LASTEST NEWS

28 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สระบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระบุรี เขต 2 28 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.กาญจนบุรี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.กาญจนบุรี เขต 3 28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.เชียงราย - ผลย้ายครู 2567 สพม.เชียงราย 28 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครราชสีมา เขต 6 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 6 28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.พิจิตร เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 7 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.นครศรีธรรมราช เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 27 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

ดัดหลังโกง กยศ. นักวิชาการแนะใช้ ม.44

  • 19 มิ.ย. 2559 เวลา 14:21 น.
  • 11,707
ดัดหลังโกง กยศ. นักวิชาการแนะใช้ ม.44

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ดัดหลังโกง กยศ. นักวิชาการแนะใช้ ม.44

          สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จัดประชุมสภาการศึกษาเสวนา (OEC Forum) เรื่อง "ระบบการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาสำหรับประเทศไทย" โดย ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการสภาการศึกษา เป็นประธานเปิดการเสวนา ได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.เมธี ครองแก้ว คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และนายสมนึก พิมลเสถียร อดีตรองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ประธานอนุกรรมการสภาการศึกษาด้านการติดตามและประเมินผลการศึกษา เป็นวิทยากรเสวนา

          ศ.ดร.เมธี ครองแก้ว คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวถึง ระบบการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาสำหรับประเทศไทยว่า มีความพยายามแก้ไขปัญหาการอุดหนุนเงินด้านการศึกษาผ่านทางกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) มาแล้วหลายรัฐบาล โดยใช้แนวคิดดึงรัฐบาลเข้ามาเป็นผู้ร่วมรับผิดชอบในการอุดหนุนเงิน กยศ. และประกันความเสี่ยงให้แก่ผู้ที่กู้ยืมเงิน ไปศึกษา เพื่อแก้ปัญหานักเรียนและนักศึกษาที่ได้ กู้ยืมเงินไปจากกองทุน กยศ. ซึ่งพบว่ามีจำนวนมากถึงร้อยละ 60 ที่ยังไม่มาชำระคืนเป็นจำนวนกว่า 2 ล้านคน ซึ่งมาตรการของรัฐต่อมาได้ตั้งกองทุนกู้ยืมระดับอุดมศึกษาขึ้นมาใหม่ เรียกชื่อว่า กองทุนเงินกู้เพื่อการศึกษาที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) หรือ ICL : Income-Contingent Loan ซึ่งหนี้เงินกู้ กรอ. นี้ไม่มีดอกเบี้ย แต่มูลค่าหนี้จะถูกปรับขึ้นลงตามดัชนีราคาเท่านั้น อย่างไรก็ตาม แต่ละปีรัฐต้องใช้งบประมาณหลายร้อยล้านบาท เพื่อดำเนินการทางกฎหมายสั่งฟ้องผู้กู้เงิน กรอ. ที่ไม่ชำระหนี้แต่ละปีจำนวนมาก ซึ่งมีจำนวนคดีที่มีการฟ้องร้องกันในศาลแล้วนับหมื่นคดี ดังนั้น จึงเสนอแนวคิดเพื่อปรับเปลี่ยนระบบยกเลิกระบบเงินกู้ กยศ. โดยย้ายหนี้ทั้งหมดที่ยังคงค้างอยู่โอนย้ายไปสู่ระบบกองทุน กรอ. ซึ่งจุดเริ่มต้นของรายได้จะต้องมีการชำระหนี้ที่

          มีกำหนดแน่นอน และเป็นการชำระคืนในระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภายใต้อำนาจของกรมสรรพากรทำหน้าที่เดิมอยู่แล้ว ทั้งนี้ ในส่วนระบบเงินกู้ยืมทั้ง กยศ. และ กรอ. อาจใช้เวลาเปลี่ยนผ่านราว 2 ปี เพื่อปรับเปลี่ยนเป็นระบบเงินกู้ กรอ. ระบบเดียวทั้งหมด

          ศ.ดร.เมธี ครองแก้ว กล่าวว่า การเป็นหนี้ของผู้กู้ยืมเงิน กรอ. เป็นหนี้เฉพาะตัวและผูกพันกับตัวเองไปจนตลอดชีวิต ซึ่งการมีระบบกู้ยืมเงิน กรอ. ที่มีรัฐบาลเป็นหุ้นส่วนกับนักเรียนนักศึกษาในการเข้ารับการศึกษาจะเป็นกลไกที่ช่วยสร้างและควบคุมคุณภาพของผู้เรียนได้อีกทางหนึ่ง เพื่อสร้างความรับผิดชอบต่อตนเองในการเรียนและพัฒนาตนเอง อย่างไรก็ตาม แนวทางแก้ไขระบบเงินกู้ กรอ. จำเป็นต้องแก้ไขตัวกฎหมายโดยยกเลิกกฎหมายเก่ามาใช้กฎหมายใหม่ ซึ่งปัจจุบันมีความพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นได้จริง และเสนอให้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อาศัยอำนาจมาตรา 44 เร่งยกเลิกระบบเดิมและเปลี่ยนแปลงระบบเงินกู้ กรอ. ทันทีตามแนวคิดดังกล่าวเพื่อประโยชน์ระยะยาวของการศึกษาไทยในอนาคต

          นายสมนึก พิมลเสถียร อดีตรองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ประธานอนุกรรมการสภาการศึกษา ด้านการติดตามและประเมินผลการศึกษา กล่าวว่า กองทุนกู้ยืมเงินด้านการศึกษาปัจจุบัน พบว่า ใช้งบประมาณไปแล้วมากกว่า 6-7 แสนล้านบาท แต่ยังไม่สร้างประโยชน์ให้เห็นชัดเจนแต่อย่างใด เนื่องจากแนวคิดเดิมระบบการคลังเพื่อการศึกษา หรือ Education Finance ที่ผ่านมา ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญคือ ระบบการคลังที่เน้น การสนับสนุนด้านอุปทาน (Supply-Side Financing) มากกว่าสนับสนุนด้านอุปสงค์ (Demand-side financing) โดยที่ผ่านมารัฐจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน

          ให้หน่วยผลิตบริการการศึกษา เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย มากกว่าจัดสรรเงินให้ผู้เรียนแล้วให้ ผู้เรียนเลือกโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยเอง แต่ไม่ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีเสรีภาพในการเลือกเรียนตามความถนัดของตนเอง จึงเห็นสมควรเปลี่ยนมาเป็น ระบบการศึกษาด้านอุปสงค์ (Demand-side financing) คือ ให้ความสำคัญต่อผู้เรียนสูงขึ้น และน่าเชื่อว่าจะช่วยพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น

          "ขอเสนอให้มีกฎหมาย หรือพระราชบัญญัติเฉพาะด้านกองทุนการศึกษา เพื่อสนับสนุนรองรับการศึกษาทุกด้านทั้งอาชีวศึกษา การศึกษาเฉพาะทาง และสายวิชาชีพที่ขาดแคลนให้สอดคล้องกับการวางมาตรฐานการจัดการศึกษาและการมีงานทำ และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งขณะนี้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาพยายามขับเคลื่อนเน้นอุดหนุนเงินรายหัวแก่ผู้เรียนในสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างอุปสงค์และอุปทาน อยู่ระหว่างปรับแก้ร่างแผนการศึกษาแห่งชาติ ระยะ 15 ปี นำสู่การปฏิบัติและมีการวางกลไก ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลด้านการปฏิรูประบบทรัพยากรและการเงินเพื่อการศึกษาที่ชัดเจน" นายสมนึก กล่าว

          ดร.สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์ รองเลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า ขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อการศึกษา พ.ศ... อยู่ในขั้นพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา มีแนวคิดปรับปรุงระบบกองทุนกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาแบบใหม่ และเตรียมระบบ สารสนเทศเพื่อรองรับการกู้ยืมเงินในปีการศึกษา 2560 จำนวน 4 ประเภท ประกอบด้วย กลุ่มผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ กลุ่มสาขาที่เป็นความต้องการหลักจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ กลุ่มผู้เรียนสาขาที่ขาดแคลน กลุ่มที่รัฐบาลมุ่งส่งเสริมเป็นพิเศษ และกลุ่มผู้ที่เรียนดีเพื่อความเป็นเลิศ ทั้งนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าว กำหนดให้เมื่อผู้กู้ยืมเงินเข้าทำงานในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนให้บุคคลคณะบุคคล หรือนิติบุคคล ทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่ส่งข้อมูลบุคลากรในสังกัดให้กองทุนตรวจสอบว่าเป็นผู้กู้ยืมเงินหรือไม่ และมีหน้าที่หักเงินได้พึงประเมินของผู้กู้ยืมเงิน รูปแบบเดียวกับหนี้ค่าภาษีอากร

          "อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญมีข้อเสนอว่า ทุกฝ่ายรวมถึงพ่อแม่ผู้ปกครองควรเร่งสร้างจิตสำนึกแก่ผู้เรียนให้มีวินัยและความรับผิดชอบต่อระบบ กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา และสร้างความตระหนักเสมอว่าเป็นหน้าที่สำคัญในฐานะประชาชนไทย เมื่อกู้เงิน มาเรียนแล้วต้องชดใช้เงินคืนเมื่อสามารถหารายได้เลี้ยงตนเองได้แล้ว" ดร.สมศักดิ์ กล่าว

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง วันศุกร์ ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2559, 07.04 น.​
  • 19 มิ.ย. 2559 เวลา 14:21 น.
  • 11,707

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^