เขต 1

ตรวจสอบด่วน! แบบเรียนพุทธศาสนา ม.3 พิมพ์ข้อมูลผิด หวั่นสร้างความสับสนให้นักเรียน

  • 13 ก.ย. 2559 เวลา 14:58 น.
  • 6,198
ตรวจสอบด่วน! แบบเรียนพุทธศาสนา ม.3 พิมพ์ข้อมูลผิด หวั่นสร้างความสับสนให้นักเรียน

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ตรวจสอบด่วน! แบบเรียนพุทธศาสนา ม.3 พิมพ์ข้อมูลผิด หวั่นสร้างความสับสนให้นักเรียน

      ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - พบหนังสือแบบเรียนวิชาพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้น ม.3 พิมพ์ข้อมูลคลาดเคลื่อนในหัวข้อ “วัฏฏะ” พระสงฆ์ยืนยันข้อมูลคลาดเคลื่อนจริง ไม่รู้เกิดจากความพลั้งเผลอ หรืออวดรู้ ห่วงสร้างความสับสนให้แก่ผู้เรียน
       
       วันนี้ (13 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้รับการร้องเรียนจากผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งว่า หนังสือแบบเรียนวิชาพุทธศาสนาที่ลูกใช้เรียนอยู่น่าจะไม่ถูกต้อง โดยได้มีการนำเนื้อหาในหนังสือดังกล่าวปรึกษาหารือกับพระวัดยางทอง จ.สงขลา ซึ่งใช้นามในเฟซบุ๊ก ว่า Bm. Chaiwut Pochanukul ซึ่งหลังจากมีการตรวจสอบ พระรูปดังกล่าวได้โพสต์ในเฟซบุ๊ก ระบุว่า
       
       “แบบเรียนผิดพลาด เมื่อคืนเพื่อนร่วมรุ่นที่เคยบวชเรียนมาด้วยกันถ่ายภาพส่งมาให้ดูพลางปรารภว่า “สอนหนังสือลูก เห็นตรงนี้แล้ว สงสัยว่าครูอาจารย์ที่สอนจะรู้หรือไม่ว่าตรงนี้ไม่ถูกต้อง” จึงบอกว่า ถ่ายหน้าปกมาด้วยจะได้รู้ว่าหนังสือเล่มไหน พรุ่งนี้จะเขียนโพสต์ในเฟซบุ๊กให้...
       
       “ประเด็นที่ผิดก็คือ ภาพวงล้อวัฏฏะ ต้องเป็น  กิเลส กรรม วิบาก... อธิบายว่า “กิเลส” คือความเศร้าหมองแห่งจิตใจ จะเป็นสาเหตุจูงใจให้ทำโน้นทำนี้ ซึ่งเรียกว่า “กรรม“” ส่วนผลที่เกิดจากการกระทำจะเรียกว่า “วิบาก”... พอใจหรือไม่พอใจผลอย่างไรก็จะทำให้จิตใจเศร้าหมอง นั่นคือ “กิเลส” ให้กระทำ “กรรม” และเกิดผลคือ “วิบาก” ต่อไป... กิเลส กรรม วิบาก ใครเคยศึกษาหลักธรรมพื้นฐานมักจะเข้าใจชุดคำอธิบายนี้...”
       
       “แต่หนังสือเล่มนี้พิมพ์ผิด เป็น “กิเลส-วิบาก-กรรม” ก็ไม่ทราบว่าพิมพ์ไปเพราะพลั้งเผลอ หรือเพราะใครบางคนอวดรู้แก้ให้ผิดก็ไม่ทราบ...”
       
       “เป็นหนังสือแบบเรียน “พระพุทธศาสนา” สำหรับชั้น ม.3 ตามหน้าปกที่แสดงไว้ ใครแต่ง ใครเขียน ใครรับรอง ก็เปิดดูได้... ช่วยแชร์กันต่อๆ ด้วย จะได้ถึงผู้ที่แต่ง ผู้รับรอง และผู้ที่อนุญาตให้พิมพ์เป็นแบบเรียน ว่าให้หนังสือออกมาได้อย่างไร...
       
       “ยืนยันอีกครั้ง จุดนี้ผิดจริงๆ (ส่วนเนื้อหาอื่นๆ จะผิดพลาดอย่างไรบ้างไม่ยืนยันเพราะไม่เคยได้อ่าน)




       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการสืบค้นข้อมูลในหัวข้อ “วัฏฏะ” จากเว็บไซต์สารานุกรมเสรี https://th.wikipedia.org/wiki/วัฏฏะ พบว่า ข้อมูลที่ระบุในแบบเรียนน่าจะคลาดเคลื่อนจริง โดยในเว็บไซต์วิกิพีเดีย ระบุว่า วัฏฏะ คือ ความวน หรือความเวียน ตามหลักธรรมในพุทธศาสนา มีสามอย่างคือ กิเลสวัฏฏะ วนคือกิเลส กรรมวัฏฏะ วนคือกรรม วิบากวัฏฏะ วนคือวิบาก ผลของกรรม
       
       อันหมายความว่า กิเลสก็เป็นเหตุให้ทำกรรม กิเลสจึงเป็นเหตุ กรรมจึงเป็นผลของกิเลสและกรรมนั่นเอง ก็เป็นตัวเหตุ ให้เกิดวิบากคือผล กรรมจึงเป็นเหตุ วิบากจึงเป็นผล และวิบากนั้นเอง ก็เป็นตัวเหตุ ก่อกิเลสขึ้นอีก เมื่อเป็นดังนี้ วิบากนั้นก็เป็นเหตุ กิเลสก็เป็นผลของวิบาก
       
       เพราะฉะนั้นกิเลส กรรม วิบาก จึงวนอยู่ดั่งนี้ ก็โดยที่บุคคลนี้เอง หรือจิตนี้เองที่วนอยู่ในกิเลส กรรม วิบาก แล้วก็กลับเป็นเหตุก่อกิเลส กรรม วิบากขึ้นอีก สัตว์ และบุคคลจึงวนเวียนอยู่ในกิเลส กรรม วิบาก ทั้งสามนี้ เป็น วัฏฏะ
       
       กิเลส (แปลว่าสิ่งเกาะติด) และตัณหา (หมายถึงความติดใจอยาก) เป็นสิ่งที่แฝงติดอยู่ในใจ แล้วทำให้ใจเศร้าหมองขุ่นมัว ตัณหาเป็นต้นเหตุทำให้เกิดทุกข์ เมื่อดับตัณหาเสียได้ ก็เป็นอันว่าหักวัฏฏะดังกล่าวได้ ดับกิเลส ดับทุกข์ทางจิตใจในปัจจุบัน และเมื่อดับขันธ์ในที่สุด ไม่เกิดอีก ดับรอบสิ้นทุกข์ด้วยประการทั้งปวง

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ 13 กันยายน 2559 12:56 น. (แก้ไขล่าสุด 13 กันยายน 2559 13:02 น.)
  • 13 ก.ย. 2559 เวลา 14:58 น.
  • 6,198

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^