LASTEST NEWS

25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 1 25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.บุรีรัมย์ เขต 2 25 เม.ย. 2567สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุราษฎร์ธานี ชุมพร 25 เม.ย. 2567สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สุราษฎร์ธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.ยะลา เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ยะลา เขต 1 25 เม.ย. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 7 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 7 25 เม.ย. 2567สพป.นนทบุรี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.นนทบุรี เขต 1

คอลัมน์: จับกระแส : เรียนฟรี 15 ปี ไม่ใช่ปฏิรูปการศึกษา

  • 27 มิ.ย. 2559 เวลา 08:36 น.
  • 3,410
คอลัมน์: จับกระแส : เรียนฟรี 15 ปี ไม่ใช่ปฏิรูปการศึกษา

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

คอลัมน์: จับกระแส : เรียนฟรี 15 ปี ไม่ใช่ปฏิรูปการศึกษา

          ลอย ลมบน bkk321@yahoo.com

          กรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้อำนาจหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวมาตรา 44 ออกคำสั่งให้จัดการศึกษาฟรีตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า หรือเรียนฟรี 15 ปี หากมองข้ามประเด็นด้านการเมืองแล้ว นับว่ามีประเด็นอื่นที่น่าพิจารณาอยู่พอสมควร

          ก่อนที่จะข้ามไปประเด็นอื่น ย้อน ดูมุมทางการเมืองหลังการออกคำสั่งนี้สักเล็กน้อย หลายคนมองว่าการใช้อำนาจมาตรา 44 ออกคำสั่งให้จัดการศึกษาฟรี 15 ปี เพื่อปิดจุดอ่อนของร่างรัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติวันที่ 7 สิงหาคม เพราะร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกโจมตีอย่างมากที่ลดการจัดการศึกษาฟรีเหลือแค่ 12 ปี จึงเกรงว่าจะมีผลต่อคะแนนสนับสนุน

          ส่วนมิติอื่นที่ไม่ใช่ด้านการเมืองเกิดคำถามขึ้นมากมาย เช่น คำสั่งที่ใช้อำนาจตามมาตรา 44 นี้จะมีความยั่งยืนแค่ไหน เพราะมีปัญหาว่าไปมีอำนาจเหนือกฎหมายอื่นโดยเฉพาะรัฐธรรมนูญหากผ่านประชามติออกมาบังคับใช้ แต่เข้าใจว่าจะมีการเร่งออกกฎหมายมารองรับเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

          นอกจากนี้ยังเกิดคำถามตามมาว่าที่ให้เรียนฟรีนั้น ฟรีค่าอะไรบ้าง  การจัดการศึกษาฟรีที่ผ่านมาเริ่มต้นจากฟรีค่าเทอม ต่อมามีการ ต่อยอดเป็นนโยบายของรัฐบาลแต่ละชุด ซึ่งก็ไม่เหมือนกัน เช่น ฟรีค่า เสื้อผ้า อุปกรณ์การเรียน ค่าอาหาร ค่าหนังสือ ค่ากิจกรรม

          ย้อนมาดูการจัดการศึกษาฟรี ที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ปัจจุบันโรงเรียนแต่ละแห่งจะได้รับงบประมาณจากรัฐมา 2 ส่วน ส่วน แรกใช้เพื่อการบริหารจัดการภายใน ส่วนที่ 2 แจกเป็นคูปองหรือเงินสด ให้กับเด็กและผู้ปกครองเพื่อใช้ซื้อ เสื้อผ้า รองเท้า ฯลฯ

          อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมามักมีปัญหาร้องเรียนว่าโรงเรียนเรียกเก็บเงินเพิ่มจากผู้ปกครอง บางแห่งต้องจ่ายมากกว่าสมัยที่ต้องเสียค่าเทอมเรียนเอง ซึ่งก็มีคำชี้แจงว่าเป็นเพราะงบประมาณที่รัฐให้มาไม่เพียงพอ และการเรียกเก็บเงินเพิ่มก็มีข้อกำหนดว่าต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการโรงเรียน ผู้ปกครองต้องสมัครใจ และไม่ทำให้ผู้ปกครองเดือดร้อน

          ที่ผ่านมามีตัวเลขว่าการอุดหนุนงบประมาณรายหัวสำหรับเด็กชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นรัฐจ่ายอุดหนุนอยู่ที่ประมาณหัวละ 3,500 บาท ขณะที่ มัธยมศึกษาตอนปลายอยู่ที่ 3,800 บาท  หากจะให้จัดการศึกษาแบบฟรีจริงๆ ฟรีทุกอย่าง ต้องใช้เงินอุดหนุนรายหัวไม่ต่ำกว่ารายละ 10,000 บาท จึงควรทำความเข้าใจกับสังคมให้เกิดความเข้าใจตรงกันว่า คำว่า "เรียนฟรี" เป็นการฟรีเฉพาะค่าปัจจัยพื้นฐานเท่านั้น ส่วนเรื่องอื่นๆผู้ปกครองต้องเข้ามามีส่วนร่วมจ่ายด้วย

          อย่างไรก็ตาม เรื่องการจัดการศึกษาฟรีต้องแยกออกจากการปฏิรูปการศึกษา เพราะทั้ง 2 เรื่องนี้ไม่เกี่ยวข้องกันโดยตรง รัฐบาลชุดนี้มีเป้าหมายชัดเจนว่า เข้ามาเพื่อปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการปฏิรูปการศึกษา ส่วนเรื่องการจัดการศึกษาฟรีถ้ามองในมุมการเมืองผู้มีอำนาจในปัจจุบันเคยบอกว่าเป็นเรื่องของนโยบายประชานิยม

          จากผลการจัดอันดับความสามารถ ทางการแข่งขันนานาชาติ (Global Competitiveness Index : GCI) ล่าสุดปี 2557 โดยเวิลด์อีโคโนมิก ฟอรั่ม (World Economic Forum : WEF) แม้การจัดการศึกษาของไทย  จะไต่อันดับขึ้นมา 6 อันดับ จากปี 2556 ที่อยู่อันดับ 37 จาก 148 ประเทศ มาเป็นอันดับ 31 จาก 144 ประเทศ แต่ชาติในภูมิภาคอาเซียนทั้งมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และเวียดนาม ก็ไต่อันดับสูงขึ้นมาเช่นกัน

          WEF ประเมินความสามารถทางการแข่งขันของไทยอยู่ในระดับกลาง โดยมีคะแนนค่อนข้างดีด้านสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหภาค และการ พัฒนาทางการเงิน แต่สิ่งที่น่าวิตกคือ คุณภาพการศึกษาไทยอยู่ที่อันดับ 87 ซึ่งถดถอย 9 อันดับจากปี 2556  WEF ยังวิเคราะห์ปัญหาการเพิ่มขีดความสามารถของไทยไว้ 8 หัวข้อดังนี้คือ 1.ปัญหาคอร์รัปชัน 2.ความไม่มั่นคงทางการเมือง 3.ระบบราชการ 4.ความไม่ต่อเนื่องทางนโยบาย 5.ขาดความสามารถเชิงนวัตกรรม 6.ขาดระบบเชื่อมโครงสร้างพื้นฐาน 7.ขาดคุณภาพการศึกษาแรงงาน และ 8.ขาดจริยธรรมการทำงานแรงงาน

          เมื่อเทียบกับกลุ่มอาเซียน 9 ประเทศ WEF ย้ำว่าไทยต้องเร่งพัฒนา 3 ข้อคือ คุณภาพประถมศึกษา คุณภาพการศึกษา และคุณภาพ การจัดการศึกษาด้านบริหารธุรกิจ  หากมองแยกย่อยลงไปจะพบว่า คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทยอยู่ที่อันดับ 7 ของอาเซียน จากปี 2556 อยู่ในอันดับ 6 และเป็นอันดับที่ 86 ของโลก โดยสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ขยับไปแทนที่ในอันดับ 6 ของอาเซียน และทิ้งห่างไทยไปอยู่ในอันดับที่ 79 ของโลก  คุณภาพของระบบอุดมศึกษาไทยอยู่อันดับ 8 ของอาเซียน เป็นอันดับ ที่ 78 ของโลก ตามหลัง สปป.ลาว ซึ่งอยู่ในอันดับ 6 ของอาเซียน และอันดับที่ 57 ของโลก ส่วนประเทศกัมพูชาอยู่ในอันดับ 7 ของอาเซียน และอันดับที่ 76 ของโลก

          ผลการจัดอันดับที่ออกมาบ่งชี้ว่าการจัดการศึกษาของไทยมีปัญหาใหญ่ที่จะต้องเร่งแก้ไขในทุกระดับ ทั้งที่ กระทรวงศึกษาธิการได้รับการจัดสรรงบประมาณในแต่ละปีมากที่สุด แต่คุณภาพการศึกษากลับแย่ลงเรื่อยๆ  หากยังปล่อยไว้อย่างนี้ต่อไปโดยไม่ปฏิรูปจะส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในทุกด้านเป็นอย่างมาก เพราะคนเป็นปัจจัยในการพัฒนาประเทศที่สำคัญที่สุด

          เรื่องคุณภาพทางการศึกษาจึงเป็นโจทย์ใหญ่ที่แท้จริงที่ต้องการให้เร่งแก้ไข ดีกว่ามาเถียงกันเรื่องเรียนฟรีกี่ปี ฟรีค่าอะไรบ้าง หรือกล่าวหากัน ว่าเป็นประชานิยม ใช้งบประมาณรัฐเพื่อหาเสียงจากประชาชน การใช้อำนาจตามมาตรา 44 สั่ง เรียนฟรี 15 ปี จึงไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น เพราะเป็นการทำตามนโยบายพรรค การเมืองหรือรัฐบาลก่อนๆที่ทำกันมา กลายเป็นว่าที่เคยประกาศไม่สนใจคะแนนเสียง ไม่เอาประชานิยม ก็ไม่เป็นความจริง

          หากรัฐบาลทหาร คสช. จะทำอะไรให้เป็นคุณูปการกับการศึกษาไทยควรใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดที่มี อยู่จัดการปฏิรูปการศึกษาให้เป็น รูปธรรม โดยเน้นไปที่เนื้อหา วิธีการ เพื่อเพิ่มคุณภาพการเรียนการสอน ดีกว่าไปคิดม็อตโต้ "ลดเวลา เรียนเพิ่มเวลารู้" ให้ดูเท่ๆ เก๋ๆ โดย ที่ไม่ได้ปรับเรื่องเนื้อหา วิธีการ เพื่อยกระดับการเรียนการสอนเลย

          เรียนฟรีอาจให้โอกาสคน เข้าถึงการศึกษามากขึ้น แต่ต้องเข้าใจว่าเป็นคนละเรื่องกับการปฏิรูปการศึกษา

          In Brief : ย่อความ
          การใช้อำนาจ ม.44 สั่งเรียนฟรี 15 ปีของ "บิ๊กตู่" สร้างเสียงฮือฮาพอสมควร แต่การจัดการศึกษาฟรีก็ไม่ใช่การปฏิรูปการศึกษา หากจะเดินตามธงของการรัฐประหารต้องเร่งปฏิรูปการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน เพราะเรียนฟรี 15 ปีของเดิมมีอยู่แล้ว ถ้าไม่ยกเลิกก็ไม่ต้องออกคำสั่งให้ยุ่งยาก

          หากยังไม่ปฏิรูปการศึกษาจะส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันทุกด้าน

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์โลกวันนี้ วันสุข ฉบับวันที่ 25 มิ.ย. - 1 ก.ค. 2559

อ้างอิงข้อมูลจาก :: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง  
 
  • 27 มิ.ย. 2559 เวลา 08:36 น.
  • 3,410

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^