LASTEST NEWS

25 เม.ย. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ปทุมธานี เขต 2 25 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.เชียงใหม่ เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 1 25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 25 เม.ย. 2567สพม.ชลบุรี ระยอง ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) (เพิ่มเติม) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ชลบุรี ระยอง 25 เม.ย. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.อุบลราชธานี เขต 1 25 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 25 เม.ย. 2567สพป.สุพรรณบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 3 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 24 เม.ย. 2567สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดสอบพนักงานราชการ 350 อัตรา วุฒิปริญญาตรี อัตราเงินเดือน 20,540 - 22,750 บาท ตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย. - 8 พ.ค. 2567

สมศ. แนะการนำผลการประเมินไปใช้ ตามแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษา

  • 23 ก.พ. 2559 เวลา 10:32 น.
  • 2,120
สมศ. แนะการนำผลการประเมินไปใช้ ตามแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษา

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

สมศ. แนะการนำผลการประเมินไปใช้ ตามแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษา 

          สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. แนะสถานศึกษานำผลการประเมินไปใช้ในการวางแผนตามแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษา ทั้งนี้ ปัจจุบันมีสถานศึกษาที่ไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม จำนวน 13,243 แห่ง ซึ่งมีสาเหตุมาจากปัจจัยที่สำคัญ คือ การไม่จริงจังและไม่ต่อเนื่องในการนำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุง พัฒนา อย่างไรก็ตาม หากมีการดำเนินการประกันคุณภาพ โดยมีฐานข้อมูลในการจัดเก็บให้เป็นระบบและต่อเนื่อง ก็จะส่งผลให้การยกระดับคุณภาพสถานศึกษาให้สูงขึ้น

          ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) หรือ สมศ. กล่าวว่า จากข้อมูลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามที่ผ่านมา พบว่าปัจจุบันมีสถานศึกษา ระดับขั้นพื้นฐานทั่วประเทศจำนวน 34,265 แห่ง แต่มีสถานศึกษาที่ไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน จำนวน 13,243 แห่งซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น เป็นสถานศึกษาขนาดเล็ก ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล หรือการขาดแคลนทางด้านงบประมาณ หรือบุคลากรทางการศึกษา เป็นต้น แต่จากข้อมูลดังกล่าวพบว่า โรงเรียนระดับขั้นพื้นฐาน ขนาดเล็ก แม้ว่าบางโรงเรียนอยู่ในพื้นที่ห่างไกล หากมีการนำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุง พัฒนา และดำเนินการประกันคุณภาพ โดยมีฐานข้อมูลในการจัดเก็บให้เป็นระบบและต่อเนื่อง ก็จะส่งผลให้การยกระดับคุณภาพสถานศึกษาสูงขึ้น

          ศาสตราจารย์ ดร.ชาญณรงค์ จึงได้แนะนำสถานศึกษาให้นำผลการประเมินไปใช้ในการวางแผนตามแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษา ดังนี้ 1) การให้ความสำคัญกับองค์ประกอบ 8 ขั้นตอนของการประกันคุณภาพภายใน เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ตามขั้นตอน PDCA (Plan - Do - Check - Act) เกิดการปฏิบัติงานได้อย่างเป็นระบบ มีคุณภาพตามมาตรฐาน 2) นำผลการประเมินมาปรับปรุงและวางแผนการดำเนินงาน ตระหนักถึงการนำผลการประเมินมาใช้ในการปรับปรุง พัฒนาสถานศึกษา เพื่อที่จะแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดและจะสามารถพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) จัดระบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้สถานศึกษาจัดระบบการเรียนการสอนที่สอดแทรกกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง เพิ่มการปฏิบัติจริง และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนได้อย่างเต็มที่ 4) สร้างการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียสถานศึกษารายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาให้ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียได้รับทราบ เปิดรับฟังความคิดเห็น และเปิดโอกาสให้เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงาน การปรับปรุงพัฒนา

          ศ.ดร.ชาญณรงค์ กล่าวต่อว่า ประโยชน์ของการประกันคุณภาพการศึกษา คือ 1.ผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ 2.พ่อแม่ผู้ปกครอง จะมีความภาคภูมิใจในความสำเร็จของบุตรหลานที่ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ 3.ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา ได้ใช้ความรู้ความสามารถเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มความสามารถและมีประสิทธิภาพ 4.สถานศึกษา หรือสถานประกอบการ จะได้รับผู้สำเร็จการศึกษาที่มีคุณภาพ 5.ชุมชน ได้รับผู้เรียนและผู้ปฏิบัติงานที่มีคุณภาพ ชุมชนก็จะมีความสุข เกิดประโยชน์ต่อชุมชน 6.ประเทศชาติ จะเข้มแข็ง ทั้งด้านการทหาร การคลัง เศรษฐกิจ สังคม การเมือง จากประโยชน์ดังกล่าวหากมีการปฏิบัติงานที่มีการประกันคุณภาพ ก็จะส่งผลให้เกิดคุณภาพทั้งระบบ

          นายแพทย์อำนวย กาจีนะ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การดำเนินการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิกา ที่ผ่านมาในประเทศไทยได้ดำเนินการตามมาตรการองค์การอนามัยโลกและกฎอนามัยระหว่างประเทศมาโดยตลอด ทั้งนี้ ได้มีการประสานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังคงเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด หากพบสถานการณ์หรือมีข้อมูลเพิ่มเติม ทางกระทรวงสาธารณสุขจะแจ้งให้ประชาชนทราบเป็นระยะ นอกจากนี้ ยังมีการเตรียมความพร้อมทางห้องปฏิบัติการ และความพร้อมด้านการดูแลรักษา ตลอดจนการควบคุมแมลงพาหะนำโรคอย่างเข้มข้นทั่วประเทศ โดยโรคนี้มีระยะฟักตัวเฉลี่ย 4-7 วันอาการที่พบบ่อย ได้แก่ มีไข้ ออกผื่น ตาแดง ปวดข้อ ข้อบวม ปวดหลัง อาจมีอาการอื่นๆ ได้เช่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโตและอุจจาระร่วง ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง อาการเหล่านี้ทุเลาลงภายในเวลา 2-7 วัน หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที

          ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนกในเรื่องดังกล่าว ขอให้เชื่อมั่นในระบบเฝ้าระวังของประเทศไทย ขออย่าเชื่อข่าวลือจากทางอื่นและโปรดติดตามข่าวสารจากกระทรวงสาธารณสุข ที่สำคัญพบว่าผู้ติดเชื้อไวรัสซิกา 80% ไม่มีอาการ ส่วนผู้มีอาการก็ไม่รุนแรง สามารถหายได้เอง ยกเว้นหญิงตั้งครรภ์ที่อาจมีความเสี่ยงเรื่องทารกผิดปกติหรือผู้มีอาการแทรกซ้อนทางระบบประสาท แต่ให้ตระหนักโดยป้องกันไม่ให้ยุงลายกัดและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหญิงตั้งครรภ์ หากมีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรรีบมาพบแพทย์โดยเร็ว ทั้งนี้ ขอความร่วมมือประชาชน ร่วมมือกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทั้งในบ้าน รอบๆ บ้าน

          และในชุมชน ทั้งคนในครอบครัวและคนในชุมชนเอง ไม่จำเป็นต้องรอเจ้าหน้าที่เข้าไปดำเนินการให้ โดยให้ถือว่าเป็นหน้าที่ของเราทุกคนที่จะต้องช่วยกันในเรื่องนี้ ทั้งการช่วยกันค้นหาและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายร่วมกัน ตามมาตรการ “3 เก็บ 3 โรค” ได้แก่ เก็บบ้าน ให้ปลอดโปร่งไม่ให้ยุงลายเกาะพัก เก็บขยะ เศษภาชนะไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลาย และเก็บน้ำ ปิดให้มิดชิดหรือเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกสัปดาห์ไม่ให้ยุงลายวางไข่ ซึ่งสามารถป้องกันได้ 3 โรค คือ ไข้เลือดออก โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และโรคไข้ปวดข้อยุงลาย

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก :: หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันอังคาร ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559, 06.00 น.
 
  • 23 ก.พ. 2559 เวลา 10:32 น.
  • 2,120

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^