LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เชียงใหม่ เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครสวรรค์ เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครสวรรค์ เขต 1

จบ ป.6 เกรด 2.5 ขึ้นไป เรียนฟรี! ม.1

  • 28 เม.ย. 2559 เวลา 10:44 น.
  • 11,405
จบ ป.6 เกรด 2.5 ขึ้นไป เรียนฟรี! ม.1

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

จบ ป.6 เกรด 2.5 ขึ้นไป เรียนฟรี! ม.1 

         หลังจากที่กลายเป็นประเด็นร้อนตั้งแต่ช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สำหรับกรณี ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่ ที่มีการเปลี่ยนแปลงสิทธิเรียนฟรี จาก 15 ปี ลดเหลือเพียง 12 ปี ทำให้เรียนฟรีถึงแค่มัธยมต้นเท่านั้น จนเกิดเป็น การรณรงค์ "เอา ม.ปลาย ฟรี ของเราคืนมา" นั้น ในขณะที่ประเด็นดังกล่าวยังไม่คลี่คลาย ล่าสุดผู้ตรวจการแผ่นดินเตรียมทำวิจัยหาข้อมูล งดเรียนฟรีในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สำหรับ เด็กจบ ป.6 เกรดไม่ถึง 2.5 ออกมาเมื่อวันก่อน

          นายศรีราชา วงศารยางกูร ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวถึงข้อเสนอให้จัดการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี ตั้งแต่ระดับปฐมวัย ถึงชั้น ป.6 แยกสายสามัญกับสายอาชีวะ ตั้งแต่ชั้น ม.1 เพราะข้อมูลการศึกษาด้านจิตวิทยาพบว่าเด็กจะรับรู้ และเรียนรู้ได้มากที่สุดในชีวิต คือช่วงอายุ 1-6 ขวบ

          "ที่ยังคงให้การศึกษาภาคบังคับอยู่แค่ 9 ปี เพราะไม่เห็นประโยชน์ที่จะเพิ่มเป็น 12 ปี หากเพิ่มถึง ม.6 รัฐจะต้องใส่งบประมาณเข้าไปมากขึ้น ขณะที่คุณภาพของการศึกษาไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนปีของการศึกษาภาคบังคับ แต่ขึ้นอยู่กับเราจะสอนอะไรต่างหาก ส่วนที่เสนอให้การศึกษาภาคบังคับอยู่แค่ ป.6 จะผลักเด็กออกจากระบบการศึกษาหรือไม่ เพราะผู้ปกครองที่ฐานะไม่ดี อาจให้ลูกออกไปช่วยทำงาน เพราะกฎหมายไม่บังคับนั้น ไม่คิดเช่นนั้น เมื่อเด็กเรียนถึง ป.6 จะต้องเรียนต่อเนื่อง ซึ่งก็อยู่ที่ผู้ปกครองจะเลือก และที่อยากให้แยกสายสามัญกับสายอาชีวะตั้งแต่ ม.1 เพื่อให้เตรียมตัวว่าจะเลือกเรียนสายไหน แต่ยังคงเรียนวิชาการควบคู่ไปด้วย ไม่ใช่ปล่อยให้เรียนสายสามัญไปเรื่อยๆ สุดท้ายเข้ามหาวิทยาลัย และจบมาแล้วตกงานเป็นปัญหา อย่างไรก็ตาม ยังเปิดโอกาสให้คนที่เลือกเรียนสายอาชีพ หากต้องการเรียนแพทย์ หรือวิศวกรรมศาสตร์ ก็สามารถสอบเข้าเรียนได้เช่นกัน" นายศรีราชากล่าว

          นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดให้เด็กที่เรียนจบชั้น ป.6 แต่เกรดเฉลี่ยไม่ถึง 2.5 เมื่อเข้าเรียนชั้น ม.1 จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด หากไม่มีเงินจะต้องกู้ยืมจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)  เพื่อให้เด็กตั้งใจเรียน ทำคะแนนให้ดี จูงใจให้ผู้ปกครองและเด็กมีความรับผิดชอบต่อตัวเองตั้งแต่ระดับประถมศึกษา

          "ข้อเสนอของผู้ตรวจการแผ่นดินทั้งหมด ไม่ถือว่าใจร้ายเกินไป เพราะหลายประเทศทั้งสิงคโปร์ เกาหลีใต้ มาเลเซีย ก็ทำแบบนี้ จึงต้องตั้งคำถามว่าเราอยากให้เด็กของเราเท่าเทียม หรือด้อยกว่าเขา เพราะทั้งหมดขึ้นอยู่กับการ เตรียมตัว การเรียนไม่ฟรีจะเป็นแรงบีบให้ ผู้ปกครอง และเด็กได้เตรียมตัว ไม่ใช่ปรนเปรอจนเกินความต้องการ ส่วนที่เสนอให้เพิ่มเงินเดือนครูให้เท่ากับแพทย์นั้น หลายฝ่ายเข้าใจผิด ที่เสนอไม่ได้เพิ่มเฉพาะเงินเท่านั้น แต่ตัวครูต้องเพิ่มคุณภาพ ต่อไปครูต้องจบปริญญาโท และไม่ใช่ครูคนเดียวจะสอนทุกวิชา ต้องเป็นครูที่เชี่ยวชาญในแต่ละวิชามาสอบเด็ก โดยวันที่ 2 พฤษภาคม จะนำข้อเสนอดังกล่าวเสนอสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) พิจารณา ก่อนเสนอให้รัฐบาล และรัฐมนตรีว่าการ ศธ. นำไปปรับใช้" นายศรีราชากล่าว

          อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอนี้อาจมีหลายฝ่ายไม่เห็นด้วย จึงต้องทำวิจัยเพื่อหาข้อมูลที่ชัดเจน ทั้งนี้ หลายประเทศทั้งสิงคโปร์ เกาหลีใต้ มาเลเซีย ก็ทำแบบนี้ จึงต้องตั้งคำถามว่าเราอยากให้เด็กของเราเท่าเทียม หรือด้อยกว่าเขา  การเรียนไม่ฟรี จะเป็นแรงบีบให้ผู้ปกครอง และเด็กได้เตรียมตัว ไม่ใช่ปรนเปรอจนเกินความต้องการ

          อนาคตด้านการศึกษาของชาติจะเป็นอย่างไรต่อไป โปรดติดตาม

ขอบคุณเนื้อหาและที่มาของข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์นิวร้อยแปด
 
  • 28 เม.ย. 2559 เวลา 10:44 น.
  • 11,405

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^