LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เชียงใหม่ เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครสวรรค์ เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครสวรรค์ เขต 1

วางเป้าการศึกษาไทยหลุด"ติดหล่ม"ใน5ปี

  • 23 มี.ค. 2559 เวลา 23:45 น.
  • 3,626
วางเป้าการศึกษาไทยหลุด"ติดหล่ม"ใน5ปี

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

วางเป้าการศึกษาไทยหลุด"ติดหล่ม"ใน5ปี

สกศ.ระดมความเห็นวางแผนการศึกษาแห่งชาติ "ดาว์พงษ์" ย้ำต้องหาจุดที่การศึกษาไทย "ติดหล่ม" ให้เจอ และหาทางออกจากหล่มนี้ให้ได้ภายใน 5 ปี หรืออย่างน้อยใช้เวลาในช่วง 2 ปีออกจากหล่มให้มากที่สุดถึงจะปฏิรูปสำเร็จ

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) จัดการประชุมระดมความคิดเห็นเรื่อง "ทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2574" โดยมี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พร้อมด้วย พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการสภาการศึกษา (เลขาฯ สกศ.) โดย พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า การระดมความคิดเห็นการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาบุคลากรและระบบการศึกษาของประเทศครั้งนี้ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญเทียบเท่ารัฐธรรมนูญ เพราะจะเป็นการวางแนวทางการศึกษาของชาติในอีก 15 ปีข้างหน้า ทั้งยังเป็นความท้าทายอย่างยิ่งที่จะพิสูจน์ว่าประเทศจะไปตามทิศทางที่คาดหวังไว้หรือไม่ ขณะนี้ประเทศต้องการความร่วมมือจากทุกฝ่าย และประชาชนก็ยังต้องการการสนับสนุนจากรัฐบาลในการที่จะเข้าถึงการบริการของภาครัฐ โดยเฉพาะการเข้าถึงระบบการศึกษาอย่างเท่าเทียม เพื่อจะหลุดพ้นจากการเป็นประชากรรายได้น้อยสู่รายได้ปานกลางในอนาคตอันใกล้ ซึ่งแน่นอนว่าการศึกษาทำให้เกิดปัญญา แต่ปัญญาอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ ต้องมีการสร้างเสริมบุคลากรอย่างครบถ้วนและรอบด้าน ให้มีความพร้อมต่อบริบทที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงในเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อมั่นว่าแผนการศึกษาฉบับนี้จะสามารถวางกรอบและบรรจุสาระสำคัญทุกอย่างให้อยู่ในแผน ทั้งยังสามารถขับเคลื่อนได้อย่างสอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศ

ด้าน พล.อ.ดาว์พงษ์กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “การขับเคลื่อนแผนฯ สู่การปฏิบัติ” ตอนหนึ่งว่า การจัดทำแผนการศึกษาฯ จะต้องมองไปอีก 15 ปีข้างหน้า ฉะนั้นเราต้องถอยหลังกลับมามองว่าสภาพปัญหาที่แท้จริงและที่ผ่านมาแผนต่างๆ มักไม่สู่การนำไปปฏิบัติ โดยสิ่งที่ตนอยากเห็นและบรรจุอยู่ในแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับนี้มี 9 ประเด็น ได้แก่

1.ต้องหาหล่มการศึกษาให้เจอ หล่มที่ว่าคือสภาพปัญหาที่มีอยู่ในระบบการศึกษาไทย และจัดทำแผนที่ออกจากหล่มนั้นให้ได้ ต้องเสร็จ ภายในช่วงแรกของแผนนี้ 5 ปีต้องหลุดให้ได้ ซึ่งมีอยู่ 6 ปัญหาหลัก เช่น การผลิตครู ที่สังคมมองว่าครูของไม่เก่ง หลักสูตร การบริหารจัดการ ไอซีที เป็นต้น และหล่มพวกนี้ต้องทำให้หลุดให้ได้มากที่สุดภายใน 2 ปีนี้

2.ทำแผนการศึกษาแต่ละกลุ่มให้ชัดเจนและต่อเนื่อง มีการสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะช่วงรอยต่อของการศึกษาที่จะต้องช่วยกันจัดระบบให้เข้มแข็งตั้งแต่เริ่มการศึกษาจนจบการศึกษา 3.แผนต้องนำไปปฏิบัติได้จริง เพราะไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลใดเข้ามาจะได้สานต่อการทำงานได้ 4.ต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน แม้ในการทำงานอาจจะปรับเปลี่ยนแผนบ้าง แต่เป้าหมายที่วางไว้ต้องไม่เปลี่ยน

พล.อ.ดาว์พงษ์กล่าวต่อว่า 5.การกระจายอำนาจ อยากให้ใช้ปัจจัยหรือเงื่อนไขในการเปลี่ยนผ่าน ดูความพร้อมและความเหมาะสมเป็นหลัก อย่าใช้ห้วงเวลาเป็นตัวกำหนดในการเปลี่ยนผ่าน 6.การประเมินหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาควรจะต้องอยู่ในแผนการศึกษาฯ และต้องได้รับการประเมินด้วย 7.งานวิจัย เป็นอีกเรื่องที่อยู่ในหล่ม ตนอยากให้มีการกำหนดกรอบชัดเจนว่าจะมุ่งงานวิจัยเรื่องใด ใครเป็นผู้ทำ และเป็นการวิจัยที่ตอบสนองการพัฒนาประเทศ 8.การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ซึ่งขณะนี้เริ่มดำเนินการแล้วในรูปแบบประชารัฐ และ 9.งบประมาณ การจัดทำแผนต้องให้สอดคล้องกับระบบการเงินการคลังของประเทศ ซึ่งหากสามารถวางแผนใน 8 ประเด็นข้างต้นได้ดี เรื่องงบประมาณก็ไม่ใช่ปัญหาที่น่าเป็นห่วง.

ขอบคุณเนื้อหาและที่มาของข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 23 มี.ค. 2559
 
  • 23 มี.ค. 2559 เวลา 23:45 น.
  • 3,626

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^