LASTEST NEWS

24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 24 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567เช็กเลย! สพป.บึงกาฬ เตรียมเปิดสอบครูผู้ช่วย 10 สาขาวิชาเอก 65 อัตรา ประกาศรับสมัคร 1 พ.ค.2567 23 เม.ย. 2567เล็งจัดงบฯ อาหารเช้าให้นักเรียน 23 เม.ย. 2567สอบครูผู้ช่วย ต้องอ่าน! นโยบายและจุดเน้น สพฐ. ปีงบประมาณ 2567-2568 และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.สระบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 23 เม.ย. 2567สพป.เพชรบุรี เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 2 23 เม.ย. 2567สพม.หนองคาย ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.หนองคาย

แจ้งลดภาระหนี้ครูนำมาใช้หนี้เก่าเท่านั้น

  • 11 ก.พ. 2559 เวลา 07:31 น.
  • 12,212
แจ้งลดภาระหนี้ครูนำมาใช้หนี้เก่าเท่านั้น

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

แจ้งลดภาระหนี้ครูนำมาใช้หนี้เก่าเท่านั้น
ออมสินแจ้งโครงการลดภาระหนี้ครู นำมาใช้หนี้เก่าเท่านั้น ใจดีลดดอกเบี้ยเหลือ 4 % เป็นเวลา 20 ปี เลือกได้ 2 แนวทางนำเงินอนาคตมาจ่าย จาก ช.พ.ค. หรือ เงินบำเหน็จตกทอด

นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยถึงโครงการลดภาระหนี้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่ผ่านการพิจารณาจากครม. เมื่อวันที่ 9 ก.พ.ที่ผ่านมา ว่า เป้าหมายปล่อยสินเชื่อโครงการนี้ เพื่อนำมาใช้หนี้เก่าเท่านั้น โดยธนาคารได้ปรับลดดอกเบี้ยเหลือ 4 % เป็นเวลา 20 ปี จากดอกเบี้ยปัจจุบันที่  6- 6.5% เพื่อช่วยลดภาระค่างวดให้กับครู ซึ่งให้เป็นมาตรการภาคสมัครใจไม่บังคับ โดยผู้กู้ที่เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการเลือกใช้หลักประกัน ซึ่งจะเป็นเงินที่ทายาทจะได้รับในอนาคตได้ 2 ทาง คือ เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ครอบครัว (ช.พ.ค.) ซึ่งจะเรียกเก็บเงินจากสมาชิกที่ยังมีชีวิตอยู่ศพละ 1 บาท หากเสียชีวิตจะได้เงินค่าทำศพรวมกว่า 900,000 บาท หรือ เงินบำเหน็จตกทอด ซึ่งกรณีบำเหน็จตกทอดต้องการแก้กฎหมายให้สามารถใช้เงินนี้ได้ก่อนที่จะเสียชีวิตก่อน

ทั้งนี้ ปัจจุบันธนาคารมีหนี้สินครูกว่า 400,000 ราย คิดเป็นวงเงินที่ปล่อยกู้ให้ครู 470,000 ล้านบาท โดยมีหนี้เสียอยู่ 2,000 ล้านบาท คิดเป็น 0.29% ของสินเชื่อรวม ส่วนเป้าหมายของโครงการนี้ คือครูและบุคคลากรทางการศึกษาที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป เนื่องจากต้องเป็นผู้ที่รับราชการมาไม่น้อยกว่า 20 ปี ถึงจะได้สิทธิเหล่านี้ ซึ่งมีจำนวน 300,000 ราย หากมีครูสมัครใจเข้าโครงการนี้ 250,000 ราย เฉลี่ยวงเงินกู้ที่รายละ 300,000 บาท คิดเป็นมูลหนี้รวม 75,000 ล้านบาท ที่จะได้รับการปรับลดดอกเบี้ย ส่งผลดีช่วยลดภาระหนี้ได้ 2,000-4,000 บาทต่อเดือน

“แนวคิดโครงการนี้คือการเอารายได้ตัวเองในอนาคตมาใช้หนี้ตัวเอง ยกตัวอย่างคนมีเงินกู้เดิม 600,000 บาท ต้องเสียดอกเบี้ย 6% ถ้ามาเข้าโครงการนี้โดยการยอมให้หักเงิน ช.พ.ค. ที่จะได้ตอนเสียชีวิต 900,000 บาท ธนาคารแบ่งเงินเป็น 3 กอง คือ กองแรกให้ค่าทำศพ 200,000 บาท ที่เหลือ 300,000 แสนบาท จะกันไว้จ่ายหนี้ที่กู้ใหม่ และที่เหลืออีก 300,000-400,000 บาท เอาไว้เฉลี่ยจ่ายเป็นค่าดอกเบี้ยรายเดือนอีก 20 ปี เพราะขยายเวลาให้ชำระหนี้ได้ถึง 75 ปี ซึ่งเท่ากับว่าเงินกู้ 600,000 บาท แบ่งเป็น 2 กอง กองแรกที่เอา ชพค. ค้ำ 300,000 บาท ดอกเบี้ย 4% ไม่ต้องจ่ายรายเดือนแล้ว แต่จะเหลือหนี้อีก 300,000 บาท ดอกเบี้ย 6% ที่ยังต้องจ่ายต่อไปแต่ก็ถือว่าผ่อนภาระไปได้ครึ่งหนึ่ง”

อย่างไรก็ตาม หากผู้กู้ที่เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีหนี้มากกว่าเงิน ช.พ.ค. หรือ เงินบำเหน็จตกทอด ก็จะดำเนินการลดหนี้ในส่วนเท่าที่มีก่อน และหลังจากนั้นผู้กู้ก็สามารถผ่อนชำระหนี้ที่ยังคงค้างอยู่ได้จนหมด ซึ่งการดำเนินการครั้งนี้จะช่วยลดภาระจากการชำระได้เพิ่มขึ้น

ขอบคุณข้อมูลจาก :: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 22:00 น.
 
  • 11 ก.พ. 2559 เวลา 07:31 น.
  • 12,212

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^