LASTEST NEWS

20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 20 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3

สอบสัมภาษณ์ อย่างไร ให้ได้ผลโดนใจกรรมการ

  • 12 มี.ค. 2559 เวลา 18:22 น.
  • 36,504
สอบสัมภาษณ์ อย่างไร ให้ได้ผลโดนใจกรรมการ

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

เทคนิคในการเข้าสอบสัมภาษณ์ 
 
1.หลักเกณฑ์การสอบสัมภาษณ์และการให้คะแนน
การสอบสัมภาษณ์เป็นวิธีการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง ตามหลักสูตรสอบแข่งขันหรือ สอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการหรือเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้นของส่วนราชการต่างๆ โดยทั่วไปการพิจารณา ความเหมาะสมกับตำแหน่ง จะพิจารณาในด้านต่างๆ ดังนี้
1.1) ประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน (ถ้ามี) ประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)
1.2) บุคลิกภาพด้านต่างๆ รวมทั้งอุปนิสัยของผ้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการคร
1.3) ท่วงทีวาจาปฏิภาณไหวพริบ
1.4) คุณธรรม จริยธรรม และเจตคติ
1.5) ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่
1.6) ความรู้ในเรื่องการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
1.7) อื่นๆ ตามหน่วยงานผู้สอบฯกำหนด
 
การให้คะแนนของการสอบสัมภาษณ์โดยทั่วไป (คะแนนเต็ม 50 คะแนน ) การให้คะแนนของ กรรมการสอบสัมภาษณ์ จะกำหนดช่วงของคะแนนที่จะให้ไว้อย่างชัดเจน เช่น กำหนดความต่างของคะแนน ผู้เข้าสอบฯไม่เกิน 3 คะแนน ( ตํ่าสุด 47 สุงสุด 49 ) หรือ 5 คะแนน (ตํ่าสุด 45 สุงสุด 49) มักไม่นิยมให้คะแนนเต็ม 50 เพราะโดยหลักการแล้วจะไม่มีใครที่เยี่ยมยอด
 
ดังนั้นผู้เข้าสอบสัมภาษณ์จึงไม่ต้องวิตกหรือกังวลมากนัก สิ่งที่ทำให้สอบได้หรือสอบตกไม่ได้อยู่ที่ การสอบสัมภาษณ์แต่อยู่ที่การสอบข้อเขียนต่างหาก
 
2.การเตรียมตัวและวิธีการเข้าสอบสัมภาษณ์ให้ได้คะแนนมากที่สุด
 
ดังที่ได้กล่าวมาเบื้องต้นแล้วว่า การสัมภาษณ์เป็นการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยประเมินผู้เข้าสอบทุกคน เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ จากประวัติส่วนตัว ประวัติ การศึกษา ประวัติการทำงาน เพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งในด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในการ ปฏิบัติหน้าที่ ทั้งความร้ความสามารถ ประสบการณ์ท่วงทีวาจา อุปนิสัย เจตคติ และบุคลิกภาพ
 
ดังนั้นการจะเป็นผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ที่ดีและได้คะแนนมากที่สุด(ให้ถูกตัดน้อยที่สุด) ควรมีและใช้เทคนิคการเตรียมสอบสัมภาษณ์การเข้าสอบสัมภาษณ์จึงจะทำให้เกิดความมั่นใจ
 
จากที่เคยผ่านการถูกสัมภาษณ์ และเคยเป็นกรรมการสอบสัมภาษณ์ ใคร่แนะนำ ดังนี้
 
2.1) เบื้องต้นควรกรอกใบสมัครให้ดี และมีความสมบุรณ์มากที่สุด เพราะกรรมการสอบสัมภาษณ์ส่วนมากจะดูข้อมูลส่วนตัวผู้เข้ารับการสัมภาษณ์จากใบสมัครประกอบการสัมภาษณ์ด้วย(ตอนสมัครสอบ)
 
2.2) ในวันสอบสัมภาษณ์ ควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย สะอาด ภูมิฐานมากที่สุด
 
2.3) ควรงดสูบบุหรี่ เครื่องดื่ม หรืออาหารกลิ่นจัด เพราะหากขณะสัมภาษณ์กลิ่น คงไม่เป็นที่สบอารมณ์กรรมการมากนัก ทางที่ดีนอกจากไม่ดื่มแล้วควรอมลูกอม ให้ปากหอมแทนจะดีกว่า
 
2.4) ขณะรอสัมภาษณ์ควรรอด้วยความอดทน ทำจิตใจให้สดชื่น ผ่องใส มีอารมณ์ร่าเริงเบิกบาน ไม่ควรบ่น หรือนินทา ว่าร้ายกรรมการ
 
2.5) ควรศึกษาหาความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวกับหน่วยงานที่เราสมัครสอบว่า มีความเป็นมาอย่างไร เพราะหากถูกสัมภาษณ์แล้วไม่มีความรู้เลย คุณคงไม่ได้คะแนน(อาจถูกตัด)แน่นอน
 
2.6) ขณะที่คนอื่นเข้าสัมภาษณ์ ควรอยู่และสังเกตผู้ที่เข้าสัมภาษณ์ เพื่อติดถามข้อมูลหรือประเด็นที่กรรมการสัมภาษณ์ถาม เพื่อเตรียมคำตอบ เพราะโดยทั่วไปประเด็นที่ถาม มักจะถามคล้ายๆ กัน
 
2.7) ขณะที่ถูกเรียกชื่อเพื่อเข้ารับการสัมภาษณ์ ควรก้าวเดินเข้าไปให้เป็นปกติ และมีความมั่นใจให้มากที่สุด
 
2.8) เมื่อไปถึงหน้าโต๊ะสัมภาษณ์ ควรยกมือไหว้กรรมการทุกคน และนั่งเมื่อได้รับการบอกให้นั่ง
 
2.9) ประเด็นคำถามที่ถาม (บอกให้พูด : ควรเตรียมไปให้ดี และเล่าสั้นๆ เฉพาะที่จำเป็น)
       2.9.1) ประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ประสบการณ์การทำงาน (ถ้ามี)
       2.9.2) บุคลิกภาพด้านต่างๆ รวมทั้งอุปนิสัยของผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครู
       2.9.3) ท่วงทีวาจา ปฏิภาณไหวพริบ
       2.9.4) คุณธรรม จริยธรรม และเจตคติ
       2.9.5) ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่
       2.9.6) ความรู้ในเรื่องการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ
 
2.10) ขณะถูกสัมภาษณ์ควรแสดงสีหน้าปกติ และแสดงความสนใจกรรมการสัมภาษณ์ทุกคน
 
2.11) เมื่อถูกถามให้ตอบด้วยนำเสียงปกติ หากตอบไม่ได้ควรบอกว่า เรื่องนี้ ผม/ดิฉันไม่ทราบ หรือ ตอบไม่ได้ครับ / ค่ะ  เพราะบางคำถามกรรมการไม่ต้องการคำตอบที่ถูกทั้งหมด หากแต่ต้องการสังเกตปฏิภาณไหวพริบ และท่วงทีวาจาด้วย

2.12) คำถามบางคำถาม กรรมการบางคนต้องการอธิบายให้เราฟัง เพื่ออวดภูมิรู้ด้วย หากเป็นดังนี้
คุณควรแสดงความสนใจใคร่รู้ ใคร่ฟัง แสดงอาการยิ้ม ผงกศีรษะรับ หรือตอบ... "ครับ/ ค่ะ"... ในบางครั้ง
 
ควรพูดว่า..."เรื่องนี้ผมเพิ่งทราบนับว่าท่านได้กรุณาให้ความรู้เป็นอย่างมากขอบคุณท่านมากครับ/ค่ะ"... (มธุรสวาจาเหล่านี้ตรงกับบทสักวา ที่ว่า ..." สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสน ไม่เหมือนแม้นพจมานที่หวานหอม กลิ่นประเทียบเปรียบดวงพวงพะยอม อาจจะน้อมจิตโน้มด้วยโลมลม"...) อันจะส่งผลต่อความพึงพอใจให้ กรรมการมากที่สุด บางโอกาสกลับกลายเป็นว่าเราเป็นผู้ถาม และเป็นผู้สัมภาษณ์กรรมการเสียเลย (ประเด็น นี้ ผมมักใช้บ่อย และรู้สึกว่าจะได้ผลดีด้วย)
 
2.13) เมื่อกรรมการสอบสัมภาษณ์จบ ควรยกมือไหว้และกล่าวขอบคุณ
 
3. แนวคำถามคำตอบในการสอบสัมภาษณ์
แนวคำถามคำตอบในการสอบสัมภาษณ์ที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นแนวคำถามสอบสัมภาษณ์เพื่อบรรจุ เป็นข้าราชการครุและผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการสรุปได้ดังนี้
 
3.1) หลักการทั่วไป เช่น เป้าหมายการสอน คุณลักษณะที่ดีของครุ คุณลักษณะของผู้เรียน เป้าหมายของการบริหาร หลักการบริหารงาน การบริหารความขัดแย้ง องค์ประกอบการทำงานให้สำเร็จ คุณธรรมของผู้บริหาร ครองตน ครองคน ครองงาน องค์ประกอบของระบบงานโรงเรียน ป้จจัยในการ บริหารงานโรงเรียน เทคนิคหรือทักษะการบริหาร กลวิธีทำงานร่วมกับเพื่อน ผู้บังคับบัญชา แนวคิดพื้นฐาน ของมนุษย์ ป้จจัย ที่ทำให้คนอยากทำงาน เป็นต้น
3.2) หลักวิชาชีพครู เช่น จรรยาบรรณวิชาชีพครุ เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ วินัย ข้อห้ามสำหรับครุ คุณลักษณะครูที่ดี พึงประสงค์ ลักษณะครุมืออาชีพ ลักษณะผู้บริหารมืออาชีพ เป็นต้น
3.3) คำถามทั่วไป เช่น ให้แนะนำตัว สอบถามถึงภูมิลำเนา การศึกษา ความชอบ ไม่ชอบ ป้ญหา หรือแนวทางแก้ไข การปรับตัวเข้ากับครุ ชุมชน เป็นต้น
3.4) ทิศทางความเคลื่อนไหวการศึกษาเช่นนโยบายรัฐบาล นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ยุทธศาสตร์ของ สพฐ. สพท. การบริหารโรงเรียน ชื่อบุคคลสำคัญ ผู้บริหารการศึกษาในระดับต่างๆ เป็นต้น
3.5) การบริหารโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ(สำหรับสายบริหาร) เช่น หลักการและเทคนิคการบริหาร ทรัพยากรบริหาร นโยบายยุทธศาสตร์ของชาติ ศธ. สพฐ. สพท. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ROAD MAP ทางการศึกษา การจัดการเรียนรู้ หลักสูตรสถานศึกษา การจัด Best Practice เป็นต้น
 
4. การจัดทำแฟ้มผลงานใช้สำหรับการสอบแข่งขัน
4.1) ความสำคัญของแฟ้มสะสมผลงาน (PORTFOLIO)
แฟ้มสะสมผลงาน (portfolio) หมายถึง แหล่งรวมข้อมูลที่จัดทำขั้นอย่างเป็นระบบ โดยข้อมูล ดังกล่าว จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์สำหรับประเมินผลการทำงาน เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการทำงานให้ สมบูรณ์ยิ่งขั้นต่อไป นอกจากนั้นแฟ้มสะสมผลงานยังมีประโยชน์ในการเป็นเอกสารประกอบการประเมิน คุณลักษณะหรือผลการปฏิบัติงาน หรือการคัดเลือกในโอกาสต่างๆ เช่น การสอบคัดเลือกเข้าทำงาน การ
สอบสัมภาษณ์เข้ารับราชการ เป็นต้น ดังนั้นการเก็บรวมรวมข้อมูลจึงควรครอบคลุมประเภทต่างๆ ที่เป็น หลักการสำคัญในการจัดทำแฟ้มสะสมงานนั้นๆ
 
4.2) แฟ้มสะสมงานครู (TEACHER PORTFOLIO)
แฟ้มสะสมผลงานครู เป็นแฟ้มสะสมผลงานส่วนบุคคล ควรจัดทำอย่างประณีตและให้มีสาระสำคัญ ประกอบไปด้วย สามส่วนที่สำคัญ ดังนี้
        4.2.1) ส่วนที่ 1 ประวัติส่วนตัว ได้แก่ ประวัติการศึกษา ประวัติการรับราชการ ประวัติการหยุดราช การประวัติการได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประวัติการสัมมนา /แกอบรมหรือศึกษาดูงาน ประวัติ การสอน ลักษณะพิเศษส่วนตัว เป็นด้น
        4.2.2) ส่วนที่ 2 สรุปงานที่ปฏิฟ้ติ ได้แก่ งานสอน (ด้านปริมาณ-ด้านคุณภาพ) งานบริการทางการศึกษา (ด้านปริมาณ-ด้านคุณภาพ) งานอบรมปกครองดูแล (ด้านปริมาณ-ด้านคุณภาพ) งานกิจกรรมนักเรียน
(ด้านปริมาณ-ด้านคุณภาพ) งานศึกษาและพัฒนาตนเอง (ด้านปริมาณ-ด้านคุณภาพ) การรักษาวินัยและ ประพฤติตน (ด้านปริมาณ-คุณภาพ) งานติดต่อกับผู้ปกครอง (ด้านปริมาณ-คุณภาพ) ผลงานดีเด่น (ด้าน ปริมาณ-ด้านคุณภาพ) งานบริการชุมชน (ด้านปริมาณ-ด้านคุณภาพ) การร่วมมือกับผู้บริหาร (ด้านปริมาณ- ด้านคุณภาพ)งานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย (ด้านปริมาณ-ด้านคุณภาพ)
        4.2.3) ส่วนที่ 3 ภาคผนวก ประกอบไปด้วย เอกสารอ้างอิง เช่น คำสั่ง ประกาศเกียรติคุณบัตร เป็นด้น
 
4.3) การทำแฟ้มผลงานประกอบการสอบสัมภาษณ์ (การสอบแข่งขัน)
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนด้นว่า การสอบสัมภาษณ์เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการสอบแข่งขัน บรรจุบุคคลเข้ารับราชการภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง โดยหลักเกณฑ์และประเด็นที่นิยมนำมาใช้ใน การสัมภาษณ์ประกอบด้วย ประวัติส่วนตัว การศึกษา ประวัติการทำงานประสบการณ์การทำงาน บุคลิก ภาพ คุณลักษณะความเหมาะสมของผ้ที่จะเป็นครู ผ้บริหาร ท'วงที วาจา ปฏิภาณ ไหวพริบ คุณธรรมจริยธรรม และเจตคติต่อวิชาชีพ ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานความรอบรู้ทั่วไป และความรอบรู้ ด้านการศึกษา(สำหรับสอบบรรจุครู) และ ผลงานดีเด่น ผลงานภาคภูมิใจ
 
ดังนั้น แฟ้มสะสมผลงานของผู้เข้ารับการสัมภาษณ์จึงควรจัดทำด้วยความประณีต ดูดี ไม่หนาเกิน ไปในแฟ้มควรประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
ส่วนที่ 1 เกี่ยวกับประวัติส่วนตัว ได้แก่ ประวัติการศึกษา ประวัติ การทำงาน ประวัติการรับราชการ(ถ้ามี) ประวัติการสัมมนา /แกอบรมหรือศึกษาดูงาน ประวัติการสอน ลักษณะพิเศษส่วนตัว

ส่วนที่ 2 เกี่ยวกับผลงานดีเด่นที่เคยได้รับ ได้แก่ งานที่ทำในป้จจุบัน งานสอน (ถ้ามี) และ

ส่วนที่ 3 ภาคผนวก ประกอบไปด้วย เอกสารอ้างอิง เช่น คำสั่ง ประกาศเกียรติคุณบัตร เป็นด้น

ขอบคุณข้อมูล จากสอบครูดอทคอม
 
  • 12 มี.ค. 2559 เวลา 18:22 น.
  • 36,504

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^