LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567เช็กเลย! สพป.บึงกาฬ เตรียมเปิดสอบครูผู้ช่วย 10 สาขาวิชาเอก 65 อัตรา ประกาศรับสมัคร 1 พ.ค.2567 23 เม.ย. 2567เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน 23 เม.ย. 2567สอบครูผู้ช่วย ต้องอ่าน! นโยบายและจุดเน้น สพฐ. ปีงบประมาณ 2567-2568 และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.สระบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567สพม.หนองคาย ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.หนองคาย

การศึกษาแห่งชาติ

  • 25 เม.ย. 2559 เวลา 07:26 น.
  • 3,478
การศึกษาแห่งชาติ

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

การศึกษาแห่งชาติ
หากแต่ประเทศจีนซึ่งเดิมทีเคยเป็นประเทศที่มีคนอ่านหนังสือมาก แต่จากการสำรวจของทางการจีนก็ได้พบเช่นกันว่า สถิติการอ่านหนังสือของคนจีนก็อยู่ในระดับที่ต่ำมาก

ทุกปีของเดือนเมษายนจะเป็นช่วงที่ไทยเรามีงานใหญ่อยู่ นั่นคือ “งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ” ที่มีผู้คนมากมายไปเที่ยวชมและซื้อหนังสือกันหนาแน่น ทำให้แปลกใจเหมือนกันว่า เมื่อพูดถึงเรื่องการอ่านหนังสือแล้วนั้นที่คนไทยโดยเฉลี่ยนั้นอ่านหนังสือน้อยมาก จนภาครัฐต้องเข้ามาช่วยรณรงค์ให้คนไทยอ่านมากขึ้น จนเคยถึงกับตั้งเป็น “วาระแห่งชาติ” ก็ตาม

ทั้งนี้จากข้อมูลที่มีการสำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติที่พบว่า โดยเฉลี่ยแล้วคนไทยให้เวลากับการอ่านหนังสือเพียงวันละเพียง 39 นาที หรือเทียบเท่ากับการอ่านโดยเฉลี่ยเพียงปีละ ประมาณ 2 – 3 เล่มต่อคนต่อปีเท่านั้น ซึ่งหากเทียบกับเพื่อนบ้านในอาเซียนที่บ้านใกล้เรือนเคียงนั้นมีสถิติการอ่านต่อปีมากว่าคนไทยถึงกว่า 10 เท่า

หากแต่ประเทศจีนซึ่งเดิมทีเคยเป็นประเทศที่มีคนอ่านหนังสือมาก แต่จากการสำรวจของทางการจีนก็ได้พบเช่นกันว่า สถิติการอ่านหนังสือของคนจีนก็อยู่ในระดับที่ต่ำมาก โดยการสำรวจการอ่านของปี พ.ศ. 2555 ระบุว่าคนที่อายุระหว่าง 18 – 70 ปี อ่านหนังสือเฉลี่ยเพียงปีละ 6.7 เล่ม ซึ่งตัวเลขนี้รวมถึงหนังสือทั้งที่เป็นเล่มและอีบุ๊ก โดยเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านั้นถือว่าดีขึ้นมานิดเดียว คือเพิ่มขึ้นเพียง 1 เล่มต่อปีเท่านั้น ทั้งนี้หากเทียบกับคนสหรัฐอเมริกันนั้น มีการอ่านหนังสือเฉลี่ยที่ 10.5 เล่มต่อปี ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่ห่างไกลกันมาก

อย่างไรก็ตาม สำหรับปัญหาการอ่านนี้รัฐบาลจีนก็มิได้เพิกเฉย ถึงกลับได้พยายามที่จะออกกฎหมายเพื่อมาใช้บังคับให้คนต้องอ่านหนังสือบ้าง โดยสภานิติบัญญัติของจีนได้เสนอกฎหมายว่าด้วยการอ่านหนังสือ เพื่อนำมาบังคับใช้ให้เป็นรูปธรรม แต่เรื่องดังกล่าวก็เหมือนกับเงียบกันไป

แต่จากความเป็นจริงนั้น จีนเป็นประเทศหนึ่งที่มีการผลิตหนังสือใหม่ๆ และหนังสือดีๆ ออกมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นหนังสือวรรณกรรมดีๆ ที่ได้รางวัลระดับโลก จะมีแปลเป็นภาษาจีนในเวลาอันรวดเร็ว และหนังสือในจีนก็มียอดการขายที่ค่อนข้างดี โดยเฉพาะในร้านหนังสือจีนนั้น จะพบว่ามีหนังสือมากมายสารพัดสารเพ และสนนราคาก็ถูกแสนถูกหากเทียบกับหนังสือในบ้านเรา แต่ไม่รู้ว่าควรจะดีใจหรือเสียใจดี เพราะในร้านหนังสือที่ประเทศจีน จะพบว่ามีคนหยิบหนังสือมานั่งมานอนอ่านกัน จนแทบจะไม่เหลือทางให้เดินด้วยซ้ำไป และร้านหนังสือเองก็ไม่เห็นออกมาว่า หรือไล่ไป หรือว่าคงเบื่อและขี้เกียจไล่ก็ไม่รู้ โดยเฉพาะในช่วงที่ปิดเทอม เด็กๆ ก็จะมาที่ร้านหนังสือมานั่งนอนอ่านกันทุกวัน ราวกับเป็นห้องสมุดของตนเอง หนังสือบางเล่มก็เสียหายและชำรุดไปตามการอ่านของผู้คน แต่มาคิดอีกแง่หนึ่งก็ยังดีที่คนรักการอ่าน แม้ว่าจะทำอะไรที่เราดูแล้วมันประหลาดและไม่น่ารักเท่าไรนักก็ตาม

ในความเป็นจริงของสถิติที่ทางการจีนรายงาน ก็ทำให้แปลกใจเล็กน้อย เพราะจากที่พบเห็น คนจีนอ่านหนังสือกันตั้งมากมาย ไม่วายแม้แต่ร้านหนังสือที่เนืองแน่นไปด้วยผู้คนที่มาเพื่อจะก้มหน้าก้มตาอ่านกันอย่างเอาจริงเอาจังทีเดียว แม้แต่ในห้องสมุดผู้คนก็คนหนาแน่น จนถึงกับต้องเล่นเก้าอี้ดนตรีกันตั้งแต่เช้าตรู่ที่ห้องสมุดเปิดบริการเลยทีเดียว โดยเฉพาะห้องสมุดในมหาวิทยาลัยที่จะมีนักศึกษาจีนมายืนอออยู่หน้าห้องสมุดตั้งแต่ก่อนห้องสมุดเปิด เพื่อมารอใช้บริการ และที่นั่งในห้องสมุดจะหมดอย่างรวดเร็วในเวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมง และบรรดานักศึกษาจีนเหล่านี้ก็แทบจะสิงสถิตอยู่แต่ในห้องสมุด ไม่ลุกไปไหนทั้งวัน ตั้งหน้าตั้งตาอ่านหนังสือ มีการเตรียมกระติกน้ำมาเพื่อดื่มน้ำ ทางห้องสมุดจะมีน้ำร้อนไว้ให้คนกดดื่ม ซึ่งไม่ใช้กระติกให้กด หากแต่เป็นเครื่องขนาดใหญ่ให้กดดื่มตามสบาย

ฉะนั้น ภาพของเด็กหรือนักศึกษามาใช้บริการห้องสมุดกันอย่างหนาแน่น เป็นภาพที่แทบหาไม่ได้ในประเทศไทย จะพบได้บ้างเฉพาะตามมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทยในช่วงเวลาใกล้สอบในทุกครั้ง ที่จะมีนักศึกษามาใช้บริการจนเต็ม และขยายเวลาปิดออกไป ซึ่งหากในยามปกติห้องสมุดก็มักจะมีคนเพียงน้อยนิดเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม การอ่านหนังสือนั้นถือเป็นเรื่องที่ดีและน่าสนับสนุน ดังจะเห็นได้จากที่ทางการจีนได้พยายามหาวิธีต่างๆ ออกมาเพื่อแก้ปัญหาการอ่านน้อย

สำหรับประเทศไทยนั้นแม้จะมีความพยายามรณรงค์การอ่านของคนเด็กและเยาวชนไทยที่จะเป็นกำลังสำคัญของประเทศในอนาคต แต่ในความเป็นจริงแล้ว การที่รัฐพยายามออกมาแก้ไขหลักสูตรการเรียนโดยให้ลดเวลาเรียนลง ให้ทำกิจกรรมมากขึ้นก็น่าจะเป็นสิ่งที่ดี แต่ทั้งนี้บรรดานักการศึกษา หรือกระทรวงศึกษาน่าจะออกมาปฏิรูปการศึกษาเสียใหม่ เพื่อให้เด็กรักการอ่านการเรียน การทำกิจกรรมต่างๆ การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และหน้าที่พลเมือง ตลอดจนการค้นหาความสนใจของผู้เรียน รวมไปถึงการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของบรรดาครูอาจารย์ให้ทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ ที่บรรดาคนเก่งหรือมีความสามารถสนใจอยากที่จะแย่งกันออกมาเป็นครู และเมื่อเราได้บุคลากรที่มีคุณภาพ รักในอาชีพโดยไม่ต้องมาห่วงปากท้องตนมากนัก แต่รัฐไทยนั้นกลับกระทำในทางตรงข้าม โดยออกมาปรับโครงสร้างให้ครูอาจารย์ออกนอกระบบ เป็นเพียงพนักงานของรัฐ ซึ่งในอนาคตก็คงไม่มีสวัสดิการให้เช่นเดิม ไม่มีความมั่นคงในชีวิต แล้วจะมีใครเล่าอยากจะมาเป็นครู และทุ่มเทกับการอบรมสั่งสอนให้กับเด็กนักเรียนที่เป็นอนาคตของชาติ

ฤาเราจะสิ้นชาติก็เพราะการปฏิวัติการศึกษาแบบไรสติเช่นนี้

................................

คอลัมน์ : ฝ่ากำแพงเมืองจีน

โดย “อ.ดร.ศิริเพ็ชร ทฤษณาวดี”

ภาควิชาภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์“

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน 2559 เวลา 10:00 น.
 
  • 25 เม.ย. 2559 เวลา 07:26 น.
  • 3,478

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^