LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567เช็กเลย! สพป.บึงกาฬ เตรียมเปิดสอบครูผู้ช่วย 10 สาขาวิชาเอก 65 อัตรา ประกาศรับสมัคร 1 พ.ค.2567 23 เม.ย. 2567เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน 23 เม.ย. 2567สอบครูผู้ช่วย ต้องอ่าน! นโยบายและจุดเน้น สพฐ. ปีงบประมาณ 2567-2568 และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.สระบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567สพม.หนองคาย ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.หนองคาย

8 เหตุผลที่ต้องชะลอสอบครูผู้ช่วย สพฐ. (จบ)

  • 07 พ.ค. 2559 เวลา 08:32 น.
  • 35,665
8 เหตุผลที่ต้องชะลอสอบครูผู้ช่วย สพฐ. (จบ)

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

8 เหตุผลที่ต้องชะลอสอบครูผู้ช่วย สพฐ. (จบ)

ความจากตอนที่แล้ว ผมรีวิวให้เห็นข้อกฎหมายสองกลุ่มหลัก ได้แก่ ว 14 ซึ่งเป็นกติกาของการสอบแข่งขันครูผู้ช่วย สพฐ. กับอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นบทบาทที่ต้องทำตามกติกา คือ กศจ. ศธจ.ที่เกิดขึ้นจากคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่10-11/2559 มาทำหน้าที่แทน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในบางเรื่อง กฎหมายสองกลุ่มเกี่ยวพันโดยตรงกับการสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วยในครั้งนี้

หากกติกาเดิมคนเดิมเป็นผู้ปฏิบัติ คงไม่ติดขัดอะไร หากติดขัดก็เล็กน้อยสามารถแก้ปัญหาได้ทันที เพราะเคยทำมา จะสังเกตเห็นว่าหลังๆ มาดำเนินการด้วยความเรียบร้อยดี ข่าวก็ไม่มี ประเด็นก็ไม่เกิด แต่บัดนี้เมื่อคนทำเปลี่ยนไปจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม กติกายังเหมือนเดิม ข้อความในกติกายังเหมือนเดิม ยังไม่มีแนวทางปฏิบัติ จึงอาจนำไปสู่ความสับสน ไม่แน่ใจ ตีความอย่างหลายหลาย คนละทิศคนละทาง อาจจะนำไปสู่ความไม่เรียบร้อยได้

นี่เองอาจเป็นที่มาของ สพฐ. ท่านสั่งให้ชะลอการสอบฯในครั้งนี้ โดยที่ยังไม่กำหนดวันเวลาที่แน่นอนว่าจะกำหนดอีกเมื่อใด เร็วหรือนานแค่ไหน เรามาดูเหตุผลที่ต้องชะลอสอบครูผู้ช่วย สพฐ. ออกไปว่าทำไม ? เป็นเพราะอะไร ? กัน

1. เพราะเป็นหน้าที่ สพฐ. ; อันนี้ ตรง ๆ เลย อาจจะกำปั้นทุบดิน แต่ก็เป็นเหตุผลหลัก จะเป็นซุปเปอร์เหตุผลก็ได้ เพราะในหลักเกณฑ์ ฯ ตาม ว 14 ข้อแรกเลย ที่บอกว่า ให้ สพฐ. เป็นผู้กำหนด วัน เวลาในการสอบฯ รวมทั้ง กำกับ ติดตาม ให้การสอบฯ เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม ถูกต้องตามกติกา
จะเห็นได้ว่า ครั้งแรก สพฐ. ออกหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว5881 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2558 แจ้งกำหนดการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี พ.ศ. 2559 โดยประกาศรับสมัครช่วงปลายเดือนมีนาคม สอบต้นเดือน พฤษภาคม และประกาศผลกลางเดือน พฤษภาคม 2559

สั่งเลื่อนครั้งที่ 1 ตามหนังสือ สพฐ. ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว1270 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2559 แจ้งเลื่อนการสอบสอบแข่งขันฯ ออกไป ด้วยเหตุผล เนื่องจากผลของคำสั่ง หน.คสช.ฉบับที่ 10-11/2559 ทำให้ยุบเลิก อ.ก.ค.ศ.และโอนอำนาจไปเป็นของ กศจ. และอาจปรับเปลี่ยนกระบวนการสอบต้องรอความชัดเจนระดับนโยบาย นั่นท่านทำหน้าที่ เห็นว่าการสอบช่วงนี้น่าไม่เรียบร้อย จึงให้เลื่อนออกไป

ต่อมา สพฐ. ออกหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว1652 ลงวันที่ 26 เมษายน 2559 กำหนดการสอบแข่งขันฯครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1 ปี พ.ศ. 2559 โดยให้ประกาศรับสมัครช่วงกลางเดือนพฤษภาคม สอบปลายเดือน มิถุนายน และประกาศผลต้นเดือน กรกฎาคม 2559 โดยให้ประกาศรับสมัครภายในวันที่ 16 พฤษภาคม 2559 เมื่อมองว่าน่าจะเรียบร้อย นี่เป็นการทำหน้าที่ สพฐ.

สั่งเลื่อนครั้งที่ 2 ตามหนังสือ สพฐ.ด่วนที่สุด ที่ ศธ 04009/ว1845 ลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2559 แจ้งชะลอการสอบแข่งขันฯ โดยครั้งนี้ใช้คำว่า ชะลอ ให้เหตุผลว่าอยู่ระหว่างการหารือเกี่ยวกับแนวปฏิบัติเพื่อให้การสอบเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ เป็นไปในทางเดียวกัน นี่เป็นการทำหน้าที่ เพราะท่านมองว่า หากเดินหน้าต่อไปอาจจะเกิดความไม่เรียบร้อย ไม่บริสุทธิ์ ไม่ยุติธรรม ไม่ถูกต้องตามกติกา หากเกิดปัญหา สพฐ. ก็ต้องร่วมรับผิดชอบ จึงเป็นที่มาก็การเลื่อนถึงสองครั้ง...เหตุผล เพราะหน้าที่ สพฐ.

2. เพราะ กศจ. ยังต้องแต่งตัว ; อันนี้ ก็จัดว่าเป็นเหตุผลหลัก เป็นเหตุผลที่สนับสนุน เหตุผล ข้อ 1 ก็ต้องให้ความเป็นธรรม กับ สพฐ. ที่สั่งเลื่อนการสอบฯ ในครั้งแรกออกไป หากย้อนไปดูกำหนดการ จะเห็นว่าให้ประกาศรับสมัครช่วงปลายเดือนมีนาคม สอบต้นเดือนพฤษภาคม และประกาศผลกลางเดือนพฤษภาคม 2559 ข้อเท็จจริง พบว่า ปลายเดือนมีนาคม มีคำสั่ง หน.คสช.ฉบับที่ 10-11/2559 ทำให้ยุบเลิก อ.ก.ค.ศ.และโอนอำนาจไปเป็นของ กศจ. นั้นหมายความว่า อำนาจในการดำเนินการสอบแข่งขันเป็นอำนาจของ กศจ. แต่ในห้วงสั้น ๆ เพียงหนึ่งหรือสองสัปดาห์ กศจ.ซึ่งมาจากสัดส่วนที่หลากหลาย มีขั้นตอนการได้มา การประชุมพิจารณานั้นกรรมการต้องครบองค์ประกอบ จึงเกิดไม่ทันแน่.....เหตุผล กศจ.ต้องแต่งตัวให้เรียบร้อยก่อน
เหตุผล ข้อ 1 และ ข้อ 2 เป็นเหตุผลพื้นฐาน เป็นเหตุผลด้านโครงสร้าง บทบาทหน้าที่ ก็ต้องว่าตามนั้น เรา ท่าน หากมองกลางๆ ก็ย่อมเข้าใจ ก็ย่อมให้ความเป็นธรรม เมื่อมันมีเหตุมันก็เกิดผลตามมา ทุกฝ่ายหวังดี คงไม่มีใครต้องการให้สะดุด แต่เมื่อสะดุดก็แสดงว่าทางมันขรุขระ หลุม บ่อ ผู้มีบทบาทหน้าที่ก็ต้องเข้ามาเคลีย ดูแล ทำทางเดินให้เรียบร้อย และคิดว่าตรงนี้ ผู้เกี่ยวข้องกำลังทำกัน เรา ท่าน ก็หวังว่าจะเรียบร้อยโดยเร็ว

3. เพราะแตกต่าง ใครเป็นผู้จัดสอบ ;อันนี้ ในหลักเกณฑ์ ว 14 กำหนดให้ อ.ก.ค.ศ. เป็นผู้ดำเนินการสอบ เมื่อมีคำสั่ง หน.คสช.ฉบับที่ 10-11/2559 อำนาจหน้าที่ตรงนี้ จึงเป็น กศจ. ที่ต้องดำเนินการ แต่ที่เคยปฏิบัติ พบว่า บาง อ.ก.ค.ศ. มอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ อาจเป็นเฉพาะบางขั้นตอน หรือทุกขั้นตอน เมื่อเป็นหน้าที่ กศจ. อาจจะยึดรูปแบบการทำงานแบบเดิม และอาจเป็นไปได้ที่ พบว่า บาง กศจ.มอบให้เขตพื้นที่ดำเนินการ บาง กศจ.ให้ ศธจ.เป็นผู้ดำเนินการ ทั้งมอบบางขั้นตอนหรือหมดทุกขั้นตอน เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีความแตกต่างในวิธีปฏิบัติ ถึงแม้เข้าใจตรงกันว่า การจัดสอบเป็นอำนาจของ กศจ. แต่จะมอบให้ใครเป็นผู้ปฏิบัติ ระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่ หรือสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด...เหตุผลความแตกต่างผู้ปฏิบัติฯ

4. เพราะแตกต่าง ใครลงนามในประกาศสอบฯ ; อันนี้ เชื่อว่าทุกแห่งไม่สับสน การออกประกาศสอบแข่งขันเป็น ประกาศคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) แน่ แต่การลงนามอาจแตกต่างกันสืบเนื่องจากเหตุผล ข้อ 3 เพราะหากมอบให้เขตพื้นที่ทำประกาศฯ ผู้ลงนามย่อมเป็นผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา...ผู้ได้รับมอบหมายจากประธานคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด หากให้ศึกษาธิการจังหวัดทำประกาศฯ ผู้ลงนามย่อมเป็นศึกษาธิการจังหวัด กรรมการและเลขานุการ...ผู้ได้รับมอบหมายจากประธานคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด หรือ บาง กศจ. ประธานคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดเป็นผู้ลงนามเอง เอาเป็นสมมุติว่าจังหวัดนั้น กศจ.มอบหมายให้เขตพื้นที่เป็นผู้ปฏิบัติ จังหวัดนั้นสอบสามเขตฯ ประกาศ กศจ. น่าจะเห็นออกมาสามฉบับ แต่กรณีที่บางจังหวัดให้ ศธจ.เป็นผู้ปฏิบัติ ถึงแม้จะสอบสามเขตฯ แต่ออกประกาศเพียงฉบับเดียวเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีความแตกต่างในวิธีปฏิบัติ....แตกต่างผู้ทำประกาศ
 

5. เพราะแตกต่าง เนื้อในประกาศสอบฯ ; อันนี้ เป็นการประกาศรายละเอียดของตำแหน่งว่างที่จะใช้สอบและบรรจุแต่งตั้งฯ หากมี กรณี กศจ. มอบให้เขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการก็คงไม่สับสน แต่กรณีที่ ศธจ. เป็นผู้ปฏิบัติเป็นผู้ปฏิบัติให้กับทุกเขตฯ จะกำหนดรูปแบบการประกาศอย่างไร เรียงที่ละเขตฯ หรือ รวมทุกเขตฯ นั้นหมายถึง ตำแหน่งบรรจุแต่งตั้งจะรวมทุกเขตหรือเรียงเป็นเขตฯ ด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมีความแตกต่างในวิธีปฏิบัติ

6. เพราะแตกต่าง ในรายละเอียดยุบ ๆ ยิบๆ ; อันนี้ คำว่า ยุบ ๆ ยิบ ๆ หมายถึง เรื่องย่อย ๆ ของการดำเนินงาน เช่น สถานที่รับสมัคร รูปแบบใบสมัคร สิทธิ์ของการสมัคร (ผมจะสมัครสองตำแหน่งได้ไหมครับ เขตมัธยมสมัครฟิสิกส์ เขตประถมสมัครวิทย์ทั่วไป ...ทำไมจะไม่ได้ ผมมาสมัคร กศจ.นี้ที่เดียวไม่ได้ไปสมัครจังหวัดอื่นนี่) การรับค่าสมัคร การบริหารการเงิน ฯลฯ....อันนี้ผู้สอบน่าจะสงสัย สับสน มากกว่าผู้ปฏิบัติ เกิดนานาคำถาม จังหวัดนั้นทำไมสอบที่เดียว จังหวัดนี้ทำไมกระจายไปทุกเขต (เขาหมายถึงปริมาณคู่แข่งย่อมแตกต่าง) จังหวัดนี้ ฟอร์มใบสมัครกรอกอย่างนี้ จังหวัดนั้นทำไมไม่ขอหลักฐานนี้ จังหวัดนั้นทำไมสมัครได้หลายตำแหน่ง จังหวัดนี้ทำไมกีดกันให้สมัครได้ตำแหน่งเดียว...ปรา..ปรา...ปรา... ปรากฎการณ์นี้จะเกิดน้อย หากมีการเตรียมการ ภายใต้กติกาแนวทางที่ชัดเจน....เพราะความแตกต่างในรายละเอียด

เหตุผล ข้อ 3 ถึง ข้อ 6 อยู่ในกลุ่มเดียวกัน แต่แยกให้เห็นประเด็นที่ชัดขึ้น ถ้าหากมีแนวทาง กติกาที่ชัดเจน หรือมีผู้ชี้ทางสร้างความมั่นใจในการดำเนินการ จะไม่เกิดความแตกต่าง หรือเกิดคำถามว่า อันไหนใช่ ไม่ใช่ อันไหนถูก ไม่ถูก....มันต้องอย่างใดอย่างหนึ่งว่าไหม เพราะการสอบบรรจุฯ เรื่องนี้ใหญ่มาก...

ตรงนี้หากย้อนคำสั่ง หัวหน้า คสช. ตามที่อ้างในข้อเขียนฉบับแรก กำหนดให้มีสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อทำหน้าที่งานธุรการและปฏิบัติงานราชการในหน้าที่ของ กศจ. และตามที่ กศจ.มอบหมาย ให้ศึกษาธิการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่แทนผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเฉพาะงานเกี่ยวกับ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา นั้นก็แสดงว่า ผู้ที่จะเป็นผู้ปฏิบัติในการสอบครั้งนี้คือ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด โดยมีศึกษาธิการจังหวัดเป็นหัวเรือใหญ่ ย่อมไม่ใช่ให้เขตพื้นที่ต่างๆ แยกไปทำ ดังนั้นในเรื่องการจัดทำประกาศ คำสั่ง การประสานดำเนินการ การทำงานธุรการ การรับและบริหารจัดการการเงินค่าสมัคร การจัดเตรียมโน้น นี่ นั้น จิปาถะ จึงเป็นหน้าที่ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด...แต่ต้องมีผู้ชี้ทางเพื่อให้ กศจ.สั่งหรือมอบอย่างมั่นใจ

7. เพราะแตกต่าง เขตมัธยมฯ ; อันนี้ กรณีที่เขตมัธยมดูแลรับผิดชอบเดียว ไม่น่าจะเป็นประเด็น แต่กรณีที่เขตพื้นที่มัธยมแห่งนั้นรับผิดชอบสองถึงสามจังหวัดจะทำอย่างไร กศจ.ไหนจะเป็นผู้ดำเนินการ หรือแยกดำเนินการ หากแยกดำเนินการ ดำแน่งว่างโรงเรียนนี้ของหวัดนี้ให้ กศจ.นี้ประกาศ ตำแหน่งว่างโรงเรียนนั้นให้ กศจ.จังหวัดนั้นประกาศ เป็นอันว่าตำแหน่งของเขตมัธยมนี้ อยู่ในสามประกาศ สาม กศจ. ยังไม่อยากคิดตอนเรียกบรรจุครั้งต่อไปว่าตำแหน่งว่างจะเรียกจากบัญชีใด อย่าเพิ่งคิดนะ ผอ.เขตมัธยมฯ เกรงจะปวดหัวก่อน .....นี้คือ ความต่างระหว่างมัธยมรับผิดชอบจังหวัดเดียวกับรับผิดชอบหมายจังหวัด

8. เพราะแตกต่าง การขึ้นบัญชี ; อันนี้ ประเด็นจะเกิดบางที่บางกรณีที่ กศจ.รับผิดชอบหลายเขตทั้งประถมและมัธยม สมมุติว่า เขตประถมได้สอบขึ้นบัญชีไว้ยังไม่หมดอายุวิชาเอกภาษาอังกฤษ ต่อมา กศจ.ประกาศรวมประกาศเดียว มีตำแหน่งที่เขตพื้นที่มัธยมขอสอบวิชาเอกภาษาอังกฤษ ผลปรากฏมีผู้สอบได้ขึ้นบัญชี ผลของการขึ้นบัญชีจะไปยกเลิกบัญชีเดิมไหม เพราะ อ.ก.ค.ศ.ตอนนั้น ย่อมหมายถึง กศจ.ตอนนี้ อันนี้เป็นการขึ้นบัญชีครั้งใหม่ในวิชาเอกเดิมไหม สุ่มเสียงต่อการถูกตีความ เป็นช่องโหว นำไปสู่การร้องทุกข์ ร้องเรียน หรือฟ้องร้องต่อศาลในอนาคตได้ นี่ยังไม่รวมถึง การปฏิบัติเกี่ยวกับการขอใช้บัญชี....นี้ก็เป็นความแตกต่างหากมีกรณี กศจ. มีบัญชีเดิมซึ่งประกาศตำแหน่งสาขาเอกที่เคยขึ้นไว้ กับ กศจ.ที่ไม่มีบัญชี ...

เหตุผลข้อ 3 ถึง ข้อ 8 เป็นเหตุผลในทางปฏิบัติ ที่ยังไม่ค่อยเคลีย ทำให้เกิดการตีความหลากหลาย นำไปสู่การปฏิบัติที่แตกต่างกัน
นั่นคือความไม่เรียบร้อย สัญญาณที่ไม่ค่อยดี เพราะในการดำเนินงานด้านการบริหารงานบุคคลของหน่วยงานทางการศึกษา ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยงานทางการปกครอง พึงดำเนินการให้ถูกต้องและเป็นไปตามขั้นตอน วิธีการของหลักเกณฑ์ นั้น ๆ และตามหลักวิธีปฏิบัติทางการปกครอง อันเป็นกฎหมายกลางที่หน่วยงานต้องยึดถือปฏิบัติ ซึ่งแน่นอนว่าผลของการสอบแข่งขันฯครูผู้ช่วยในครั้งนี้ ย่อมนำไปสู่การมีคำสั่งทางการปกครอง มีผู้ได้ขึ้นบัญชี มีผู้สอบตก ซึ่งเป็นการกระทบสิทธิ์ของคนบางกลุ่ม หรือ บางคน หากหน่วยงานทางการปกครองไม่ดำเนินตามขั้นตอน กระบวนการที่ถูกต้อง ตาม 1,2,หรือ 3 แล้ว ย่อมเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทบสิทธิ์นำไปสู่การฟ้องร้องต่อศาลฯได้ ถึงวันนั้นการแก้ปัญหาอาจจะใช้เวลา สอง สามถึง สี่ปี หรือมากกว่านั้น จะยิ่งนานกว่าการชะลอการสอบครั้งนี้แน่ คิดว่าไม่มีใครต้องการให้เกิดเหตุการณ์นี้

ดังนั้น เมื่อแนวปฏิบัติอันเป็นกติกายังไม่ชัดเจน การดำเนินการต่อไปอาจสุ่มเสียงต่อความไม่เรียบร้อย สพฐ. รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรรีบเร่งแก้ปัญหา และเราก็เชื่อว่าขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือเกี่ยวกับแนวปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างขะมักเขมัน เพื่อให้การสอบเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ เป็นไปในทางเดียวกัน และสามารถประกาศกำหนดการสอบแข่งขันฯ ครั้งใหม่ได้

ทั้งหมดนี้ น่าจะเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งในหลาย ๆ ส่วน ที่ สพฐ. ให้ชะลอการสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย ในครั้งนี้ และหวังว่า จะ ไม่มีการเลื่อนรอบที่สาม....ใช่ไหมครับ

อดใจรออีกนิด.....ดีกว่าลุ้นคำสั่งศาลฯ ที่ น้าน นาน...นะครับ

สอบได้ไม่ง้อติว ; dr.borworn

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: เฟซบุ๊กแฟนเพจ สอบได้ ไม่ง้อติว 
 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
8 เหตุผลที่ต้องชะลอสอบครูผู้ช่วย สพฐ. ออกไป (1)
  • 07 พ.ค. 2559 เวลา 08:32 น.
  • 35,665

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^