LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครสวรรค์ - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครสวรรค์ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 2 (รอบที่ 1) สพป.นราธิวาส เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นราธิวาส เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.น่าน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.น่าน เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพม.นครพนม - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครพนม 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.ราชบุรี เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ราชบุรี เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เชียงใหม่ เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครสวรรค์ เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครสวรรค์ เขต 1

หวั่นตกซ้ำชั้นทำครูปล่อยเด็กไร้คุณภาพ

  • 03 ธ.ค. 2558 เวลา 18:27 น.
  • 2,473
หวั่นตกซ้ำชั้นทำครูปล่อยเด็กไร้คุณภาพ

นำเสนอข่าวโดย >> ทีมงานครูวันดีดอทคอม ส่งข่าวนี้ เข้าไลน์ LINE it! - +

"สมพงษ์" ชี้ที่ผ่านมาการซ้ำชั้นเป็นผลร้ายเชิงคุณภาพ เผยเหตุครูไม่ให้เด็กตกซ้ำชั้น เพราะถูกตำหนิ ส่งผลปล่อยเด็กผ่านแบบไร้คุณภาพ แนะพิจารณาให้ดีก่อนใช้ ชี้ควรเป็นวิธีสุดท้าย ครูต้องสอนให้เต็มที่ก่อน

วันนี้ (3 ธ.ค.) ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ มอบให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของการตกซ้ำชั้น เพราะเชื่อว่าจะเป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้แก่เด็กว่า สาเหตุที่ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาไม่มีเด็กตกซ้ำชั้นเลย เพราะเมื่อครูให้เด็กตกซ้ำชั้นก็จะโดนเพ่งเล็ง และถูกตำหนิจากผู้บริหารว่า สอนไม่ดี จึงมีการปล่อยเด็กกันทั้งประเทศ ไม่ว่าเด็กจะอ่านออกหรือไม่ออก คิดเลขเป็นหรือไม่ ติดศูนย์ ติด ร ซ่อมเสริมแล้วก็ปล่อยผ่าน ซ่อมเสริมกันแบบลวกๆ ไม่ได้ทำกันอย่างจริงจัง เด็กจึงถูกปล่อยปละละเลยเชิงคุณภาพมาตั้งแต่ระดับประถมศึกษา และทิ้งให้เป็นภาระต่อไปในระดับที่สูงขึ้น ดังนั้นที่ผ่านมาเรื่องการตกซ้ำชั้นจึงกลายเป็นผลร้ายในเชิงคุณภาพมากกว่าผลดี ทั้งนี้ในหลักการการให้เด็กตกซ้ำชั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่ประเทศไทยเมื่อนำไปสู่การปฏิบัติกลับเกิดปัญหา เด็กไม่ผ่านครูก็มีความผิด

“หากจะนำการตกซ้ำชั้นมาใช้อีกครั้ง ต้องพิจารณาให้ดี เพราะเด็กที่ตกซ้ำชั้นอาจเกิดบาดแผลในใจ เป็นปมด้อย ถูกเพื่อนล้อเลียน และอาจเกิดปัญหาเมื่ออยู่ในโรงเรียน ดังนั้นก่อนนำมาใช้ต้องระมัดระวัง ควรศึกษาให้ดีว่า มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร อันไหนมีผลดีกว่ากัน แต่ผมยังยืนยันว่า ปัจจุบันการที่ปล่อยเด็กไม่ให้ตกซ้ำชั้น มีผลร้ายเรื้อรังกับคุณภาพการศึกษาของประเทศ ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงอุดมศึกษา”ศ.ดร.สมพงษ์กล่าวและว่า อย่างไรก็ตามส่วนตัวมองว่า วิธีการให้เด็กตกซ้ำชั้นควรเป็นวิธีการสุดท้าย ครูต้องสอนซ่อมเสริมอย่างดีและเต็มที่ก่อน ซึ่งหากเด็กไปไม่ไหวจริงๆ ก็ต้องให้เรียนซ้ำชั้น.   

ขอบคุณเนื้อหาและข้อมูลข่าวจาก : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันพฤหัสที่ 3 ธันวาคม 2558 เวลา 15:35 น.
 
  • 03 ธ.ค. 2558 เวลา 18:27 น.
  • 2,473

TAGS ที่เกี่ยวข้อง >>

^