LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

หมดยุค"ปริญญาแปะฝาบ้าน"!! "ทักษะอาชีพ-ชีวิต"สำคัญกว่า?

  • 16 ส.ค. 2559 เวลา 13:24 น.
  • 96,145
หมดยุค"ปริญญาแปะฝาบ้าน"!! "ทักษะอาชีพ-ชีวิต"สำคัญกว่า?

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

หมดยุค"ปริญญาแปะฝาบ้าน"!! "ทักษะอาชีพ-ชีวิต"สำคัญกว่า?

"กับดักรายได้ปานกลาง"…

หรือภาวะที่สังคมหนึ่งจากเดิมเคยมีรายได้จากอาชีพประเภท “ใช้แรงงานมาก” กระทั่งในยุคต่อมา ประชากรโดยรวมในสังคมนั้น มีการศึกษาที่ดีขึ้น พร้อมกับอัตราค่าแรงที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ทว่าศักยภาพประชากรยังไม่อาจก้าวไปสู่ขั้น “สังคมนวัตกรรม” ที่ใช้ความรู้และทักษะขั้นสูง ขณะเดียวกันก็ไม่สามารถ “ลดตัว” ลงไปแข่งขันกับสังคมที่อยู่ระดับล่างที่ค่าแรงถูกได้อีกต่อไป

นี่คือสภาพที่ “ประเทศไทย” กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน!!!

ไม่นานนี้ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน(สสค.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์(DPU) จัดการประชุมนานาชาติ หัวข้อ “การยกระดับกำลังคนของไทย : ทางออกจากกับดักรายได้ปานกลาง” ณ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ถ.แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

ซึ่ง “น.ส.อกิโกะ ซากาโมโตะ” ผู้เชี่ยวชาญด้านทักษะและการจ้างงาน องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ(ILO) เปิดเผยผลการสำรวจผู้ประกอบการในอาเซียนจำนวน 4,076 ราย และนักศึกษาในวิทยาลัยอาชีวศึกษาและมหาวิทยาลัยต่างๆในอาเซียน จำนวน 2,747 ราย พบว่า ในอาเซียน “แรงงานหน้าใหม่” กลับมีทักษะไม่ต่างจาก “แรงงานใกล้เกษียณ”

ผู้เชี่ยวชาญจาก ILO กล่าวอีกว่า ในยุคการทำงานที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูง กลุ่มแรงงานผู้หญิงและกลุ่มที่มีการศึกษาต่ำจะได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก หากไม่มีการพัฒนาทักษะ นอกจากนี้ จากการสำรวจแรงงานรุ่นใหม่ อายุ 18-24 ปีของไทย มีความสนใจงานด้านข้อมูลและเทคโนโลยีการสื่อสาร การจัดการการเงิน และด้านศิลปะบันเทิง

“โจทย์สำคัญจึงอยู่ที่ว่าจะสร้างการเรียนรู้อย่างไรให้สอดรับกับทักษะที่ตลาดโลกต้องการ ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูง แต่ทักษะของบัณฑิตและผู้จบการศึกษาในประเทศกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะประเทศไทยและกัมพูชา กลับสวนทาง” น.ส.อกิโกะ กล่าว

แล้วอะไรคือ “ทักษะแรงงานที่โลกต้องการ” ในยุคอนาคต?...“นายแอนเดรียส ชไลเชอร์” ผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษาและทักษะขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา(OECD) ระบุว่า แนวโน้มตลาดแรงงานโลกจะให้ความสำคัญกับแรงงานที่มี “ทักษะชีวิต” ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ การรู้จักคิดวิเคราะห์ การแก้ไขปัญหา การสื่อสาร และการประสานความร่วมมือ รวมถึงลักษณะนิสัยหรือบุคลิกภาพ ได้แก่ ความไม่ย่อท้อ ความสามารถในการปรับตัว ความใคร่รู้ เป็นต้น

มากกว่าแค่ “วิชาการ” ที่ร่ำเรียนในสถาบันการศึกษาเพียงอย่างเดียว!!!

สอดคล้องกับที่ “ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว” คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวถึงผลงานวิจัยที่ทำร่วมกับ สสค. ในการศึกษาตลาดแรงงานและผู้ประกอบการภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SME) นำร่องใน 3 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ตราด และภูเก็ต พบว่า สิ่งที่ผู้ประกอบการในพื้นที่ดังกล่าวให้ความสำคัญกับคุณสมบัติของลูกจ้างเรียงตามลำดับ คือ “ทำงานเป็น” หรือมีทักษะทางอาชีพตรงกับที่นายจ้างต้องการ มาเป็นอันดับ 1 ตามด้วย “ความประพฤติดี” เช่น ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีความซื่อสัตย์ เป็นอันดับ 2 ส่วน “วุฒิการศึกษา” จากสถาบันต่างๆ อยู่ในอันดับ 3

ด้าน “ม.ล.ปุณฑริก สมิติ” ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ขณะนี้กำลังพยายามผลักดันร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมการมีงานทำ ซึ่งสาระสำคัญ คือ นักเรียน ม.3 หรือ ม.6 ที่กำลังจะจบการศึกษา ต้องเข้ารับการ“ทดสอบความถนัด” เพื่อให้ทราบว่าแต่ละคนมีทักษะด้านใด เป็นแนวทางสำหรับนำไปเลือกศึกษาต่อหรือทำงานในอนาคตต่อไป รวมถึงให้ผู้ประกอบการแต่ละกลุ่มธุรกิจและอุตสาหกรรม แจ้งความต้องการจ้างแรงงานมายังกระทรวงแรงงาน ทั้งจำนวนที่ต้องการ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และทักษะที่ขาด ซึ่งกระทรวงแรงงานจะนำข้อมูลมาวางแผน “ผลิตกำลังคน” รองรับตลาดแรงงานต่อไป นอกจากนี้ปัจจุบันภาครัฐยังส่งเสริมการศึกษาแบบ “หลักสูตรทวิภาคี” ให้แรงงานรุ่นใหม่ที่ยังศึกษาอยู่เข้าฝึกงานเรียนรู้งานกับองค์กร โดยผู้ประกอบการที่เข้าร่วมจะได้...

“สิทธิประโยชน์ด้านภาษี” จากรัฐ!!!

นอกจากแรงงานภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการแล้ว “ภาคเกษตร” ก็ต้องไม่ละเลย...“ดร.ไมค์ วาย เค กู” อธิการบดีมหาวิทยาลัยแห่งชาติผิงตุง ไต้หวัน ยกตัวอย่างไต้หวันที่ในอดีตเป็นประเทศเกษตรกรรมแบบเข้มข้น มาเป็นประเทศที่ทำเกษตรแบบ“ไฮเทค” ทั้งการควบคุมผลิตภัณฑ์ให้ปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการ ภายใต้กระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการพัฒนาชนบท รวมถึงการรักษาระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม

“แม้จีดีพีภาคเกษตรจะลดลงจากร้อยละ 30 ในปี 2493 เป็นร้อยละ 2 ในปี 2558 และจำนวนเกษตรกรลดลงจากร้อยละ 50 ในปี 2493 เหลือร้อยละ 6-10 ในปี 2558 แต่ก็ทำให้เกษตรกรจำนวนดังกล่าวมีรายได้สูงขึ้นมาก เพราะใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในงานเกษตรกรรม” ดร.ไมค์ วาย เค กู กล่าวทิ้งท้าย

ในอดีตเรามักสอนกันว่า “เรียนให้สูงๆ นะลูก โตขึ้นจะได้เป็นใหญ่เป็นโต เป็นเจ้าคนนายคน” ส่งผลให้เกิดการดิ้นรนเพื่อส่งบุตรหลานไปเรียนในสถาบันการศึกษาชั้นนำ เพราะมองว่าผู้ที่สำเร็จการศึกษา โดยเฉพาะระดับอุดมศึกษา แค่ “มีใบปริญญาประดับฝาบ้าน” ก็ถือว่าประสบความสำเร็จในชีวิตแล้ว
 

ทว่า...ในปัจจุบันและอนาคตกระแสโลกได้เปลี่ยนไป เช่นที่ เครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21(Partnership For 21st Century Skills) ซึ่งเป็นเครือข่ายของกลุ่มธุรกิจชั้นนำของสหรัฐอเมริกาและของโลก อาทิ แอปเปิ้ล(Apple), ไมโครซอฟท์(Microsoft) และดิสนีย์(Disney) เป็นต้น ร่วมกับองค์กรด้านการศึกษาอีกหลายแห่ง กล่าวถึงทักษะสำคัญของมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ไว้ ดังนี้...

“3R” ได้แก่ การอ่าน (“R”eading), การเขียน(w“R”iting) และการคำนวณ(a“R”ithemetic) กับ “7C” ได้แก่ มีวิจารณญาณ(“C”ritical Thinking), คิดอย่างสร้างสรรค์(“C”reativity), เข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม(“C”ross-cultural Understanding), ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ (“C”ollaboration), ใช้สื่อเป็นอย่างรู้เท่าทัน(“C”ommunications-Media Literacy), ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็น(“C”omputing and ICT Literacy) และมีทักษะทางวิชาชีพรวมถึงการเรียนรู้(“C”areer andLearning Skills)

ทักษะทั้งหมดนี้ มิใช่แค่การเรียนในรั้วสถาบันการศึกษา แต่ต้องสร้างให้เป็นวัฒนธรรม “เรียนรู้ตลอดชีวิต” ตั้งแต่เกิดจนตาย...ดังนั้นสังคมไทยทุกภาคส่วน พร้อมปรับตัวหรือยัง!?!?!

SCOOP@NAEWNA.COM

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันจันทร์ ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559, 06.00 น. 
  • 16 ส.ค. 2559 เวลา 13:24 น.
  • 96,145

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^