LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพม.ขอนแก่น รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 19 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 5 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 4 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 16 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 12 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.ขอนแก่น เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567อ.ก.ค.ศ.สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 901 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.กำแพงเพชร รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 9 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

มอบนโยบายแก่บุคลากรสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา

  • 19 ม.ค. 2559 เวลา 13:44 น.
  • 1,262
มอบนโยบายแก่บุคลากรสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี 30/2559
มอบนโยบายแก่บุคลากรสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา

หอประชุมคุรุสภา – พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  พบปะและมอบนโยบายการบริหารงานคุรุสภาแก่ผู้บริหารและข้าราชการในสังกัดสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เมื่อวันจันทร์ที่ 18 มกราคม 2559 โดยมี พล.อ.สุทัศน์ กาญจนานนกุล ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ, พ.อ.ณัฐพงษ์ เพราแก้ว เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมในครั้งนี้



 นายชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งเลขาธิการคุรุสภา ได้กล่าวรายงานว่า คุรุสภาเป็นสภาครูและบุคลากรทางการศึกษาที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 มีบทบาทในการกำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำกับ ดูแล การปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งเป็นการยกระดับวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง

บริหารงานภายใต้วิสัยทัศน์ “เป็นองค์กรวิชาชีพที่มุ่งส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาวิชาชีพทางการศึกษาให้มีมาตรฐานและจรรยาบรรณในระดับสากล” โดยองค์คณะบุคคลทำหน้าที่บริหารงาน 2 คณะ คือคณะกรรมการคุรุสภา และคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ

โดยมีสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาเป็นหน่วยงานรับผิดชอบตามที่คุรุสภามอบหมาย มีเลขาธิการคุรุสภาเป็นผู้บริหารกิจการภายในสำนักงาน แบ่งส่วนงานออกเป็น 9 สำนัก 1 หน่วย ได้แก่ 1) สำนักนโยบายและแผน 2) สำนักมาตรฐานวิชาชีพ 3) สำนักใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ 4) สำนักจรรยาบรรณวิชาชีพและนิติการ 5) สำนักอำนวยการ 6) สำนักพัฒนาและส่งเสริมวิชาชีพ 7) สำนักยกย่องเชิดชูเกียรติวิชาชีพ 8) สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ 9) สำนักพัฒนาคุรุสภาเขตพื้นที่การศึกษา 10) หน่วยตรวจสอบภายใน

ในการนี้ คุรุสภาได้นำเสนอปัญหาในการดำเนินงาน 4 ประเด็น คือ

1) โครงสร้างการบริหารงาน ที่มีคณะอนุกรรมการและองค์ประกอบในแต่ละคณะจำนวนมาก ขาดเอกภาพและการประสานงานที่ดี
2) มาตรฐานวิชาชีพ การออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพมีหลายขั้นตอน ล่าช้า และมีใบอนุญาตหลากหลายประเภทจนสร้างความสับสน การรับรองใบปริญญาเป็นการล้วงลูกสถาบันอุดมศึกษาหรือไม่
3) จรรยาบรรณวิชาชีพ ยังมีเรื่องที่ต้องดำเนินการทางจรรยาบรรณวิชาชีพกับข้าราชการที่ผิดวินัยคงค้างอยู่จำนวนมาก
4) การส่งเสริมยกย่องเชิดชูเกียรติครู บางโครงการไม่สะท้อนผลงานครูอย่างแท้จริง และคุรุสภาไม่ได้ให้การส่งเสริมเครือข่ายครูเท่าที่ควร เช่น สมาคมครูอาชีวะ สมาคมครูสอนวิชาหลัก เป็นต้น



 รมว.ศึกษาธิการ กล่าวย้ำให้ข้าราชการคุรุสภา ซึ่งมีหน้าที่การดูแลเรื่องวิชาชีพและจรรยาบรรณของครูได้เป็นตัวอย่างที่ดีเช่นนี้อย่างต่อเนื่องต่อไป ส่วนการพบปะครั้งนี้ เป็นเรื่องที่ตนให้ความสำคัญกับข้าราชการทุกระดับอยู่แล้ว โดยเฉพาะผู้อำนวยการสำนักต่างๆ ที่ต้องเป็นหลักในการขับเคลื่อนงานทุกอย่างของคุรุสภา และเป็นเสมือนผู้ช่วยขับเคลื่อนงานของเลขาธิการคุรุสภาด้วย

จากการรับฟังรายงานสรุป จึงได้มอบโจทย์ให้ผู้อำนวยการทุกสำนักไปทำการศึกษาวิเคราะห์การดำเนินงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคน พร้อมทั้งจัดทำเป็นแผนงานที่ระบุแนวทางการแก้ไขปัญหา ผลลัพธ์ที่จะเกิด กรอบระยะเวลาการดำเนินการ รวมทั้งผู้รับผิดชอบและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย โดยให้นำมาเสนอภายในเดือนมกราคมนี้ เพื่อจะได้มีการหารือในรายละเอียดและเติมเต็มร่วมกันต่อไป ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่จะปรับการประเมินส่วนราชการโดยเน้นการประเมินจากระบบการทำงานเป็นหลัก โดยให้ทุกกระทรวงรับไปดำเนินการและหาวิธีการประเมินบุคลากรของตนเอง ซึ่งในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการต้องการทำให้หัวหน้าส่วนราชการแสดงผลงานออกมาอย่างชัดเจน จึงมอบโจทย์ให้ไปดำเนินการเพื่อจะได้ง่ายต่อการประเมินผลงาน

นอกจากนี้ ได้มอบให้ผู้อำนวยการสำนักที่เกี่ยวข้องไปศึกษาข้อมูลเพื่อหาเหตุผลของการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพของครูไทยทุก 5 ปีมานำเสนอ เพราะมีความสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากเห็นว่าแต่ละประเทศมีความถี่ในการต่อใบอนุญาตแตกต่างกันไป บางประเทศต่อใบอนุญาตในปีที่ 10 ในขณะที่บางประเทศต่อใบอนุญาตจำนวนถี่ครั้งกว่าของไทย เพื่อที่จะได้นำไปสื่อสารให้ครูรับรู้และเป็นแนวทางที่จะช่วยลดภาระของครูต่อไป

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาคุรุสภาได้เริ่มทำการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาขององค์กร พร้อมทั้งหาแนวทางแก้ไขมีความก้าวหน้ามาเป็นลำดับ ตั้งแต่สมัย พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นต้นมา เพียงแต่ยังไม่ได้มีการจัดกลุ่มปัญหาและสื่อสารให้สังคมรับทราบ โดยยืนยันว่าหลังจากมีการหารือร่วมกันในช่วงปลายเดือนมกราคมนี้แล้ว ก็จะนำผลความก้าวหน้าการดำเนินงานต่างๆ มาสื่อสารให้สังคมได้รับทราบต่อไปด้วย

ขอบคุณเนื้อหาและที่มาของข่าวจาก :: กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ วันที่ 18 มกราคม 2559

 
  • 19 ม.ค. 2559 เวลา 13:44 น.
  • 1,262

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^