LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567เช็กเลย! สพป.บึงกาฬ เตรียมเปิดสอบครูผู้ช่วย 10 สาขาวิชาเอก 65 อัตรา ประกาศรับสมัคร 1 พ.ค.2567 23 เม.ย. 2567เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน 23 เม.ย. 2567สอบครูผู้ช่วย ต้องอ่าน! นโยบายและจุดเน้น สพฐ. ปีงบประมาณ 2567-2568 และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.สระบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567สพม.หนองคาย ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.หนองคาย

ค่าเฉลี่ยคะแนนโอเน็ต ป.6,ม.3 ไม่ถึงครึ่ง นักวิชาการ เผย เด็กไม่ตั้งใจสอบ

  • 29 มี.ค. 2559 เวลา 08:40 น.
  • 3,094
ค่าเฉลี่ยคะแนนโอเน็ต ป.6,ม.3 ไม่ถึงครึ่ง นักวิชาการ เผย เด็กไม่ตั้งใจสอบ

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ค่าเฉลี่ยคะแนนโอเน็ต ป.6,ม.3 ไม่ถึงครึ่ง นักวิชาการ เผย เด็กไม่ตั้งใจสอบ

สทศ.เผยคะแนนโอเน็ต ป.6-ม.3 ทุกกลุ่มสาระปีการศึกษา 2558 ภาพรวมคะแนนเฉลี่ยไม่ถึงครึ่ง แต่สูงขึ้นกว่าปี 57 ชี้ภาษาอังกฤษได้คะแนนเฉลี่ยต่ำสุดทั้ง ป.6 และ ม.3 ด้านนักวิชาการครุศาสตร์ จุฬาฯ ชี้เด็กไม่ตั้งใจสอบ แม้จะสอบโอเน็ตได้ไม่ดีก็ยังเรียนจบได้...

เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 59 รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผอ.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยว่า สทศ.ประกาศผลสอบโอเน็ตชั้น ป.6 และ ม.3 ปีการศึกษา 2558 โดยโอเน็ตชั้น ป.6 พบว่า ภาษาไทย ผู้เข้าสอบ 716,771 คน สูงสุด 100 คะแนน ต่ำสุด 0 คะแนน เฉลี่ย 49.33 คะแนน สังคมศึกษาฯ ผู้เข้าสอบ 716,784 คน สูงสุด 98 คะแนน ต่ำสุด 0 คะแนน เฉลี่ย 49.18 คะแนน ภาษาอังกฤษ ผู้เข้าสอบ 716,780 คน สูงสุด 100 คะแนน ต่ำสุด 0 คะแนน เฉลี่ย 40.31 คะแนน คณิตศาสตร์ ผู้เข้าสอบ 716,684 คน สูงสุด 100 คะแนน ต่ำสุด 0 คะแนน เฉลี่ย 43.47 คะแนน วิทยาศาสตร์ ผู้เข้าสอบ 716,778 คน สูงสุด 100 คะแนน ต่ำสุด 0 คะแนน เฉลี่ย 42.59 คะแนน

รศ.ดร.สัมพันธ์ กล่าวว่า หากจำแนกคะแนนเฉลี่ยตามรายสาระวิชาพบว่า ภาษาไทย สาระที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดคือ สาระการอ่าน รองลงมาคือ สาระการเขียน สังคมศึกษาฯ สาระที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิต รองลงมาคือ สาระเศรษฐศาสตร์ ภาษาอังกฤษ สาระที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ สาระภาษาและวัฒนธรรม รองลงมาคือ สาระภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก คณิตศาสตร์ สาระที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ สาระจำนวนและการดำเนินการ รองลงมาคือ สาระเรขาคณิต วิทยาศาสตร์ สาระที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ สาระสิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต รองลงมาคือ สาระชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

ผอ.สทศ. กล่าวต่อว่า ส่วนโอเน็ต ม.3 พบว่า ภาษาไทย ผู้เข้าสอบ 656,817 คน สูงสุด 82.00 คะแนน ต่ำสุด 0 คะแนน เฉลี่ย 42.64 คะแนน สังคมศึกษาฯ ผู้เข้าสอบ 656,724 คน สูงสุด 98.00 คะแนน ต่ำสุด 2 คะแนน เฉลี่ย 46.24 คะแนน ภาษาอังกฤษ ผู้เข้าสอบ 656,701 คน สูงสุด 96.00 คะแนน ต่ำสุด 0 คะแนน เฉลี่ย 30.62 คะแนน คณิตศาสตร์ ผู้เข้าสอบ 656,491 คน สูงสุด 100 คะแนน ต่ำสุด 0 คะแนน เฉลี่ย 32.40 คะแนน วิทยาศาสตร์ ผู้เข้าสอบ 656,463 คน สูงสุด 100 คะแนน ต่ำสุด 0 คะแนน เฉลี่ย 37.63 คะแนน

รศ.ดร.สัมพันธ์ กล่าวอีกว่า เมื่อจำแนกคะแนนเฉลี่ยตามสาระวิชา โอเน็ต ม.3 พบว่า ภาษาไทย สาระที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ สาระการเขียน รองลงมาคือ สาระการอ่าน สังคมศึกษาฯ สาระที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ สาระหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิต รองลงมาคือ สาระประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษ สาระที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ สาระภาษาเพื่อการสื่อสาร รองลงมาคือ สาระภาษาและวัฒนธรรม คณิตศาสตร์ สาระที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ สาระพีชคณิต รองลงมาคือ สาระเรขาคณิต วิทยาศาสตร์ สาระที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ สาระสิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต รองลงมาคือ สาระสารและสมบัติของสาร

“ในภาพรวมคะแนนเฉลี่ยเกือบทุกวิชาทั้ง ป.6 และ ม.3 สูงขึ้นกว่าปีการศึกษา 2557 ซึ่ง สทศ.จะนำผลสอบโอเน็ตของทั้ง 2 ระดับนี้ไปเทียบเคียงกับผลการประเมินระดับนานาชาติ โดยเฉพาะ PISA ต่อไป” รศ.ดร.สัมพันธ์ กล่าว

ด้าน ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่าการที่ค่าคะแนนเฉลี่ยทุกวิชาไม่ถึง 50% นั้น มีสาเหตุมาจากข้อสอบค่อนข้างยาก เนื่องจากผู้สร้างข้อสอบส่วนใหญ่เป็นอาจารย์โรงเรียนสาธิต และเป็นนักวิชาการของมหาวิทยาลัยต่างๆ ขณะเดียวกันผลการสอบโอเน็ตก็ไม่ถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากนัก แม้จะนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาคัดเด็กเข้าเรียนต่อในระดับต่างๆ แต่ก็เป็นสัดส่วนที่น้อยมาก นอกจากนี้เด็กก็รู้ว่าแม้จะทำคะแนนโอเน็ตได้ไม่ดี แต่ยังไงก็เรียนจบอยู่ดี จึงทำให้เด็กไม่ตั้งใจสอบ.

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์ วันที่ 28 มี.ค. 2559 เวลา 19:36 น. 
  • 29 มี.ค. 2559 เวลา 08:40 น.
  • 3,094

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^