LASTEST NEWS

29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.อุดรธานี เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.อุดรธานี เขต 3 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 มี.ค. 2567สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 13 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.กาฬสินธุ์ เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 12 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.ตรัง กระบี่ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.กระบี่ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 16 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 16 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567สพม.เพชรบูรณ์ รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 3 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 29 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ

"ดาว์พงษ์" ยันสอบตกให้ซ่อมก่อนซ้ำชั้น

  • 22 ธ.ค. 2558 เวลา 13:59 น.
  • 1,073
"ดาว์พงษ์" ยันสอบตกให้ซ่อมก่อนซ้ำชั้น

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

"ดาว์พงษ์" ยันสอบตกให้ซ่อมก่อนซ้ำชั้น 

          ดาว์พงษ์แจงแนวคิดสอบตกซ้ำชั้น ยันไม่ใช่ซ้ำทุกชั้นปี แต่ให้ซ้ำในช่วงชั้น ป.3-ป.6-ม.3 พร้อมให้โอกาสสอบซ่อมก่อน แต่ต้องสร้างมาตรฐานข้อสอบให้ใกล้เคียงกันทั่วประเทศ เผยยังไม่รีบเดินหน้า รอฟังความเห็นจากทุกฝ่าย พร้อมผลศึกษาข้อดี-ข้อเสีย จากสพฐ.
          พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าววานนี้ (21ธ.ค.) ว่าตามที่มอบหมายให้นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)ไปวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของการเรียนซ้ำชั้น และเรื่องนี้มีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยนั้น จะต้องพูดคุยกับผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นครู ผู้ปกครอง รวมไปถึงนักจิตวิทยาเด็กด้วยว่า หาก ศธ.จะดำเนินการจริงจะเกิดผลกระทบอะไรบ้าง มีผลดี ผลเสียอย่างไรกับเด็ก
          เบื้องต้นแนวทางที่คิดไว้ ไม่ใช่การซ้ำชั้นในทุกชั้นปี แต่จะเป็นการเรียนซ้ำชั้นในปีสุดท้ายของช่วงชั้น โดยช่วงชั้นที่1คือ ประถมศึกษาปีที่3 ช่วงชั้นที่2 คือ ประถมศึกษาปีที่ 6 และช่วงชั้นที่3 มัธยมศึกษาปีที่3 ซึ่งไม่ใช่ตัดสินให้เด็กซ้ำในช่วงชั้นนั้นๆ ทันที เพราะก่อนจะตัดสินจะให้เด็กมีโอกาสได้ซ่อมก่อน
          ขณะเดียวกัน จะปรับปรุงมาตรฐานการสอบซ่อม จากเดิมที่แต่ละโรงเรียนมีมาตรฐานไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับผู้บริหาร ก็ต้องหาวิธีการที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทุกโรงเรียน เด็กที่สอบผ่าน ต้องมีความรู้จริง ถ้าเขียนหนังสือไม่ได้ก็ต้องให้เขียนจนผ่าน


          ให้โอกาสซ่อม-เรียนซ้ำแต่ละช่วงชั้น
          เชื่อว่าครูทุกคนพร้อมที่จะปรับถ้ารู้ว่าสิ่งที่ทำในอดีตไม่ดีก็ต้องปรับ และแนวคิดที่ตั้งใจจะทำคือไม่ใช่เมื่อเด็กสอบตก และต้องเรียนซ้ำชั้นในทันทีแต่จะให้โอกาสเด็กได้สอบซ่อมในรายวิชาที่ตก และมาดูผลอีกครั้งในปีสุดท้ายของช่วงชั้น ยกตัวอย่างเช่น เด็กป.1ถ้า สอบไม่ผ่านก็ให้โอกาสซ่อมก่อนแต่ถ้าถึงป.3แล้วยังสอบตก ก็จะให้โอกาสซ่อมอีกในรายวิชาที่สอบไม่ผ่าน แต่จะต้องเป็นวิธีการซ่อมแบบเข้มข้นและมีมาตรฐาน ถ้ายังไม่ผ่านอีกก็ต้องเรียนซ้ำชั้นในระดับชั้นสุดท้ายของช่วงชั้น
          พูดง่าย ๆ ก็คือโรงเรียนจะต้องดูแลเด็ก และพัฒนาการเรียนการสอนในแต่ละชั้นปีให้มีมาตรฐาน เพราะเมื่อถึงป.3ป.6และม.3 ศธ.และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) จะลงไปกำกับดูแลอีกชั้นหนึ่ง เพื่อให้ผลิตเด็กที่มีคุณภาพจริง ๆพล.อ.ดาว์พงษ์ กล่าว
          ทั้งนี้ เชื่อว่าแนวคิดดังกล่าวจะทำให้ครูและเด็กกระตือรือร้นผู้ปกครองเองก็จะเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนของลูกมากขึ้น โดยจะต้องสร้างความรับผิดชอบทุกระดับ โดยเรื่องนี้ไม่ได้เร่งรีบ รอให้สพฐ. สรุปข้อดีข้อเสีย และรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนก่อนตัดสินใจดำเนินการ
          นอกจากนั้นในปี2559 จะลงไปดูเรื่องกิจกรรมที่สร้างวินัยให้กับเด็กตั้งแต่ระดับอนุบาล โดยทราบว่าแต่ละโรงเรียนได้ ดำเนินการอยู่แล้ว เพียงแต่อาจจะยังไม่พอซึ่งจะไม่ใช้วิธีการยัดเยียด แต่จะหาวิธีหลอกให้เขามีวินัยโดยที่เขาไม่รู้ตัวและฝึกจนเป็นนิสัย



          ศธ.ร่วมมือสธ.วัดสายตานักเรียน
          ด้านนายปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวถึงนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ด้านสุขภาพว่าจากนโยบายที่ต้องการให้เด็กมีพัฒนาการนอกเหนือจากการเรียนรู้ทางวิชาการ ในการทำกิจกรรมต่างๆ นั้น ในเรื่องของการตระหนักเรื่องสุขภาพถือเป็นเป็นสิ่งที่จำเป็น สธ. จึงเข้าไปร่วมในการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว โดยความร่วมมือที่จะประเดิมครั้งแรก คือ แก้ปัญหาเด็กไทยสายตาผิดปกติ โดยความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) กรุงเทพมหานคร(กทม.) และโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ(ไฮแทป)ในการคัดกรองเด็กนักเรียนทั่วประเทศว่ามีสายตาผิดปกติมากน้อยแค่ไหน
          เนื่องจากปัจจุบันมีปัญหาสายตาผิดปกติ 6.6%ซึ่งเป็นสาเหตุนำมาสู่ปัญหาตาบอดได้ และจากข้อมูลพบว่ามีเด็กที่จำเป็นต้องใส่แว่นสายตาถึง260,000คน หรือคิดเป็น4.1%แต่ที่ผ่านมาหลายคนไม่ได้รับการตรวจและรับแว่นสายตา ส่งผลต่อการมองเห็นและกระทบต่อศักยภาพการเรียนรู้ได้
          สธ. ร่วมกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ทำงานเชิงรุกลงพื้นที่โรงเรียนต่างๆ เพื่อตรวจคัดกรองเด็กนักเรียนในการวัดค่าสายตา โดยจะคิกออฟเริ่มตรวจสายตาพร้อมแจกแว่นสายตาในวันเด็กแห่งชาติ วันที่9ม.ค.2559โดยเบื้องต้นจะแจกในกลุ่มเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1ทั่วประเทศ หลังจากนั้นในปี2560จะขยายตรวจคัดกรองและแจกแว่นสายตาในเด็กชั้นอนุบาลต่อไป



          แจกแว่นเป็นของขวัญวันเด็ก
          นายปิยะสกล กล่าวว่าโครงการนี้ เริ่มจากจะมีการฝึกอบรมครูประจำชั้น แพทย์และพยาบาลโรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป และแพทย์พยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ซึ่งการดำเนินการนั้น ขั้นแรกจะให้ครูประจำชั้นตรวจคัดกรองผ่านแผ่นทดสอบสายตา ระดับสายตาสั้น ซึ่งจะแบ่งแผ่นทดสอบสายตาออกเป็น แผ่นทดสอบสายตาทั่วไปสำหรับเด็กโต ซึ่งจะเป็นตัวเลข และแผ่นทดสอบสายตาสำหรับเด็กอนุบาลซึ่งเป็นสัญลักษณ์ตัวอี (E) และเมื่อคัดกรองว่าเด็กมีความผิดปกติทางสายตา ก็จะส่งให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขคัดกรองต่อว่ามีความผิดปกติทางสายตาอื่นๆอีกหรือไม่
          สุดท้ายจะส่งต่อทีมแพทย์เพื่อตัดแว่นสายตา หรือในกรณีต้องรักษาความผิดปกติอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งในวันที่9ม.ค.2559จะเริ่มวันแรกในการออกตรวจแต่ละโรงเรียน ก่อนขยายไปยังพื้นที่อื่นๆจนครบทั่วประเทศ ถือเป็นของขวัญวันเด็กให้เด็กไทยที่มีปัญหาสายตาได้รับโอกาสทุกคน



          สธ.ร่วมสร้างกิจกรรมลดเวลาเรียน
          นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดสธ. กล่าวว่า สำหรับกิจกรรมอื่นๆของโครงการลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ด้านสุขภาพ ทางสธ.ได้มีจัดรูปแบบกิจกรรมไว้46กิจกรรมซึ่งโรงเรียนแต่ละแห่งจะไม่เหมือนกัน กิจกรรมจะแตกต่างกันออกไป แต่หลักๆ จะเน้นการเพิ่มทักษะการส่งเสริมป้องกันโรคอย่างง่าย และต้องสนุก เพื่อให้เด็กๆสนใจ เช่น การสำรวจลูกน้ำยุงลาย อาจให้ออกสำรวจที่บ้านและมาส่งรายงานที่โรงเรียน หรืองานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค การล้างผักอย่างถูกวิธี
          นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมลงพื้นที่ดูการทำงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการบริการด้านต่างๆ อย่างการศึกษาจากกลุ่มผู้ป่วยอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ล้มเพราะไม่สวมหมวกนิรภัย ซึ่งจะทำให้เด็กได้เรียนรู้ เป็นการปลูกฝังและสร้างวินัยเรื่องความปลอดภัยทางถนนผ่านประสบการณ์จริง

ขอบคุณข้อมูลและเนื้อหาจาก : หนังสือพิมพ์หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
 
  • 22 ธ.ค. 2558 เวลา 13:59 น.
  • 1,073

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^