LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

บทความนี้ช่วยได้! ทำอย่างไร ให้สอบติดครูผู้ช่วย อ่านกันเลย!!

  • 27 ก.ค. 2559 เวลา 22:13 น.
  • 37,553
บทความนี้ช่วยได้! ทำอย่างไร ให้สอบติดครูผู้ช่วย อ่านกันเลย!!

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

แนวทางแก้ปัญหาที่เป็นหนทางไปสู่ความสำเร็จของนักสอบ

จากข้อเขียนก่อน “ปัญหาหรืออุปสรรคสามประการหลักที่ทำให้สอบไม่ได้” ผมได้แจกแจงให้เห็นว่ามี 3 ปัญหาหลักที่เป็นข้อขัดขวางทำให้ผู้เข้าสอบประสบความล้มเหลว คือ 1) การขาดความรู้  2) ความประมาท สะเพร่า เผลอเลอ ไม่รอบคอบในการทำข้อสอบ และ 3) ทำข้อสอบวิเคราะห์ไม่ได้  ซึ่งแต่ละข้อขัดขวาง เกิดจากสาเหตุต่าง ๆ นา ๆ และก็ได้วิเคราะห์ถึงสาเหตุอย่างละเอียดแล้ว ท่านสามารถคลิกอ่านข้อเขียน “ปัญหาหรืออุปสรรคสามประการหลักที่ทำให้สอบไม่ได้”
 
หากท่านเป็นชาวพุทธ จะคุ้นเคยกับหลักธรรม “ อริยสัจสี่ ” เป็นอย่างดี เพราะเป็นหนทางการแก้ปัญหานำมาซึ่งความสุขในชีวิต ที่ประกอบด้วย ทุกข์ (ปัญหา) สมุทัย (สาเหตุแห่งปัญหา) นิโรค (ปัญหาได้รับการแก้แล้ว) และมรรค (วิธีการแก้ปัญหา) หรือ หากเป็นหลักของ “วิธีทางวิทยาศาสตร์” จะเป็นแนวทางการแก้ปัญหาที่ได้รับการยอมรับสากล ได้แก่  ตั้งปัญหา (ปัญหา)  ตั้งสมมุติฐาน (วิเคราะห์สาเหตุและแนวทางการแก้ปัญหา) การทดลอง (ดำเนินการแก้ปัญหา) และสรุปผล (ปัญหาได้รับการแก้ไขหรือไม่)   ซึ่งตรงกับหลักการพัฒนาร่วมสมัย PDCA” ได้แก่ การวางแผน Plan (การกำหนดเป้าหมาย และกระบวนการแก้ปัญหา) การนำไปปฏิบัติ ; Do (การดำเนินการตามกระบวนการแก้ปัญหาที่ได้กำหนดไว้)  การตรวจสอบติดตาม ; Check (การติดตามและประเมินผลว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่)  และการดำเนินการ ; Act  (ปรับปรุงกระบวนการแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง) ซึ่งทั้งหมดที่ยกมานี้เป็นกระบวนการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย (พัฒนาหรือแก้ปัญหา) ที่ได้รับการตรวจสอบ ยืนยัน พิสูจน์ และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป เราท่านสามารถนำหลักวิธีการนี้ไปประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิต การสอบ หรือ การทำงานได้
 

ผมกำลังจะบอกว่า “การสอบ” ถือว่าเป็นงาน ๆ หนึ่ง และการได้งานทำ ”ตำแหน่งจากผลสอบ” ถือว่าเป็นการดำเนินชีวิต การที่จะทำงานหรือดำเนินชีวิตให้ประสบความสำเร็จ ต้องทำอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอน วิธีการที่ชัดเจน  ดังนั้น การที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายการสอบ(สอบผ่าน สอบได้)  ต้องเริ่มจาก “การวางแผน” โดยวิเคราะห์ถึงสาเหตุ (ที่ทำให้สอบตก) ปัจจัยสนับสนุน (ที่ทำให้สอบได้) จากนั้นก็กำหนดวิธีแก้ไข หรือ พัฒนา โดยมุ่งไปที่สาเหตุ หรือ ปัจจัย นั้น ๆ อย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนที่สัมพันธ์ สอดคล้องตลอดแนว ทำเป็นเอกสารที่เรียกว่าแผนสำหรับการเตรียมสอบขึ้นมา  จากนั้นก็ศึกษา ค้นคว้า หรือทำตามที่เขียนแผนไว้ เป็นการ “นำแผนไปสู่การปฏิบัติ”  มีการประเมินความรู้ตนเองจากการทำแบบทดสอบ หรือเข้ารับการทดสอบ (ออนไลน์หรือการติว) เพื่อเป็นการ “ติดตามและตรวจสอบ” ว่าความรู้ประเด็นใดที่ยังไม่เข้าใจ จากนั้นก็หมั่นทบทวน ศึกษา ค้นคว้า เข้ารับการพัฒนาเพิ่มเติม เป็นการ “ปรับปรุงหรือพัฒนา” หากปฏิบัติอย่างนี้อย่างสม่ำเสมอ ก็เชื่อว่าจะมีความพร้อม และเมื่อถึงวันสอบจะเข้าสอบด้วยความมั่นใจ  ซึ่งจะส่งผลให้สอบได้สอบผ่าน อันเป็นการบรรลุเป้าหมายการสอบตามที่คาดหวังเอาไว้อย่างแน่นอน
 
ในข้อเขียนนี้ ผมจะกล่าวถึงแนวทางในการขจัดปัญหาหรือข้อขัดขวางที่ทำให้สอบไม่ได้ เป็นแนวทางเพียงกว้าง ๆ ซึ่งอยากให้ติดตามข้อเขียนในโอกาสต่อไป จะได้นำเสนอในรายละเอียดในแต่ละประเด็น  ในตอนนี้ เรามาดูแนวทางการแก้ขัอขัดข้องในแต่ละประเด็นปัญหาพอสังเขป ดังนี้ ครับ
 
 1. ปัญหาการขาดความรู้   เกิดจากสาเหตุหลัก ๆ คือ ไม่อ่านหนังสือ หรือ อ่านแต่ไม่มากพอ อ่านไม่เข้าใจ อ่านไปเรื่อย ๆ ไม่รู้จุดสำคัญ อยากอ่านแต่ไม่มีเวลา ภารกิจมากเหลือเกิน ขาดตำรา เอกสาร คู่มือสอบที่ดี ๆ มีแต่หนังสือก็เก่า ๆ ที่รุ่นพี่มอบให้ หนังสือใหม่ก็มีแต่เนื้อหาเก่า ผิดมาก หรือ ขาดข้อมูลที่ดี ที่ถูกต้องนั้นเอง มีแนวทางแก้ไข ดังนี้
      1.1) จัดหาเครื่องมือจัดการความรู้ (KM) ให้พร้อม  เช่น ตำรา เอกสาร คู่มือเตรียมสอบที่ดี มีคุณภาพ จากอาจารย์ผู้แต่งที่เก่ง มีประสบการณ์  โดยสอบถามจากรุ่นพี่ ครู อาจารย์ท่านจะให้คำแนะนำ  นอกจากคู่มือเตรียมสอบแล้วควรหาเอกสารคู่มือปฏิบัติงานในหน้าที่ (ตำแหน่งทีสอบ) เอกสารของกระทรวง  ส่วนราชการหรือ หน่วยงาน หาได้จากห้องสมุด หน่วยงานหรือสถานศึกษา อินเตอร์เน็ต นอกจากนั้น สื่อเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือช่วยในการเรียนรู้ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เป็นสิ่งจำเป็นที่ควรมี  ประเด็นคือ  มีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้ครบถ้วน ถูกต้อง ตรงตามหลักสูตรสอบฯ
      1.2) จัดระบบการศึกษาค้นคว้าให้มีประสิทธิภาพ เช่น ทำตารางอ่าน กำหนดกรอบเนื้อหา เวลา ให้คลอบคลุมสมดุลและต่อเนื่อง  ศึกษาจากหนังสือเป็นเรื่องๆ แล้ว สรุป โน๊ตย่อ หาข้อมูลความเคลื่อนไหว ข้อมูลใหม่ๆ ทางสื่อ อินเตอร์เน็ต ฝึกทบทวนทำแบบทดสอบ ฝึกออกข้อสอบ/คิดคำถาม/ตัวเลือก/ตัวลวง หรือ เรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงหากมีโอกาส  ประเด็นคือ มีระบบ กติกา เพื่อโน้มนำให้ตนศึกษาค้นคว้า
       1.3) อ่าน ฟัง พูด เขียน อันนี้หัวใจของการสอบได้เลย ต้องจัดการให้ตนเองอ่านหนังสือ ค้นคว้ามากๆ งดภารกิจอื่นที่ทำให้เสียเวลา ไม่จำเป็น หรือทำให้เสียสมาธิ สร้างแรงจูงใจให้ฮึดสู้ ขจัดความขี้เกียจ เลือกหรือกำหนดเวลาอ่านหนังสือที่เหมาะสมสำหรับตนเอง ทั้งนี้รวมถึง การฟัง (ซีดี ไฟล์เสียง เข้าฟังติว) การพูด (สนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นวิทยากร) เขียน (สรุปเนื้อหา ออกข้อสอบ แต่งตำรา)ประเด็นคือ เรียนรู้จากหลายทาง แต่เน้นอ่านหนังสือและอ่านมากๆ
      1.4) สร้างเครือข่ายการเรียนรู้  เช่น รวมกลุ่มย่อย สุมหัวแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือติวกันเอง  เข้าอบรม สัมมนา หรือติวสอบ  เข้ากลุ่มสื่อสังคมออนไลน์  FACEBOOK LINE เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประเด็นคือ ไม่อยู่ในกะลา รู้เขา รู้เรา   
 
2. ปัญหาประมาท สะเพร่า เผลอเรอ ไม่รอบคอบ ในการทำข้อสอบ  เกิดจากสาเหตุหลัก ๆ คือ เป็นการสอบครั้งแรก  ท่องจำข้อสอบ จำตัวเลือก  ใช้ความรู้สึกทำข้อสอบ กังวล รวน และเสียสมาธิ มีแนวทางแก้ไข ดังนี้
      2.1) ฝึกทำข้อสอบ ใช้เทคนิคเข้าช่วย เช่น ทำข้อสอบเก่า ฝึกทำแบบทดสอบเพื่อบริหารเวลาสอบ (ข้อละ 1 นาทีโดยประมาณ)  ใช้เทคนิคการเลือกตัวเลือก  ใช้เทคนิคการเดาข้อสอบ ใช้เทคนิคหลักเหตุผลแทนใช้ความรู้สึกส่วนตัว เป็นต้น ประเด็นคือ ฝึกทำข้อสอบมาก ๆ หลากหลายลักษณะ มีเทคนิคเข้าช่วย
     2.2) สร้างความเข้าใจในเนื้อหา  เป็นการทำความเข้าใจในเนื้อหาไม่ใช่ท่องจำ หากจำเป็นต้องจำ ก็จำเฉพาะสิ่งสำคัญ ใช้เทคนิคการจำเข้าช่วย  ศึกษาหรือขอคำปรึกษาแนะนำผู้รู้ เพื่อสร้างความเข้าใจหลักการแนวคิดเนื้อหานั้น ๆ ประเด็นคือ เมื่อเข้าใจเนื้อหาจะมีความมั่นใจ
     2.3) ใช้ศาสตร์ว่าด้วยการสำเร็จเข้าช่วย เช่น หลักการทำงานของสมอง การสร้างความเชื่อมั่น การสร้างแรงจูงใจ การใช้พลังจิต การสร้างพลังสร้างสรรค์ การจิตนาการ  การมีสมาธิ  ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีจริง ต้องได้รับการฝึกฝน และเป็นตัวช่วยที่ทำให้สำเร็จ ประเด็นคือ ฝึกและใช้ศาสตร์ความสำเร็จเข้าช่วย
 
3. ปัญหาทำข้อสอบวิเคราะห์ไม่ได้ เกิดจากสาเหตุหลัก ๆ คือ  ขาดองค์ความรู้ในภาพรวม ไม่เข้าใจในเนื้อหาสาระหรือประเด็นนั้นอย่างแท้จริง  ท่องตำรา ท่องข้อสอบมีแนวทางแก้ไข ดังนี้
      3.1) เรียนรู้และนำหลักการวิเคราะห์ไปใช้ ได้แก่  การวิเคราะห์โดยอาศัยฐานข้อมูล องค์ความรู้ หลักการ เป็นกรอบในการตอบคำถามมากกว่าการใช้อารมณ์ ความรู้สึกส่วนตน หรือประสบการณ์ ซึ่งเป็นการเข้าข้างตนเองอาจผิด
      3.2) วิเคราะห์จุดประสงค์ที่เขาต้องการให้ได้ ทั้งที่ถามตรงๆ ถามโดยใช้สถานการณ์ หรือการหาวิธีแก้ปัญหา โดย การอ่านคำถามสองรอบ หาใจความสำคัญ จุดประสงค์หลักข้อเท็จใจ ข้อความลวง จะทำให้เลือกตัวเลือกได้ตรง
       3.3) ข้อสอบวัดสมรรถนะจะใช้ตัวบ่งชี้สมรรถนะเป็นกรอบคำถาม โดยใช้สถานการณ์หรือกรณีตัวอย่าง การตอบยึดตัวบ่งชี้ (ลำดับสูง) ไม่ใช้ความรู้สึกไปตอบ
       3.4) กรณีการสอบคัดผู้บริหารฯ บางข้อต้องใช้หลักกฎหมายหรือใช้หลักคุณธรรมเป็นกรอบคิด บางกรณีต้องใช้วิสัยทัศน์ ภาวะความเป็นผู้นำ ต้องวิเคราะห์จุดมุ่งหมายให้ได้
       สรุปประเด็นนี้ ฝึกทำข้อสอบประเภทวิเคราะห์มากๆ
 
     ผมมีประสบการณ์ในการสอบ มีข้อคิด ข้อเตือนใจตัวเองตลอดเวลา ทำให้มีเป้าหมาย มีพลังจดจ่อที่การอ่านหนังสือ ส่งผลให้สอบได้ จึงนำมาฝากผู้เตรียมตัวสอบ  ดังนี้
        1) ข้อคิด  ; สองหัวดีกว่าหัวเดียว,  หากยอมรับว่าไม่รู้จะเกิดการเรียนรู้ หากคิดว่ารู้แล้วจะไม่พัฒนา, เรียนรู้โดย สุ จิ ปุ ลิ, คนอื่นทำได้ เราต้องทำได้, ขยันอดทนมุ่งมั่นเอาจริง ไม่มีใครเก่งกว่ากัน แต่มีคนขยันกว่า และขณะนี้เขากำลังอ่าน, ความสำเร็จยืนอยู่ข้างคนมุ่งมั่นเสมอ
        2) ข้อเตือน ; อย่าหักโหมใกล้วันสอบ, บางเรื่องควรจำ ควรท่อง บางเรื่องไม่ต้องท่อง , อ่านให้คลอบคลุมเนื้อหาหลักสูตร, เนื้อหารวมดูหลักการ กฎหมายอ่านหมด, อย่าให้ข้อสอบหลอกเราจนเราจนเราหลงหลุดความรู้สึกนึกคิดที่แท้จริงออกมา,ต้องรู้ให้ได้ว่าเขาถามอะไรระหว่าง ความรู้ ความเข้าใจ แนวคิด วิสัยทัศน์ ตอบให้ตรง, บางข้อต้องวิเคราะห์จากคำถาม และบางข้อวิเคราะห์จากตัวเลือก
 
จากข้อเขียนนี้ผมขอสรุปอย่างนี้ครับว่า ปัญหาหรือข้อขัดขวางหลัก ๆ ที่ทำให้ผู้เข้าสอบต้องแพ้พ่ายไปมี 3 กลุ่ม ใหญ่ ๆ ได้แก่ การขาดความรู้  ความประมาท สะเพร่า เผลอเลอ ไม่รอบคอบในการทำข้อสอบ และ การทำข้อสอบวิเคราะห์ไม่ได้วิธีที่จะก้าวข้ามข้อขัดขวางต้องอาศัยหลักของกระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบเข้าช่วย ผู้เข้าสอบต้องวิเคราะห์ถึงสาเหตุเกิดจากอะไร ซึ่งเชื่อว่าเจ้าตัวรู้จุดอ่อนตนเองดี จากนั้นก็หาวิธีแก้ไขปัญหานั้น ๆ จุด ๆ นั้น ซึ่งผมได้เสนอแนวทางและเทคนิคเอาไว้ บางประเด็นก็เป็นรูปธรรมแล้ว บางประเด็นก็เป็นหลักการ ซึ่งจะได้นำเสนอในรายละเอียดในโอกาสต่อไป  เมื่อได้แนวทางทางแล้ว ที่สำคัญต้องลงมือทำ อ่าน ฝึกฝน พัฒนา ทบทวน ด้วยความมุ่งมั่น ทุ่มเท ตั้งใจ หากเป็นเช่นนี้ก็เชื่อว่าการสอบมันก็จะเป็นธรรมดา อาจจะทำให้บางคนกล่าวว่า “การสอบมันก็แค่เรื่องกล้วย ๆ”ก็ได้
 
 
ด้วยความปรารถนาดี
Drborworn 
 
ข้อเขียนที่เกี่ยวข้อง
3 ตัวขัดขวางที่ทำให้ผู้เข้าสอบต้องพ่ายแพ้

 
  • 27 ก.ค. 2559 เวลา 22:13 น.
  • 37,553

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^