LASTEST NEWS

19 มี.ค. 2567“สุรินทร์” ผู้ช่วยเลขาธิการกพฐ.ป้ายแดง เผยการเลื่อนสอบบรรจุครู ว16 ว17 และ ว14 ไม่กระทบการเรียนการสอนของเด็ก ยืนยันบรรจุครูทันเปิดเทอมแน่นอน 17 มี.ค. 2567ราชกิจจานุเบกษา ประกาศข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567 17 มี.ค. 2567โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาไทย เงินเดือน 12,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 22 - 26 เมษายน พ.ศ. 2567 17 มี.ค. 2567ด่วน! กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ 15 วิชาเอก 730 อัตรา รับสมัคร รอบที่ 1 ตั้งแต่ 20-26 มี.ค.2567 และรอบที่ 2 ตั้งแต่ 31 พ.ค.-14 มิ.ย.2567 16 มี.ค. 2567โรงเรียนหนองแค“สรกิจพิทยา” รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 12,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม - 24 มีนาคม 2567 16 มี.ค. 2567โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์(วัดน้อยใน)ในพระราชูปถัมภ์ฯ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาสังคมศึกษา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้-22 มีนาคม 2567 16 มี.ค. 2567โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 2 รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่ 18-22 มี.ค.2567 16 มี.ค. 2567สพฐ. สั่งเด้งด่วน! ผอ.หวงเก้าอี้ ฮึ่มเร่งสอบข้อเท็จจริง ภายใน 7 วัน 16 มี.ค. 2567สพฐ. สั่ง ผอ.เขต รายงานด่วน ”ผอ.โรงเรียนหวงเก้าอี้“ พร้อมกำชับให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย 16 มี.ค. 2567โรงเรียนบางปะอิน "ราชานุเคราะห์ 1" รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 11 – 20 มีนาคม 2567 เว้นวันหยุดราชการ 

ปฏิวัติเงียบ!ยึดอำนาจเข้าศธ.

  • 23 มี.ค. 2559 เวลา 10:17 น.
  • 16,894
ปฏิวัติเงียบ!ยึดอำนาจเข้าศธ.

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ปฏิวัติเงียบ!ยึดอำนาจเข้าศธ.

ใช้ม.44ยุบอ.ก.ค.ศ.ตั้งกศจ.ทำหน้าที่แทน/สมพงษ์ชี้อันตรายควรใช้แค่ระยะเปลี่ยนผ่าน

งัด ม.44 ยุบ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ ตั้งคณะกรรมการศึกษาจังหวัด มีผู้ว่าฯ เป็นประธานทำหน้าที่แทนทั้งหมด "นายกฯ" เผยระบบ 5 แท่งเดิมทำให้การทำงานไม่มีเอกภาพ การปฏิรูปไม่ขยับ "ดาว์พงษ์" ยอมรับการกระจายอำนาจยังไม่พร้อม เผยเล็งใส่ใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ ถ้าผลลัพธ์ออกมาดี ด้าน "สมพงษ์ จิตระดับ" เตือนอันตราย ควรใช้แค่ระยะเปลี่ยนผ่านเท่านั้น ถ้าปล่อยไว้จะเปิดช่องนักการเมืองหาประโยชน์ และระบบจะกลับเข้าสู่อีหรอบเดิม

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกคำสั่งที่ 10/2559 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2559 เรื่องการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในภูมิภาค ให้ตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของ ศธ. ในภูมิภาค ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธาน ทำหน้าที่กำหนดทิศทางในการดำเนินงานของ ศธ. วางแผนงานเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของ ศธ. พิจารณาจัดสรรงงบประมาณให้แก่หน่วยงานของ ศธ.ในระดับภูมิภาคและจังหวัด แต่งตั้ง โอน หรือย้ายผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งต่างๆ ในหน่วยของ ศธ. ระดับภูมิภาคและจังหวัด ตั้งคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) มีผู้ว่าราชการจังหวัดหรือรองผู้ว่าฯ เป็นประธาน และให้มีการยุบเลิกคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และให้โอนอำนาจหน้าที่ไปให้ กศจ.

และคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 11/2559 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2559 เรื่องการบริหารราชการของ ศธ.ในภูมิภาค โดยให้มีสำนักงานศึกษาธิการภาค จำนวน 18 ภาค และให้มีศึกษาธิการจังหวัด โดยรับอำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และ อ.กค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) ทั้งหมด และระหว่างที่ยังไม่มีการจัดตั้งสำนักงานศึกษาธิการ ให้ สพป.เขต 1 ในจังหวัดต่างๆ ทำหน้าที่เป็นสำนักงานศึกษาธิการภาคจังหวัดนั้นๆ ไปพลางก่อน

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า การใช้อำนาจตามมาตรา 44 ให้มีการปรับโครงสร้าง ศธ. เป็นการปรับโครงสร้างให้เกิดการบูรณาการ ที่ผ่านมาเคยชี้แจงแล้วว่า ศธ.มีอำนาจค่อนข้างกระจัดกระจาย จนไม่มีอำนาจในการปฏิรูป การออกคำสั่งครั้งนี้ก็เพื่อปรับปรุงครั้งนี้เพื่อให้เกิดการปฏิรูป และจำเป็นที่จะออกกฎหมายใน ม.44 เพื่อให้การศึกษาดีขึ้น แต่มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการ ศธ.มีเอกภาพในการทำงาน แล้วจะมีคณะกรรมการขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงและหน่วยงาน 5 แท่งงาน และจะมีการเสนอแนวทางในการปฏิบัติทั้งในส่วนของประถม มัธยม อาชีวะ และอุดมศึกษา ซึ่งเดิมมีการแยกแท่งงานทั้งหมด ไม่สอดคล้องกัน ผลิตคนไม่ตรงกับความต้องการของประเทศ วันนี้จึงต้องมาขับเคลื่อนด้วยการปฏิรูป หากไม่ทำประชาชนในท้องถิ่นก็ไม่เกิดการปฏิรูป เกิดความขัดแย้งเช่นนี้ต่อไป เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ทุกคนมีความพึงพอใจ ยอมรับในกติกา ก็จะได้เดินไปในทางเดียวกัน

"สิ่งสำคัญที่สุดคือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ผมจึงให้ความสำคัญกับ ศธ. แต่ ศธ.ไม่สามารถทำงานคนเดียวได้ จึงต้องร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทย เพราะกระทรวงศึกษาฯ ลงไปถึงส่วนท้องถิ่นทั้งเรื่องของโรงเรียน การแต่งตั้งอย่างผู้อำนวยการโรงเรียน รัฐมนตรีไม่เข้าไปเกี่ยวข้องเลยมันไม่ได้ ต้องลงไปดูว่าถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ ไม่เช่นนั้นอำนาจจะลงไปข้างล่างทั้งหมดก็จะเหมือนเดิมอย่างที่เป็นมา จึงมาลองปรับใหม่ว่าจะดีขึ้นหรือไม่ เพราะที่ตรวจสอบครู 4-5 แสนคน พอใจกับคำสั่งดังกล่าว จะมีเพียงที่มีปัญหาอยู่บ้างกว่า 2 พันคน ที่เป็นผู้บริหารและยังติดอยู่กับกติกาเดิม ซึ่งพวกนี้น่าเป็นห่วงถ้ายังไม่แก้ไข และไม่ทำให้ พ.ร.บ.มีความชัดเจน อนาคตข้างหน้าก็จะแยกเป็นแท่งแบบเดิม เงินก็จะแยกเป็นแท่งๆ แล้วมันจะเกิดงานได้อย่างไร ปัญหาของบ้านเราคือการบูรณาการที่เกิดไม่ได้อย่างแท้จริง" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

ด้าน พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศธ. กล่าวว่า เหตุผลของคำสั่ง คสช.ดังกล่าวมี 4 ข้อ คือ 1.บูรณาการในระดับภูมิภาค ที่ผ่านมาแม้ทุกฝ่ายจะรับนโยบายจาก ศธ.ลงไปปฏิบัติ แต่ยังเป็นลักษณะต่างคนต่างทำ แต่จากนี้จะขับเคลื่อนการศึกษาในระดับภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของ ศธ.ในภูมิภาคกำกับดูแลภาพรวม ระดับภูมิภาคจะมีการศึกษาจังหวัด (กศจ.) ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดทำหน้าที่ดูแล 2.ลดช่องว่างการบังคับบัญชา ที่ผ่านมาสายการบังคับบัญชากว้างเกินไป เลขาฯ กพฐ.1 คนจะต้องดูแลเขตพื้นที่ฯ 225 เขต แต่จากนี้ช่องว่างจะลดลง กระชับมากขึ้นตามลำดับ 3.ความเป็นเอกภาพในการจัดการศึกษา โดยจากนี้ทุกองค์กรหลัก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานในพื้นที่จังหวัดจะต้องร่วมกันวางแผนพัฒนาการศึกษา และ 4.ความคล่องตัวในการบริหารงานบุคคล เนื่องจากที่ผ่านมา ศธ.พบปัญหาการบริหารบุคลากร เช่น การเกลี่ยครู การบรรจุครูใหม่ การคัดเลือกผู้อำนวยการ และการดำเนินการทางวินัย

"ทั้งหมดนี้ผมต้องการให้มีผลต่อการขับเคลื่อนการศึกษาระหว่างที่รัฐบาลเหลือเวลาอีก 1 ปีครึ่งในการปฏิรูปประเทศ เนื่องจากโครงสร้างการบริหารงานบุคคลรูปแบบเดิมทำงานไม่ได้จนทำให้เกิดความล่าช้า โดยแนวคิดดังกล่าวผมไม่ได้ดำเนินการคนเดียว แต่ได้รับฟังความคิดเห็นจากทุกคนใน ศธ. เพื่อช่วยกันเติมเต็มให้การทำงานประสบผลสำเร็จ เกิดประสิทธิภาพ แม้จะเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก็ตาม" พล.อ.ดาว์พงษ์กล่าว

รมว.ศธ.กล่าวอีกว่า สำหรับโครงสร้างบริหารงานบุคคลรูปแบบใหม่นั้น ประกอบไปด้วย คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาค ทำหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบายจากส่วนกลางลงสู่สำนักงานศึกษาธิการภาค 18 แห่ง ไปยัง กศจ. ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน โดย กศจ.จะรับโอนอำนาจทำหน้าที่จากคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา และผู้แทนอนุกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) ทั้งการโยกย้ายข้าราชการครู การคัดเลือกผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการโรงเรียน การสอบวินัยข้าราชการครู โดยระหว่างที่รอแต่งตัวโครงสร้างใหม่ก็จะให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เขต 1 ทั่วประเทศทำหน้าที่ กศจ.ไปพลางก่อน ส่วนการแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดจะมีผู้แทนภาคประชาชนในท้องถิ่น ผู้แทนข้าราชการครูในท้องถิ่น และผู้ทรงคุณวุฒิ โดยผู้ว่าราชการจะเสนอรายชื่อเข้ามา ทั้งนี้ ยืนยันว่าไม่ได้ยุบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งเขตพื้นที่ฯ จะทำหน้าที่ประเมินและติดตามนิเทศผลงานเหมือนเดิม

"ส่วนที่มีการมองว่าคำสั่งนี้เป็นการถอยหลังหรือไม่ ทั้งที่การปฏิรูปการศึกษามุ่งให้เกิดการกระจายอำนาจไป แต่ผมมองว่าเวลานี้เราต้องมองว่าปัญหาของ ศธ.คืออะไร ผมไม่ได้บอกว่ากระจายอำนาจไม่ดี แต่เห็นว่าเราควรทำเมื่อพร้อม โดยไม่ใช้เวลาเป็นเงื่อนไข ซึ่งที่ผ่าน ศธ.มักถูกต่อว่าเรื่องคุณภาพการศึกษา ดังนั้นก็ต้องมาปรับตัวใหม่เมื่อที่ทำอยู่ยังไม่มีอะไรดี มีแต่จะเลวลง ทำไมไม่ไปดูของเดิมว่ามีจุดดีอย่างไร และขอยืนยันว่าครูและบุคลากรทุกคนจะไม่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ แม้บางเรื่องอาจจะต้องรอไปบ้าง เช่น การขอย้าย แต่จะใช้เวลาไม่นาน ขณะที่เขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศยังคงปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และจากนี้ที่จะเร่งทำอีกเรื่องคือการประกาศจัดสอบคัดเลือกครูผู้ช่วยที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้" พล.อ.ดาว์พงษ์กล่าว

เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า การใช้คำสั่งนี้ส่วนหนึ่งเพราะต้องการกลบกระแสเรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายที่ไม่เป็นธรรม เรียกรับผลประโยชน์หรือไม่ พล.อ.ดาว์พงษ์กล่าวว่า ในสำนักงานเขตพื้นที่ทั้งหมด 225 เขต แน่นอนว่าที่ดีก็มีเยอะ แต่ที่ไม่ดีก็มี ตนไม่ปฏิเสธ ซึ่งการปรับนี้มีผลต่อการบริหารจัดการ เพราะขณะนี้ ศธ.มีเรื่องความผิดทางวินัย 104 เรื่อง ใน 71 เขตพื้นที่ฯ และการพิจารณาโทษล่าช้า ส่งผลให้ครูไม่กลัวโทษ

ผู้สื่อข่าวถามอีกว่า คำสั่งนี้จะมีผลเป็นเวลานานเท่าไร พล.อ.ดาว์พงษ์กล่าวว่า เอาเป็นว่าในช่วงของรัฐบาล คสช.จะดำเนินการในลักษณะนี้ไปก่อน เพราะขณะนี้กำลังมีการร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.... ขึ้นใหม่ ซึ่งหากการดำเนินการตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับ 10 และ 11 เป็นไปได้อย่างดี ก็อาจจะมีการนำไปบรรจุใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่

นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงความเห็นเกี่ยวกับการใช้ ม.44 ในการปรับโครงสร้างของ ศธ. ว่าถือเป็นการใช้ยาแรงที่รัฐบาลใช้ และเป็นความกล้าตัดสินใจของ พล.อ.ดาว์พงษ์ เพื่อสร้างเอกภาพใน ศธ. เนื่องจากที่ผ่านมาองค์กรต่างๆ ของ ศธ.ทั้ง 5 องค์กรหลักต่างคนต่างทำงาน, ปัญหาการโยกย้ายครูที่ทำไม่ได้ และในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการศึกษาจะต้องใช้คำสั่ง ม.44 ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทันทีในส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นการใช้อำนาจที่เด็ดขาดกึ่งเผด็จการ แต่จำเป็นต้องทำเพื่อให้เกิดผลทันที ถือเป็นการปฏิวัติเงียบใน ศธ. และโดยส่วนตัวเชื่อว่าจะต้องใช้ ม.44 อีก เพื่อปรับระบบการทำงานของส่วนกลาง ระบบโรงเรียน รวมไปถึงองค์การมหาชนบางแห่ง ซึ่งคงมีข่าวใหญ่ตามมาอีกแน่นอน
"การปรับครั้งนี้กลับไปสู่โครงสร้างเดิมเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ ที่มีแตกต่างคือ การมีประชารัฐ ให้ภาคเอกชนและท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม และการให้จังหวัดจัดการตนเอง แต่ผมคิดว่าก็ยังมีสัดส่วนที่น้อย และหากในอนาคตมี รมว.ศธ.ที่มาจากนักการเมือง บอกได้เลยว่าอันตราย อาจเกิดปัญหาวิ่งเต้นโยกย้ายข้าราชการที่ไม่เหมาะสม อีกทั้งสายบังคับบัญชาจากกระทรวง กว่าจะถึงโรงเรียนมีหลายขั้นตอน ตั้งแต่ รมว.ศธ., ปลัด ศธ., ศึกษาธิการภาค, ศึกษาธิการจังหวัด และโรงเรียน จึงอยากขอให้ พล.อ.ดาว์พงษ์ใช้ ม.44 ในช่วงเปลี่ยนผ่าน และวางระบบการบริหารบุคคลที่ดี โดยคืนอำนาจให้กับจังหวัดและพื้นที่โดยเร็ว ขณะที่จังหวัดและพื้นที่ต้องไม่ถูกครอบงำโดยกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จะต้องเป็นตัวแทนจากกลุ่มคนที่หลากหลาย ให้มีการจัดการตนเองในจังหวัดอย่างสมบูรณ์" อาจารย์ครุศาสตร์ จุฬาฯ กล่าว

ผศ.ดร.อดิศร เนาวนนท์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา อดีตประธาน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 กล่าวว่า ไม่ผิดความคาดหมายที่ รมว.ศธ.เคยบอกไว้ว่าจะมีการใช้ ม.44 ในการปฏิรูปการศึกษา และคำสั่ง คสช.ทั้ง 2 ฉบับที่ออกมาน่าจะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นในการดำเนินการปรับรื้อระบบของ ศธ. ดูเหมือนจะเป็นการย้อนยุคไปสู่การบริหารจัดการศึกษาของประเทศไปกว่า 40 ปี แต่โดยส่วนตัวเชื่อว่า รมว.ศธ.ต้องมีคำสั่งหรือออกกฎหมายติดตามมาอีกหลายฉบับแน่นอน เพราะเป้าหมายสำคัญของการปฏิรูปการศึกษาอยู่ที่การปฏิรูปคุณภาพ คือจะต้องนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในระดับโรงเรียน ซึ่งหากจะทำให้สำเร็จได้ก็ต้องทำให้โรงเรียน ครู และผู้บริหาร มีอิสระในการบริหารจัดการบนพื้นฐานของความรับผิดชอบ โดยความร่วมมือของผู้มีส่วนได้-ส่วนเสียทุกภาคส่วน ซึ่งคำสั่ง คสช.ทั้ง 2 ฉบับนี้ยังไม่สามารถตอบโจทย์นี้ได้เลย

ส่วนโครงสร้างของ กศจ.ที่ออกมานี้ยึดติดตำแหน่งหรือตัวบุคคลที่มาจากระบบราชการมากเกินไป ควรให้มีสัดส่วนของภาคประชาสังคมในจังหวัดให้มากกว่านี้ ประเด็นที่ตนสงสัยมากคือ ทั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ กศจ.และ อกศจ.ไม่มีการกำหนดวาระในการดำรงตำแหน่งไว้ รวมทั้งการแต่งตั้งศึกษาธิการภาค รองศึกษาธิการภาค ศึกษาธิการจังหวัด และรองศึกษาธิการจังหวัด ที่มอบอำนาจเบ็ดเสร็จให้ปลัด ศธ.จะมีหลักการอย่างไร.

ขอบคุณเนื้อหาและที่มาของข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 23 มีนาคม 2559
  • 23 มี.ค. 2559 เวลา 10:17 น.
  • 16,894

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^