LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

สนช.รับหลักการพรบ.กยศ.ให้นายจ้างหักเงินคืนกองทุน

  • 09 ก.ย. 2559 เวลา 18:04 น.
  • 10,016
สนช.รับหลักการพรบ.กยศ.ให้นายจ้างหักเงินคืนกองทุน

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

สนช. รับหลักการ พรบ.กยศ. เพิ่มอำนาจคกก.กยศ.เข้าถึงข้อมูลผู้กู้ พร้อมให้นายจ้างหักเงินเดือนส่งชำระ  สนช. ห่วงขัดหลักสิทธิมนุษยชน

วันที่ 9 ก.ย. นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่สอง เป็นประธานการประชุมสนช. ซึ่งที่ประชุมได้ขอเลื่อนวาระร่างพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. ... ตามที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอนำขึ้นมาพิจารณาก่อน โดย นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รมช.คลัง ได้เข้าผู้ชี้แจงเสนอหลักการและเหตุผล ว่า เป็นการปรับปรุงแก้ไขจาก กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ปี2541 โดยเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาและสำนักงานขึ้น พร้อมกับจัดตั้งคณะอนุกรรมการกำกับการชำระเงินคืนกองทุน เพื่อทำหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบและกำกับดูแลให้การชำระเงินคืนกองทุนเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ

ทั้งนี้ เงื่อนไขของคณะกรรมการ โดยให้อธิบดีกรมบัญชีกลาง ทำหน้าที่เป็นประธานอนุกรรมการ ทั้งนี้วัตถุประสงค์ของการให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาแก่นักเรียน นักศึกษา ประกอบด้วย กรณีขาดแคลนทุนทรัพย์ เป็นสาขาวิชาที่เป็นความต้องการหลักเพื่อตอบสนองการผลิตกำลังคน สาขาวิชาขาดแคลนกำลังคน หรือ กองทุนส่งเสริมเป็นพิเศษ  หรือเป็นเด็กเรียนดี เรียนเลิศ

นอกจากนี้ ในส่วนการประเมินมาตรฐานนั้นให้มีคณะอนุกรรมการกำกับและประเมินสถานศึกษาที่เข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุน เป็นผู้ทำหน้าที่เสนอแนะให้คำปรึกษา โดยมี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานอนุกรรมการ ซึ่งการแก้ไขกฎหมายครั้งนี้เป็นไปเพื่อให้มีประสิทธิภาพการคืนเงินแก่กองทุนมากยิ่งขึ้น และทำให้เงินงบประมาณหมุนเวียนเพื่อการศึกษาส่งผลถึงกับผู้กู้ยืมรุ่นหลังได้ 
 
สำหรับ การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายครั้งนี้ ได้ให้ความสำคัญต่อการติดตามชำระเงินกู้ยืมคืนแก่กองทุน โดยยกขึ้นเป็นหมวดเฉพาะ หรือหมวด5 มีสาระสำคัญคือ ให้เริ่มคิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมนับแต่สำเร็จการศึกษาหรือเลิกการศึกษาแล้ว และเพื่อประโยชน์ในการติดตามชำระเงินคืนของคณะกรรมการ ให้สามารถขอข้อมูลส่วนบุคคลของผู้กู้ยืมเงินจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน หรือบุคคลที่มีข้อมูลเกี่ยวกับผู้กู้ พร้อมกับสามารถเปิดเผยข้อมูลการกู้ยืม หรือการชำระเงินของผู้กู้ ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน หรือบุคคลตามที่ร้องขอได้

นอกจากนี้ ในมาตรา 51 ยังระบุให้นายจ้างผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักเงินได้ จากพนักงานหรือลูกจ้างของผู้จ่ายเงินได้เพื่อชำระเงินกู้ยืมคืนตามจำนวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบ ถ้าผู้จ่ายเงินได้ไม่หักเงินได้และไม่นำส่ง หรือนำส่งไม่ครบ หรือนำส่งเกินกำหนดระยะเวลา ให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินรับผิดชดใช้เงินที่ต้องนำส่งในส่วนของผู้กู้ยืมเงินตามจำนวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบ และจ่ายเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของจำนนเงินที่ผู้จ่ายเงินได้ พึงประเมินยังไม่ได้นำส่ง หรือจำนวนที่ัยังขาดไป 
 
บรรยากาศในที่ประชุม สมาชิกสนช.ส่วนใหญ่ที่ลุกขึ้นอภิปรายต่างสนับสนุนการปรับแก้ไขกฎหมายดังกล่าว แต่ก็ได้ตั้งข้อสังเกตถึงการเคารพข้อมูลสิทธิส่วนบุคคล รวมถึงมาตรการติดตามชำระเงินคืน ควรแบ่งประเภทมาตรการโดยยึดวัตถุประสงค์ของกยศ.ที่มุ่งหวังแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม และสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชนตามนโยบายของรัฐบาลด้วย

พลเรือเอก วัลลภ เกิดผล สมาชิกสนช. ที่เห็นว่า ควรพิจารณาให้มีความถี่ถ้วน โดยเฉพาะการเข้าถึงข้อมูลเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ รวมถึงกรณีผู้กู้ยืมต้องแจ้งนายจ้างรับทราบว่าเป็นผู้กู้ยืมกยศ.หลังจากรับเข้าทำงานแล้ว 1 เดือน เพื่อให้นายจ้างรับทราบว่าผู้เข้าทำงานมีหนี้สินอยู่กับภาครัฐ อีกทัั้งยังมีบทลงโทษนายจ้างที่ไม่ส่งเงินจากการหักเงินเดือนลูกจ้าง ให้นายจ้างรับผิดแทนนั้น ซึ่งมองว่าควรมีการศึกษาข้อดีข้อเสียถึงการแจ้งต่อนายจ้างก่อนหรือหลัง เพราะหากกำหนดต้่องแจ้งนายจ้างทราบภายหลังอาจเกิดการปัดความรับผิดชอบ แต่หากสามารถสามารถแจ้งนายจ้างรับทราบก่อนให้ผู้กู้เข้าทำงานน่าจะเป็นทางออกที่ดีสำหรับนายจ้างมากกว่า

นายตวง อันทะไชย สมาชิกสนช. มองว่า การดำเนินงานของคณะกรรมการกองทุนฯที่ผ่านมา กลับทำตัวเองเป็นเจ้าหนี้ หรือจ้างบริษัทเอกชนโดยใช้งบประมาณกว่า 100 ล้านบาท เพื่อทวงถามหนี้ โดยลืมวัตถุประสงค์ของกองทุนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าอนาคตจะต้องไม่เป็นซ้ำเดิมอีก อีกทั้งเห็นว่าผู้กู้บางรายแม้จะจบการศึกษามาแต่ก็ยังมีบางส่วนที่ไม่มีงานทำ จะเอาเงินที่ไหนคืน ซึ่งต้องแยกมาตรการในการผ่อนปรนเป็นสองส่วน ซึ่งนอกจากสร้างโอกาสแล้ว ควรมีการสร้างงานให้ด้วยหรือไม่ ถ้าสร้างโอกาส สร้างงานแล้ว ยังทำไม่ได้ ค่อยมีมาตรการขั้นต่อไป

ภายหลังการอภิปรายของสมาชิก นายวิสุทธิ์ กล่าวว่า การเข้าถึงข้อมูลผู้กู้นั้น เพื่อประโยชน์ติดตามทวงถามหนี้ในการหักเงินเท่านั้น คงไม่ก้าวล่วงเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล อีกทั้งจะต้องเป็นเข้าถึงโดยยินยอมของผู้กู้ด้วย หลังจากนั้น ที่ประชุมได้ลงมติรับหลักการร่างพ.ร.บ.ดังกล่าว ด้วยคะแนนเห็นด้วย 141 ไม่เห็นด้วย 1 งดออกเสียง 4 พร้อมกับตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาจำนวน 15 คน

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ วันที่ 09 กันยายน 2559 เวลา 15:19 น.
  • 09 ก.ย. 2559 เวลา 18:04 น.
  • 10,016

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^